Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ปี 2560 คาดอุตฯ ไทย โตต่อเนื่อง แนะผู้ประกอบการสแตนด์บายพร้อมปรับตัวรับโลกดิจิทัล

หลังจากสภาวะเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมาไม่สู้ดีนัก ทั้งด้วยปัจจัยภายนอกอย่างสภาวะเศรษฐกิจโลกที่พร้อมใจกันถดถอยทุกภูมิภาค ตั้งแต่สหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย หรือปัจจัยภายในที่การเมืองในประเทศก็ไม่นิ่งนัก รวมถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 แทบจะเต็มตัว ทำให้การลงทุนต่างๆ กลายเป็นรายจ่ายที่ยังไม่ค่อยเห็นเนื้อหนังของเม็ดเงินที่จะเข้ามามากนัก

คุณศิริรุจ จุลกะรัตน์
‘คุณศิริรุจ จุลกะรัตน์’ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

เปิดศักราชใหม่ 2560 ชวนพูดคุยถึงทิศทาง และความหวังของอุตสาหกรรมไทยในปีนี้ กับ ‘คุณศิริรุจ จุลกะรัตน์ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มของทั้งอุตสาหกรรมเดิม และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ตลอดจนคำแนะนำถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยให้ปรับตัวตามเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

2560 คาดอุตสาหกรรมไทยโตต่อเนื่อง

คุณศิริรุจ จุลกะรัตน์ เกริ่นถึงภาพกว้างในการทำงานของหน่วยงานว่า สศอ. จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยปีที่ผ่านมาเน้นไปที่เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบคลัสเตอร์ คือ กำหนดเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุน วิเคราะห์ปัญหาของแต่ละคลัสเตอร์ รวมถึงหนทางในการแก้ไขปัญหา โดยมีหัวใจในการทำงาน คือ ข้อมูลที่ได้ต้องทันสมัยและใช้ได้จริง

“ส่วนในปี 2560 นี้ สศอ.กำลังทำแผนพัฒนำอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ S-Curve และ New S-Curve โดยกำหนดเป็นแผนที่นำทางให้รัฐบาลทั้งระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี และระยะยาว 5 ปีข้างหน้า 20 ปีข้างหน้า” คุณศิริรุจกล่าวถึงแผนงานของ สศอ.

เกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2560 นี้ คุณศิริรุจ วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมดั้งเดิมยังโดดเด่นอยู่ ทั้งอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกได้มาก และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์มีแนวโน้มโตขึ้น เพราะเศรษฐกิจน่าจะกระเตื้อง ประกอบกับราคาผลผลิตทางการเกษตรในปีหน้าก็มีผลผลิตมากขึ้นได้ราคาที่เหมาะสม กำลังซื้อของคนในประเทศมีส่วนกระตุ้นยอดจำหน่ายได้

ทั้งนี้ คุณศิริรุจ มองว่า ปัจจัยสำคัญที่ชี้เป็นชี้ตายว่าอุตสาหกรรมไทยจะรุ่งหรือร่วง ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก เนื่องจากอุตสาหกรรมไทยมีรายได้จากการส่งออกถึง 70% ปีที่ผ่านมาตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจึงไม่ดีนัก เพราะเศรษฐกิจโลกซบเซาแต่คาดว่าในปี 2560 นี้ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยส่งผลดีต่อการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไทย

“เราเลยจุดตกต่ำสุดมาแล้ว ฉะนั้น คงไม่มีอุตสาหกรรมไหนที่จะเจ๊ง กล่าวคือ คงไม่ทรุดไปกว่านี้อีกแล้ว โดยอัตราการเติบโตน่าจะพอมีให้เห็นแต่อาจไม่ชัดนัก เพราะยุโรป สหรัฐฯ และเอเชียยังไม่ค่อยฟื้นเท่าไร แต่ก็มีปัจจัยอย่างการที่โดนัลด์ ทรัมพ์ อาจจะยกเลิกนโยบาย TPP กับคู่แข่งสำคัญของเรา อย่างเวียดนามและมาเลเซีย ส่วนนี้จะเป็นผลดีกับเรา เพราะเขาไม่มีแต้มต่อ ไม่มีความได้เปรียบเรื่องมาตรการผ่อนปรนทางภาษีอีกต่อไป”

