Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

AI กับการเปลี่ยนแปลงงานของผู้จัดการระดับกลาง

การมาถึงของ AI เป็นส่วนสำคัญของ Digital Transformation นำมาซึ่งความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของตำแหน่การทำงานโดยเฉพาะระดับผู้จัดการ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Eastern Finland แสดงให้เห็นว่าการบูรณาการ AI เข้าไปในทีมบริการเพิ่มความต้องการการดำเนินการของผู้จัดการระดับกลางในสายงานการบริการด้านการเงิน ด้วยการที่ AI ทำงานได้เร็วและบูรณาการเข้ากับงานประจำวันส่วนใหญ่ได้มากซึ่งแต่เดิมต้องดำเนินการโดยมนุษย์ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในภาคบริการทำงานเป็นทีมซึ่งรวมทั้งมนุษย์และ AI ทำให้เกิดความคาดหวังใหม่ ๆ ในการปฏิสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ และความเป็นผู้นำ

การศึกษานี้วิเคราะห์การที่ผู้จัดการระดับกลางได้มีประสบการณ์กับผลกระทบจากการบูรณาการระบบ AI เข้าไปในงานของตัวเองในส่วนของบริการด้านการเงินและพบว่าการบูรณาการ AI เข้าไปในทีมบริการนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่มีความซับซ้อน โดยการศึกษานี้ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้จัดการที่มีประสบการณ์ที่ถูกจ้างงานโดยบริษัทด้านการเงินสัญชาติ Scandinavia 25 คน

AI นั้นถูกบูรณาการเข้าไปในกิจกรรมและกระบวนการขององค์กรช่วงปีที่ผ่านมาอย่างเข้มข้น ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการบูรณาการ AI เข้าไปในทีมบริการนั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อน เกิดความต้องการใหม่ ๆ ขึ้นในงานของผู้จัดการระดับกลาง ทำให้ต้องการการดำเนินการที่มีความสมดุลเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น

โดยทั่วไปแล้วพบว่าภารกิจงานประจำวันเดิมนั้นมี Productivity ที่เพิ่มขึ้นเมื่อ AI เข้ามารับหน้าที่ดังกล่าว ในอีกมุมหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วที่สร้างความต้องการมากขึ้นและการบูรณาการ AI ทำให้จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง ความหลากหลายในงานได้รับนั้นเพิ่มมากขึ้นและผู้จัดการสามารถตั้งสมาธิในการใช้เวลาได้ดีขึ้นด้วยการพัฒนาของงานและนวัตกรรม น่าแปลกใจที่ว่ากิจกรรมใหม่ ๆ ในงานที่ต้องทำประจำนั้นเพิ่มขึ้นด้วยเพราะกระบวนการทำงานของ AI ต้องการการติดตามและการตรวจสอบ

ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นอีกว่า บทบาททางสังคมของผู้จัดการระดับกลางนั้นเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันเพราะ AI ที่ใช้ในการทำงานนั้นถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางเทคนิคหรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของ AI ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการพัฒนาประเภทของ AI ขึ้นมามากขึ้น เช่น Chatbot ซึ่งมี AI มักถูกมองว่าเป็นเพื่อนร่วมงาน บางครั้งก็มีชื่อเรียกของตัวเองและบางทีมก็มีการพูดคุยเพื่อพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้ดูแล AI นั้น นำไปสู่ความสัมพันธ์อันแตกต่างกันไประหว่างผู้คนและ AI ซึ่งควรพิจารณาในตอนที่เริ่มหรือประยุกต์ใช้ AI ในอนาคต นอกจาอกนี้ลูกจ้างยังกังวลต่อการจ้างงานของตัวเอง และมักจะไม่ได้มีมุมมองในด้านดีเมื่อมีการริเริ่มโซลูชัน AI ใหม่ ๆ เท่าใดนัก

การบูรณาการ AI ยังเกี่ยวข้องกับความท้าทายทางจริยธรรม และผู้จัดการต้องทุ่มเทเวลาให้กับการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มีคนให้ความกังวลเกี่ยวกับความแฟร์ความยุติธรรมในการตัดสินใจที่เกิดจาก AI จากมุมมองของผู้สังเกตการในการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการบริหารทีมบริการด้วยการบูรณาการ AI ต้องการทักษะและความรู้ใหม่สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เช่น ทักษะและความเข้าใจในเทคโนโลยี, ความสามารถในการปฏิสัมพันธ์และความฉลาดทางอารมณ์, ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถในการบริหารและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

ผู้สังเกตการณ์ได้ให้ความเห็นว่า AI ยังไม่อาจเข้ามาทำงานบริหารจัดการแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด เช่น ในเรื่องของแรงขับเคลื่อนทางใจ และแรงบันดาลใจสำหรับสมาชิกทีม นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทักษะในการปฎิสัมพันธ์และความเห็นอกเห็นใจจำเป็นอย่างมากเมื่อต้องเลือกลูกจ้างคนใหม่สำหรับตำแหน่งการจัดการที่ต้องดูแลทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำงานคู่กับ AI

ที่มา:
uef.fi

อัปเดทองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชันด้านอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติแห่งปี 2024 ได้ก่อนใครที่
AUTOMATION EXPO 2024
พบกับหัวข้อสัมมนาสำหรับระบบอัตโนมัติและโซลูชันในภาคการผลิตกว่า 50 หัวข้อ พร้อมสัมผัสเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจ พบกันที่ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) 13 – 15 มีนาคม 2567 นี้ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าฟรี!
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924