Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Cross Collaboration Ecosystem แนวคิดเปลี่ยนภาคการผลิตให้เติบโตด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

AIS Business นำเสนอแนวคิด Cross Collaboration Ecosystem ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายที่หลากหลาย ทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และโอกาสในการแข่งขันในอนาคตที่กำลังจะมาถึง ภายในงาน AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION

AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION งานแสดงวิสัยทัศน์และเทรนด์สำหรับธุรกิจที่น่าสนใจในปี 2024 ของ AIS Business นั้น อัดแน่นไปด้วยหัวข้อการพูดคุยจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล Accelerator ผู้ผลักดันภาคธุรกิจ และการแชร์ประสบการณ์จากองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการ Transformation ในยุคดิจิทัล โดยมุ่งไปที่ 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีสัดส่วนต่อ GDP ของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากที่สุด ได้แก่ ภาคการผลิต การขนส่งและโลจิสติกส์ และภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกอัจฉริยะ พร้อมทั้งจัดแสดงโซลูชันที่มีการใช้งานแล้วในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสกับประสบการณ์ใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งสามารถตอบโจทย์การทำงานของโลกยุคใหม่ที่ ‘ประสบการณ์ของผู้ใช้’ นั้นมีความสำคัญอย่างมากท่ามกลางความท้าทาย การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ความท้าทายยุคใหม่ ‘ประสบการณ์ของผู้ใช้’ ท่ามกลาง ‘Digital Transformation’

ในระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา โลกของเราได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการแข่งขันทั่วโลกอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่นำไปสู่วิกฤติซัพพลายเชน ไปจนถึงสงครามการค้า สงครามที่เกิดขึ้นจริง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจที่เป็นต้นน้ำอย่างภาคการผลิตได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรก

ปรากฎการณ์เหล่านี้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการบริโภค การใช้จ่าย การลงทุน การทำธุรกิจ และการตลาด การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเอาชนะความท้าทายในระยะเวลาอันสั้นนี้ทำให้ธุรกิจทั้งหลายต้องกลับมาพิจารณาถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานและผู้บริโภคซึ่งกลายเป็นหัวใจสำคัญของโลกยุคใหม่ในปัจจุบัน รวมถึงภาคอุตสาหกรรรมไทยที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากความได้เปรียบทางการผลิตแบบเดิม เช่น ต้นทุนและคุณภาพแรงงาน ไปสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตหรือ Industry 4.0 ซึ่งจะสร้างขีดความสามารถใหม่ รองรับความท้าทายใหม่ ๆ ของโลกอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้     

การปรับตัวให้เกิดความคล่องตัวสร้างความต่อเนื่องให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องยกระดับกระบวนการทำงานให้เกิด Cost Efficiency มีการบริหารทรัพยากรและต้นทุนที่วัดผลได้ชัดเจน นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแย่งตัวแรงงานที่มีทักษะสูง (Talent War) และประเด็นที่ทวีความร้อนแรงมากที่สุดอย่าง ‘ความยั่งยืน’ ซึ่งการเติมเต็มและก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้นนั้นเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และ AI เป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

Digital Transformation กลายเป็นแนวทางในการเอาชนะความท้าทายของยุคนี้ได้อย่างไร้ข้อกังขา แต่จะทำอย่างไรให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมานั้นสามารถ Optimize ได้ครบทุกมิติของธุรกิจ AIS Business จึงได้นำเสนอแนวคิดที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่บนพื้นฐานของ Sustainability ที่คำนึงถึงการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยการทำงานร่วมกันครอบคลุมทุกมิติอย่าง Cross Collaboration Ecosystem 

Cross Collaboration Ecosystem แนวคิดของการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนจาก AIS Business

ต้องยอมรับว่าในหนึ่งธุรกิจนั้นประกอบไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อย และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิตที่มีทั้งเทคโนโลยี OT และ IT ที่ต้องทำงานด้วยกัน การที่จะเติบโตได้โดยใช้ศักยภาพเต็มที่จากทรัพยากรภายในทั้งหมดนั้นกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายจนแทบเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในแต่ละส่วนที่แตกต่างกันภายใต้ร่มขององค์กรหลัก ตลอดจนการลงทุนเทคโนโลยีหรือโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่อาจกลายเป็นภาระทางธุรกิจมากกว่าโอกาสใหม่ ๆ ซึ่ง AIS Business ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมและดิจิทัลโซลูชันเข้าใจในเงื่อนไขที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ด้วยประสบการณ์ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับธุรกิจและภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง

