Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

อัพเกรดความรู้หุ่นยนต์และ Cobot กับ UR Academy

ฝึกอบรม ความรู้หุ่นยนต์ และ Cobot กับ UR Academy

ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเน้นมูลค่า เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในอนาคต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม 4.0 จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ก่อตั้ง UR Academy หลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้วยหุ่นยนต์ขึ้นมา

ในปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 85% สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติได้ แต่กลับมีเพียง 50% ที่พร้อมใช้เทคโนโลยีนี้ภายใน 1-3 ปีข้างหน้า และที่แย่กว่านั้น ผลการสำรวจอุตสาหกิจของธนาคารโลกระบุว่าเพียง 18% ของบริษัทในประเทศไทยที่มีการฝึกอบรมในเรื่องนี้ให้กับพนักงานในองค์กรอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

การยกระดับทักษะและการฝึกอบรมให้แก่แรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้ไปถึงฝั่งฝันของไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น ทักษะและความรู้ความสามารถที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการแข่งขัน

การอุดช่องว่าง

ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดเรื่องทักษะและแรงงาน เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไทยจึงจับมือเป็นพันธมิตรกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy : MARA) โดยมีแผนการพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ มุ่งการพัฒนาฝีมือแรงงาน การยกระดับทักษะ และการฝึกอบรมสายอาชีพเพื่อการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

เพื่อแก้ไขปัญหาด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตต้องสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มความสามารถ โดยใช้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เช่น หลักสูตรการเรียนรู้ระบบออนไลน์ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรีจาก บริษัทยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ที่สนับสนุนการฝึกอบรมและการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์

การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงที่ดีและมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องสร้างความรู้สึกแปลกแยกหรือความลำบากใจในการปรับตัว ซึ่งโคบอท (Cobot) หรือหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ สามารถสร้างสะพานแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ด้วยความสามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลาย ขนาดกะทัดรัด และการทำงานที่ปลอดภัย ทั้งยังสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานได้ด้วยตนเอง ลดระยะเวลาการเรียนรู้ของพนักงานให้สั้นลงได้ ทำให้แม้แต่พนักงานที่มีทักษะน้อยก็ยังสามารถเรียนรู้การใช้งานโคบอทได้อย่างง่ายดาย

การติดตั้งโคบอทให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายการผลิตสามารถลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและต้องใช้แรงมาก รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องลงทุนสูงในการปรับปรุงทั้งระบบ ทั้งยังทำให้พนักงานมีเวลาในการพัฒนาทักษะของตนเองเพื่อตอบสนองต่อการทำงานที่ต้องการทักษะความสามารถที่มากขึ้นได้ โคบอทจึงช่วยให้การผลิตบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการยกระดับทักษะพนักงาน การใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร้รอยต่อระหว่างแรงงานและหุ่นยนต์

การเพิ่มความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ เปิดตัว UR Academy โครงการพัฒนาฐานความรู้สำหรับงานอุตสาหกรรม สนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ระบบออนไลน์ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี  9 หลักสูตรออนไลน์ เริ่มตั้งแต่พื้นฐานการตั้งโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ซึ่งครอบคลุมทั้งการเพิ่มส่วนประกอบข้อมือหุ่นยนต์ การเชื่อมต่อการป้อนข้อมูลและการแสดงผล การสร้างโปรแกรมขั้นพื้นฐาน และการตั้งค่าเครื่องมือและโซนปลอดภัย หลักสูตรนี้ยังออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการลงมือปฏิบัติด้วยมือตนเองผ่านเครื่องจำลองอินเตอร์แอ็คทีฟ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานหลักสูตรนี้มากกว่า 20,000 รายจาก 132 ประเทศที่ลงทะเบียนเพื่อรับการฝึกอบรม โดยหลักสูตรจัดทำทั้งภาษาอังกฤษ สเปน เยอนมัน ฝรั่งเศส และจีน

UR Academy ทำงานควบคู่กับ UR+ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ยกระดับระบบนิเวศของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ให้มีความเป็นสากล เพื่อให้นักพัฒนาเทคโนโลยีภายนอกช่วยให้ผู้ผลิตชาวไทยสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของตนเองได้ นับตั้งแต่ส่วนประกอบข้อมือหุ่นยนต์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ไปจนถึงกล้องตรวจจับและซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและรับรองนี้ มีคุณสมบัติการติดตั้งง่าย การทำงานที่เชื่อถือได้ ประสบการณ์การใช้งานที่ราบลื่น และการตั้งโปรแกรมที่ง่ายดายทั้งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่


อ้างอิง:

  • https://ihsmarkit.com/research-analysis/03012018-Economics-Positive-end-to-2017-for-Thailand-manufacturing.html
  • http://www.nationmultimedia.com/detail/Economy/30338948 https://www.adb.org/data/southeast-asia-economy
  • http://www.manufacturing-expo.com/RXTH/RXTH_ManufacturingExpo_v2/images/presentation/Dr.%20Supachai%20Vongbunyong.pdf?v=636365719745315663
  • https://www.enterprisesurveys.org/~/media/GIAWB/EnterpriseSurveys/Documents/Profiles/English/Thailand-2016.pdf
  • http://www.mol.go.th/en/content/60080/1496355238
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924