Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Algorithm แบบใหม่สนับสนุนการจราจรของหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติให้ราบรื่น

ปัจจุบันมีการใช้งานระบบอัตโนมัติสำหรับยานยนต์หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการจราจรหรือระบบการใช้พื้นที่เกิดปัญหาติดขัดหรือเกิดการชนกันจนเสียหายได้ โดยนักวิจัยจาก Northwestern University พัฒนา Algorithm เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นมา

ลองจินตนาการถึงคลังสินค้าที่มีหุ่นยนต์ขนของจำนวนมากเดินไปมาจำนวนมาก ทำให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่ เพื่อป้องกันการกระแทกและการจราจรที่ติดขัดจนไม่สามารถขยับได้ของระบบอัตโนมัติในระบบเคลื่อนที่อิสระนักวิจัยจึงได้ทดสอบ Algorithm ด้วยการจำลองหุ่นยนต์ 1,024 ตัวและใช้หุ่นยนต์จริงกว่า 100 ตัวในห้องทดลองพบว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จัดระเบียบได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร IEEE Transaction on Robotics

ข้อได้เปรียบสำหรับการใช้งานฝูงหุ่นยนต์ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ขนาดใหญ่หนึ่งตัวหรือฝูงหุ่นยนต์ที่มีหุ่นยนต์หลัก คือ การขาดการควบคุมศูนย์กลางซึ่งส่งผลให้กลายเป็นศูนย์กลางของความล้มเหลวแทน ซึ่ง Algorithm รูปแบบใหม่ของ Rubenstein นี้ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวป้องกันความล้มเหลวเหล่านั้นนั่นเอง

หากคิดดูให้ดีเมื่อใช้ระบบแบบศูนย์กลางเมื่อหุ่นยนต์หยุดทำงานระบบทั้งหมดจะล่ม ในระบบแบบกระจายศูนย์หรือไร้ศูนย์กลางนั้นจะไม่มีการบอกว่าอะไร คือ ผู้นำที่คอยสั่งหุ่นยนต์ตัวอื่น ๆ ให้ทำงาน หุ่นยนต์แต่ละตัวจะตัดสินใจได้เอง และหากว่ามีหุ่นยนต์สักตัวในฝูงเกิดความล้มเหลวแต่ฝูงหุ่นยนต์เหล่านั้นก็ยังสามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้อยู่ดี

เพื่อป้องกันการชนกันและการปิดตายเส้นทาง Algorithm มองพื้นข้างใต้หุ่นยนต์เป็นตารางโดยใช้เทคโนโลยีที่คล้ายกับ GPS ซึ่งหุ่นยนต์แต่ละตัวจะรู้ว่าตัวเองอยู่บนจุดไหนของตาราง ก่อนที่หุ่นยนต์จะตัดสินใจเลือกเดิน หุ่นยนต์แต่ละตัวจะใช้เซนเซอร์เพื่อสื่อสารกับเพื่อนข้าง ๆ เพื่อยืนยันว่าพื้นที่ข้าง ๆ นั้นมีการใช้งานหรือจะมีการกีดขวางหรือไม่

แม้ว่าจะมีการร่วมมือตัดสินใจอย่างระมัดระวังหุ่นยนต์ก็ยังคงสื่อสารและเคลื่อนไหวอย่างคล่องตัวเพื่อจัดเรียงให้เป็นระเบียบ หุ่นยนต์หนึ่งตัวสามารถรับรู้ได้ถึงหุ่นยนต์เคียงข้างได้ถึง 3-4 ตัว แต่ไม่สามารถสื่อสารได้กับหุ่นยนต์ทั้งฝูงในทางกลับกันความสามารถนี้ทำให้ง่ายต่อการปรับขนาดของระบบว่ามีหุ่นยนต์จำนวนมากขนาดไหน

ที่มา:
Sciencedaily.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924