โดยหนึ่งในข้อความสำคัญจากเวทีของ AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION คือ “การแข่งขันในยุคใหม่นั้นไม่อาจเติบโตได้อย่างยั่งยืน หากยังเป็นการแข่งขันที่ปราศจากพันธมิตรที่จะเติบโตไปด้วยกัน” ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด Ecosystem Economy ที่เปลี่ยนจากการมองลูกค้าและคู่ค้าในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจแวดล้อมให้กลายมาเป็นพันธมิตรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในระยะยาว ซึ่งจะต่อยอดมาเป็น Cross Collaboration Ecosystem หรือ ระบบนิเวศที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันข้ามอุตสาหกรรมได้ และส่วนประกอบของ Ecosystem Economy ของ AIS Business นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

1. Digital Intelligence Infrastructure การมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอันชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud การเชื่อมต่อไร้สาย 5G ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อัจฉริยะที่จะช่วยลดต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรายละเอียดยิบย่อยมหาศาล

2. Human Capital & Sustainability การยกระดับแรงงานและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสร้างความพึงพอใจให้กับประสบการณ์ของลูกค้า เพื่อให้เกิดการเติบโตได้ในระยะยาว

3. Cross Industries Collaboration ความร่วมมือกันระหว่างภาคธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ หรือสถาบันต่าง ๆ เพื่อการเติบโตและเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

การแข่งขันในอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ต้องลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ พัฒนาความสามารถแรงงาน หรือลดความสูญเปล่าใด ๆ ก็ตามในกระบวนการที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนไม่น้อย การร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นกลายเป็นทางออกที่ลดทั้งต้นทุนและระยะเวลาที่ใช้ ทำให้ระบบนิเวศของการ Transformation ในยุคใหม่นั้นมีความแตกต่างและมีรายละเอียดที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้น

มองภาพ Transformation โรงงานยุคดิจิทัลผ่าน Ecosystem ที่มีในประเทศไทย

เมื่อก่อนนั้นการสนับสนุนโรงงานการผลิตอาจเกิดขึ้นมาจากที่โรงงานเองเดินหน้าเข้าไปขอคำปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐ หรือลงทุนเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่จากตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของการว่าจ้างที่มีลักษณะเป็น Case by Case และในทุกขั้นตอนอาจเป็นการออกแบบหรือพัฒนาโซลูชันขึ้นมาเฉพาะธุรกิจ ทำให้มีต้นทุนแฝงไม่น้อยและในท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นต้นทุนมูลค่ามหาศาล

ด้วยความก้าวหน้าและประสบการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นการศึกษาและแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย NECTEC การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย และ depa ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้กลายเป็น Accelerator หลักที่ช่วยผลักดันธุรกิจยุคใหม่ในรูปแบบของพันธมิตรที่ทำงานควบคู่กันไปอย่างใกล้ชิด เกิดเป็นแพลตฟอร์มและโซลูชันต่าง ๆ ที่มาจากการร่วมมือกันและช่วยให้ผู้ผลิตเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผลักดันนโยบายที่มีองค์ความรู้พื้นฐานที่พร้อมใช้งาน การนำเสนอสิทธิประโยชน์ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในการลงทุนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เกิดความคล่องตัว ความรวดเร็ว และเกิดประสบการณ์ที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ 

ภายใต้ความท้าทายที่ FTI ชี้ให้เห็นนั้นพบว่ากลไกสำคัญของความสำเร็จในการทำ Transformation อยู่ที่ความต่อเนื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จได้  FTI และ AIS Business จึงได้พัฒนา 5G Manufacturing Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการมอนิเตอร์สถานะต่าง ๆ และยกระดับการบริหารจัดการ เช่น การทำงานของเครื่องจักร พลังงานที่ใช้ การทำ OEE ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Digital Twin ที่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงเพิ่มความคล่องตัวในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้โดยไม่ต้องกังวลด้านต้นทุนหรือเกิดกำแพงในการใช้งาน

นอกจาก 5G Manufacturing Platform แล้วยังมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่น่าสนใจสำหรับภาคการผลิตในปัจจุบัน ได้แก่ ID 4 Connect Platform ที่สนับสนุนการจับคู่ธุรกิจในอุตสาหกรรม 4.0, THAILAND i4.0 Index เครื่องมือสำหรับประเมินสถานะความพร้อมองค์กรเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นพื้นฐานก่อนการขอเข้ารับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในหลายโครงการที่เกิดขึ้น, IDA Platform & OEE Platform การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมีราคาที่เข้าถึงได้สำหรับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ภายใต้การดูแลของ NECTEC ยังเป็นส่วนสำคัญในการให้คำปรึกษา อบรม และให้บริการ 5G Testbed ร่วมกับ AIS Businessในพื้นที่ EECi เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปแทรกแซงกระบวนการผลิตจริง เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดแนวคิดที่มีได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลกระทบกับสายการผลิตเดิมที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง 