เศรษฐกิจไทย ปี 2560

จุดอ่อนจุดแข็งอุตสาหกรรมไทย

แม้ดูเหมือนได้รับบาดเจ็บจากพิษเศรษฐกิจ แต่ยังนับว่า อุตสาหกรรมไทยเจ็บน้อยกว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเพราะสินค้าของไทยอยู่ในห่วงโซ่เศรษฐกิจโลก “เราเข้าไปอยู่ใน Global Supply Chain สินค้าจากภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ไปแล้ว ฉะนั้น เรามีโอกาสมากๆ ที่จะโตจะต่อยอดถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เราติดลบน้อย นั่นเพราะเราแข็งแกร่งพื้นฐานเราดีกว่า จึงไม่ทรุดมากนัก” คุณศิริรุจชี้ให้เห็นจุดแข็งทว่า จุดอ่อนของเราก็เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข โดยคุณศิริรุจ กล่าวว่าผลิตภาพหรือ Productivity ของอุตสาหกรรมไทยยังไม่สูงเท่าที่ควร ทั้งแรงงานและเครื่องมือซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องลงทุนทั้งเครื่องจักรและทรัพยากรมนุษย์ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้เองที่ทำให้เอกชนยังไม่ตัดสินใจเสี่ยงจะลงทุนเพิ่ม

“สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งทำให้แผนการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคเอกชนก็ยังชะลออยู่ มีแนวโน้มที่ชัดเจนเมื่อไรเอกชนก็จะปรับตัว”

New S-Curve ควำมหวังใหม่ของเศรษฐกิจไทย

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอาหารที่ประเทศไทยสร้างฐานส่งออกได้อย่างเข้มแข็ง ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถต่อยอด หรือชิฟต์การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าตัวเองได้ โดยคุณศิริรุจ ยกตัวอย่าง ชิ้นส่วนยานยนต์ว่าสามารถต่อยอดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ New S-Curve เช่น อุปกรณ์การแพทย์ และชิ้นส่วนอากาศยาน

ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ต้องยอมรับว่า อาจจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้แล้ว เพราะเขามีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเราค่าแรงต่ำกว่า โดยผู้ประกอบการไทยส่วนหนึ่งย้ายฐานการผลิตไปเมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา แต่ที่คุณศิริรุจมองเห็นเป็นความหวังคือ การต่อยอดอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เฉพาะทางให้กลายเป็นสินค้า Functional มากขึ้น

“เราสนับสนุน Functional Textile ผู้ประกอบการไทยโดดเด่นเรื่องเส้นใยสังเคราะห์ มีควมสมรถในกรทำเส้นใยผสมผสาน ทั้งแบบสังเคราะห์และธรรมชาติ เรทำได้หลากหลายมาก ถือว่าโดดเด่นบนเวทีโลก เช่น ใช้เทคโนโลยี Silver Nano ทำเส้นใยปลอดเชื้อทำเสื้อผ่าตัด กลายเป็น Functional Textile เพระเส้นใยสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ หรือเบาะรถยนต์ที่นั่งแล้วไม่สกปรก ฝุ่นไม่เกาะ หรือทำเสื้อกีฬา ระบายความร้อนดี ระบายเหงื่อดีใส่แล้วเย็น”

คุณศิริรุจยังมองว่า อีกกลุ่มอุตสาหกรรมไทยที่มีศักยภาพแต่ยังไม่ถูกผลัเศรษฐกิจไทย ปี 2560กดันให้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมกลุ่ม Non-Food “เรามีสารตั้งต้น มีวัตถุดิบที่พร้อมมาก แต่ยังไม่ถูกพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มยังไม่มีการพัฒนาและลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมนัก เช่น มังคุด กล้วย ยาง ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น วัตถุดิบเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Bio-Chemical, Bio-Plastic, Bio-Energy หรืออย่างปาล์มน้ำมันที่สามารถสกัดเป็นกรดน้ำมันได้

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมหนักแล้ว เรามองว่ากลุ่ม Non-Food จะกลายเป็นสินค้าส่งออกที่โดดเด่นได้แถมยังเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม”

