Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

AEB ข้อกำหนดสำคัญใหม่สำหรับยานยนต์ของสหรัฐฯ ในอนาคต

National Highway Traffic Safety Administration ของสหรัฐอเมริกาออกกฎสำหรับยานยนต์ใหม่ให้ติดตั้งมาพร้อมกับระบบ Automatic Emergency Braking (AEB) หรือระบบห้ามล้ออัตโนมัติที่สามารถตรวจจับผู้คนที่เดินไปมาได้เพื่อลดความสูญเสียและอุบัติเหตุบนท้องถนน

National Highway Traffic Safety Administration ของสหรัฐอเมริกาออกกฎใหม่ว่ายานยนต์ใหม่นั้นต้องติดตั้งมาพร้อมกับระบบ Automatic Emergency Braking (AEB) หรือระบบห้ามล้ออัตโนมัติที่สามารถตรวจจับผู้คนที่เดินไปมาได้

ระบบห้ามล้ออัตโนมัติหรือ AEB นั้นเป็นมาตรฐานในยานยนต์โดยสารส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว ในปี 2016 ผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาต่างร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกันที่จะใช้เทคโนโลยีในยานยนต์ใหม่ ๆ เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่าจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด แต่เทคโนโลยีนี้กลายเป็นมาตรฐานของยานยนต์ใหม่บนท้องถนนกว่า 73% ที่ขายในสหรัฐอเมริกาปีที่แล้วซึ่งเป็นข้อมูลจาก Insurance Institute for Highway Safety กลุ่มความปลอดภัยยานยนต์ที่สนับสนุนทางการเงินโดยอุตสาหกรรมประกัน

AEB ส่วนมากนั้นนิยมใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดการชนท้าย ซึ่งเป็นรูปแบบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ยานยนต์ที่ติดตั้งเซนเซอร์ AEB เช่น เรดาห์ โซนาร์ หรือกล้อง สามารถตรวจจับยานยนต์ด้านหน้าเพื่อชะลอรถหรือหยุดได้ หากผู้ขับขี่ล้มเหลวที่จะตอบสนองในเวลาหรือมีแรงเบรคไม่พอ AEB จะทำการห้ามล้อโดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้ว AEB จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวในการป้องกันการชนตลอด แต่จะช่วยลดผลกระทบความรุนแรงได้ ซึ่งการวิจัยจาก IIHS แสดงให้เห็นว่าระบบ AEB ลดความเสียหายจากการชนท้ายได้ถึง 50%

ยานพาหนะที่ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับคนเดินถนนหรือกล้องเพื่อจดจำลักษณะคนเดินหน้ารถเป็นสิ่งจำเป็นใหม่ที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ขับขี่ล้มเหลวที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ ระบบจะหยุดรถโดยอัตโนมัติ โดยการศึกษาล่าสุดจา IIHS พบว่า AEB ที่ติดตั้งคู่กับระบบตรวจจับคนเดินถนนสามารถลดความเสี่ยงการบาดเจ็บของคนเดินถนนได้ถึง 30% การศึกษาเดียวกันนี้ยังพบอีกว่าระบบตรวจจับคนเดินถนนในยานยนต์ปัจจุบันนั้นยังทำงานได้ไม่ดีนักภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย ขณะใช้ความเร็วสูง หรือเมื่อยานพาหนะทำการหักเลี้ยวทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวต้องการการพัฒนาอีกไม่น้อย

กฎใหม่ที่ถูกเสนอขึ้นมานั้นต้องการการยกระดับระบบเดิมที่มีอยู่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน รวมถึงการป้องกันการเฉี่ยวชนที่ความเร็วมากกว่า 50 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 62 ไมล์ต่อั่วโมงถ้ามีการเหยียบเบรคโดยผู้ขับขี่ ระบบตรวจจับคนเดินถนนต้องสามารถทำงานได้ดีในสภาวะที่แสงน้อยได้ด้วยเช่นกัน

NHTSA คาดการณ์ว่าหากกฎใหม่มีผลแล้วจะสามารถป้องกันความสูญเสียได้ 360 คนต่อปี และป้องกันการบาดเจ็บได้ 24,000 คน ประมาณการว่ากว่า 43,000 คนในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยข้อบังคับนี้เปิดให้รับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม

ที่มา:
cnn.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924