ความร่วมมือของหน่วยงานในการสร้างมาตรฐานกลางและแพลตฟอร์มที่สร้างความชัดเจนเหล่านี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงทรัพยากรเพื่อ Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน และสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นขอการสนับสนุนสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ หรือการเลือกลงทุนในเทคโนโลยีที่ใช่ ตลอดจนการปรับปรุงและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรเพื่อเติมเต็มด้านเทคโนโลยีและโซลูชันที่มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ชัดเจน

AIS Business พันธมิตรที่เติมเต็มศักยภาพในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมยุค 4.0

AIS Business ในวันนี้ ได้กลายเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านดิจิทัลแบบครบวงจร ต่อยอดจากความเชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมสู่ผู้ให้บริการชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ และผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่เรียกได้ว่ามีความท้าทายอันละเอียดอ่อน เช่น SMC, depa, การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

การทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่าง ๆ จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เข้มแข็ง สอดรับกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้ AIS Business ได้จับมือกับพันธมิตรเพื่อทำการบุกเบิกนวัตกรรมและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Horrus ซึ่งเป็น Drone ฝีมือคนไทยจาก ARV ที่ทำงานได้บนเครือข่าย 5G และมีขอบเขตการทำงานระยะไกล สามารถใช้ตรวจสอบอาคารหรือสภาพการจราจรได้ และการใช้งานระบบควบคุมเครนยกสินค้าระยะไกลเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งยังมีการใช้งานยานยนต์อัตโนมัติร่วมกับยานยนต์ทั่วไปเพื่อขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัยในท่าเรือ เป็นต้น

จากตัวอย่างกรณีศึกษาของ บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท สมบูรณ์แอ็ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) สังเกตได้ว่าการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ นั้นเกิดความโปร่งใส สามารถวัดและประเมินผลได้ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ การตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที กระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจึงถูกยกระดับขึ้นด้วยผลลัพธ์ที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด Data Driven ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วบนโครงข่ายการสื่อสาร 5G ที่โดดเด่น ทำให้ธุรกิจยุคใหม่สามารถแข่งขันและสร้างความยั่งยืนได้ทุกมิติของกิจกรรมที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสามารถคาดการณ์แนวโน้มและตรวจสอบย้อนหลังบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง

จุดเด่นของบริการจาก AIS Business คือ การมี Digital Infrastructure ที่แข็งแกร่งจากการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย อีกทั้งยังมีความพร้อมเต็มรูปแบบของ Intelligent Network, Cloud Platforms และ Cyber Security ด้วยความอัจฉริยะของเทคโนโลยี 5G  ที่สามารถปรับแต่งได้อย่างหลากหลาย มีความหน่วงต่ำ และมีความปลอดภัยสูง ถูกต่อยอดโดยพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างที่มาร่วมในงาน เช่น Technology Partner อย่าง Microsoft หรือ OT Partner เช่น Mitsubishi Electric  ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของเทคโนโลยีสำหรับภาคการผลิต เป็นต้น การบริการจาก AIS Business จึงไม่ได้เป็นเพียงสินค้าหรือบริการที่ต้องนำไปคิดต่อหรือขยายความเอง แต่เป็นการบริการที่พร้อม Plugin เข้ากับโรงงานการผลิตตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการผลิต คลังสินค้า การขนส่ง ไปจนถึงการดูแลลูกค้า ที่สามารถยกระดับประสบการณ์การทำงานในทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด

โดยปัจจุบัน AIS Business ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกออกแบบมาเพื่อภาคธุรกิจและการผลิตโดยเฉพาะ 

  • 5G & Business Network ระบบเครือข่ายสำหรับภาคธุรกิจที่สามารถปรับแต่งการใช้งานได้เหมาะกับทุกแอปพลิเคชันในโรงงาน มีความปลอดภัยในการเชื่อมต่อสูง ทั้งยังมาพร้อมกับ MEC ที่ช่วยให้เกิดการประมวลผลได้รวดเร็ว มีความหน่วงต่ำ เหมาะสำหรับการใช้งานระบบอัตโนมัติของการผลิต 
  • CloudX บริการคลาวด์ภายในประเทศที่รับประกันเรื่องของอธิปไตยข้อมูลโดยไม่ต้องกังวลปัญหาในการแทรกแซงหรือเข้าถึงจากบุคคลที่ 3 ให้บริการบน Data Center ในระดับโทรคมนาคมชั้นนำครอบคลุมทั่วประเทศพร้อมบริการ 24 ชั่วโมง
  • Paragon Platform แพลตฟอร์มที่รวมศักยภาพของโซลูชันดิจิทัลยุคใหม่เอาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบริหารจัดการ 5G, Edge Computing, Cloud และการรองรับการติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เอาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ลดต้นทุนในการ Deploy และพัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ขององค์กร สร้างความยืดหยุ่นและเร่งความเร็วในการแข่งขันได้

สำหรับภายในงาน AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION ที่จัดขึ้นนั้น AIS Business ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 ผลิตภัณฑ์ พร้อมเปิดให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการใช้งาน ได้แก่