ส่วนการตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่รัฐบาลทั้งให้ทุนวิจัยและสนับสนุนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่ภาคอุตสาหกรรม คุณศิริรุจ มองว่า หัวใจหลักที่จะก่อให้เกิดการลงทุนผลิตได้จริง คือ ความต้องการซื้อจากผู้บริโภค หากผู้บริโภคยังไม่ต้องการซื้อ หรือความต้องการซื้อยังไม่ชัดเจนพอ ย่อมไม่ก่อให้เกิดการลงทุน ฉะนั้น สิ่งแรกที่บริษัททั้งหลายทำอยู่ คือ การให้ความรู้ ความเข้าใจต่อผู้บริโภค หากผู้บริโภคต้องการ ผู้ประกอบการก็พร้อมผลิต เพราะไลน์การผลิต เทคโนโลยี และเครื่องจักร มีความพร้อมอยู่แล้ว

อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีท่าเรือน้ำลึกสำหรับส่งออก มีนิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ศักยภาพพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนนไฮเวย์ รถไฟรางคู่ ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน พัฒนาตัวเมือง พัฒนาสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข เพิ่มโรงเรียนโรงพยาบาล ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ รองรับการลงทุนใหม่ รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจเมือง

อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 ต้องปฏิวัติวิธีคิด

หมดยุค Mass เข้าสู่ยุค Customize แม้ว่ากระแสอุตสาหกรรม 4.0 จะมาแรงและเป็นที่พูดถึง และต้องยอมรับว่าเป็นเทรนด์ที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่คุณศิริรุจยืนยันว่า การประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้หมายความว่า ทุกอุตสาหกรรมต้องเป็น 4.0

“ต้องดูเรื่องความพร้อม ต้นทุนการผลิต พร้อมให้ผู้ประกอบการไปหรือไม่ บางอุตสาหกรรมยังไม่พร้อมจะปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องจักร 100% เพราะถ้าเปลี่ยนแล้วอาจทำให้ต้นทุนสูงจนไม่สามารถแข่งขันได้ ไม่ง่ายแต่ถ้าอุตสาหกรรมไหนไปได้ เราผลักดันให้ไป เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เขาใช้โรบอทส์เป็นส่วนใหญ่ หรือในขั้นตอนแพ็คเกจจิ้ง เริ่มใช้โรบอทส์ได้ ไปสู่ 4.0 ไปไม่ง่าย ต้องค่อยๆ ไป

สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ ผู้ประกอบการไทยควรดูเรื่องของความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็วและเฉียบพลัน ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจก็เปลี่ยน กลายเป็น Digital Economy การผลิตที่จะเป็นล็อตใหญ่ๆ หรือ Mass อาจจะลดลง Customize มากขึ้นเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มมากขึ้น ต้องพร้อมปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลง” คุณศิริรุจกล่าวทิ้งท้าย

ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยในปีที่ผ่านมา แม้จะดูไม่สู้ดีนักทั้งด้วยตัวเลขผลประกอบการ และเม็ดเงินลงทุน แต่ศักราชใหม่ 2560 นี้ ยังดูมีความหวังเพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยกระเตื้องเป็นบวกขึ้นได้บ้าง

ส่วนเทรนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลนั้น ถือว่ามาถูกทางและเป็นแสงแห่งความหวัง ทั้งนี้ อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้อยู่ที่การก้าวทันเทคโนโลยี หรือสักแต่ว่าปฏิวัติเครื่องจักรเท่านั้นแต่หัวใจของมันอยู่ที่การปฏิวัติความคิดของผู้ประกอบการเอง ว่าต้องเป็นนักเรียนรู้ นักปรับตัว ให้พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงด้วย 4.0 ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยาก คือ การปรับวิธีคิด…

EXECUTIVE SUMMARY

Mr. Siriruj Chulakaratana, Director of Office of Industrial Economics said about the direction and anticipation of Thai industry as well as analyzed the trend of both prior industries and new target industries. Mr. Siriruj gave advice to Thai industrial entrepreneurs to adjust themselves according to digital economic trend so that they could immediately take up any incurred change. A part of interesting substance was that the major factors to critically point out whether Thai industry would be promising or falling off should mainly depend on the world economy since Thai industry earned revenue from export as high as 70%. This also caused the previous year’s growth figure of Thai economy with not quite good, following the depression of the world economy. However, in 2017, the world’s economic circumstance would be expanded a bit, which shall benefit the export of Thai industrial sector.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924