  • Cloud PC for Enterprise คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามือในรูปแบบ Desktop as a Service ที่มีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลบน Cloud เพิ่มความยืดหยุ่นคล่องตัว เพียงเชื่อมต่อกับจอ เมาส์ คีย์บอร์ดก็ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ลดต้นทุนในการจัดซื้อและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กร
  • Operator Connect for Microsoft Teams เชื่อมต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน MS Teams เสมือนเป็นเบอร์โทรศัพท์ประจำตัว
  • Communication Platform-as-a-Service (CPaaS) แพลตฟอร์มการสื่อสารขององค์กรที่มีการทำงานอยู่บน Cloud เชื่อมต่อทุกช่องทางการสื่อสารในปัจจุบัน เข้ากับแอปพลิเคชันของตนเองได้ในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าจะเป็นเสียง ข้อความ และวิดีโอ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างระบบบริหารจัดการหลังบ้านหรือแยกของแต่ละระบบ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • AI Voice Bot เป็น AI ที่สามารถพูดคุยและตอบสนองต่อคู่สนทนาได้อย่างไหลลื่นเสมือนมนุษย์ สามารถใช้งานเป็น Call Center เพื่อคุยกับลูกค้า เสนอขายสินค้า นัดหมายบริการได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนบทสนทนาไปตามคู่สนทนาได้
  • Microsoft 365 Copilot for Enterprise ยกระดับ GenAI เข้ากับรูปแบบการทำงานองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น การบันทึกการประชุม การสรุปการประชุม และการแจกแจงงาน ทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ มีความลื่นไหลและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

ภายในงานยังมีการจัดแสดงโซลูชันที่ได้รับการบูรณาการสำหรับภาคธุรกิจเป้าหมาย โดยโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตมีมากถึง 5 โซลูชัน ได้แก่

  • AIS 5G Manufacturing Platform แพลตฟอร์มและโซลูชันที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้พลังงานในโรงงาน
  • Energy & Carbon Credit Management Platform ระบบบริหารจัดการข้อมูลพลังงานในโรงงาน เพื่อนำไปวิเคราะห์และคำนวณให้เป็นข้อมูล Carbon Credit เพื่อนำไปใช้ตรวจสอบ และนำไปสู่การลดการใช้คาร์บอน
  • Smart AI Camera for Manufacturing ระบบ Analytics ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาพจาก CCTV หรือ กล้องต่าง ๆ ภายในโรงงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความปลอดภัยในโรงงาน สามารถแจ้งเตือนและนำไปทำรายงานได้
  • Digital Twin บน Paragon Platform จำลองการประกอบแผงวงจรไฟฟ้าด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย AIS 5G โดยมีซอฟต์แวร์ Simulation ทำการจำลองอยู่บน Paragon Platform ของ AIS Business ซึ่งแสดงผลควบคู่กันแบบ Real-Time การรันบน Cloud จะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • Cobot with 3D Vision จำลองการทำงานของหุ่นยนต์ Cobot สำหรับกิจกรรม Pick and Place ด้วยการใช้ระบบกล้อง เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน ซึ่งสามารถต่อยอดใช้งานร่วมกับ AI เพื่อยกระดับความสามารถในการจำแนกและตอบสนองเพิ่มเติมได้

นอกจากนี้ในส่วนของการขนส่งและโลจิสติกส์ยังมีจัดแสดงการทำงานของคลังสินค้าอัจฉริยะ โซลูชันการหยิบสินค้าในคลังอัตโนมัติ และระบบจัดเรียงแยกประเภทสินค้าอัตโนมัติอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์และโซลูชันของ AIS Business นั้นถูกออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนของโรงงานในการใช้งานเทคโนโลยี IT ร่วมกับ OT อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นบริการการประมวลผลบนเครือข่าย, Data Center, ระบบเครือข่ายที่สามารถ Slicing เพื่อให้เหมาะกับแต่ละกิจกรรมในโรงงานได้ โดยโรงงานอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ทั้งหมดด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

นอกจากการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว โซลูชันจาก AIS Business ยังคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งาน มี Ecosystem ที่พร้อมสำหรับความต้องการรอบด้าน โดยมีพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นการมองตั้งแต่ภาพรวมลงมาถึงจุดที่เล็กที่สุดของกิจกรรมในโรงงานที่จะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจในระยะยาว 

ภายใต้แนวคิด Cross Collaboration Ecosystem ของ AIS Business จะเห็นได้ถึงความร่วมมือกันในหลากหลายภาคส่วนเพื่อผลักดันศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตในประเทศไทย โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การร่วมมือกันในระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัว และสร้างเติบโตที่ยั่งยืนไปด้วยกันทั้งโรงงานและพันธมิตรทุกฝ่าย

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email: [email protected]
Website: www.ais.th/business

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924