Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

รู้ทัน…. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด

เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด‘เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด’เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง หากขณะเดียวกันก็เป็นเทคโนโลยีที่ถูกต่อต้านมาอย่างต่อเนื่อง จากความไม่มั่นใจในเทคโนโลยีที่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้เคียง แม้จะมีตัวอย่างของโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดหลายๆ แห่งในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนก็ตาม

ทว่า วันนี้ความต้องการใช้พลังงานในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสถียรภาพด้านพลังงานมีความสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับนานาประเทศ ดังนั้น ‘โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด’ จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพื่อรองรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตพลังงาน

ทั้งนี้ ความรู้เท่าทันและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการยอมรับ และทำให้ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด เป็นแหล่งผลิตพลังงานที่ไม่เพียงแค่มีประสิทธิภาพ หากยังทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงด้านพลังงานมากขึ้นด้วย

รู้จัก ‘เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด’

เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด’ เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการกำจัดหรือลดมลพิษ เพื่อนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาและสามารถกำจัดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่า ประเทศญี่ปุ่นในฐานะประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภูมิภาคเอเชีย ได้ดำเนินการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินควบคู่ไปกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ถือเป็นเชื้อเพลิงที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในประเทศเนื่องจากมีราคาที่ไม่ผันผวน และยังมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งจะช่วยเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถลดต้นทุนจากค่าไฟฟ้า เสริมความเข้มแข็งในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้เพิ่มขึ้น

กพช. เห็นชอบเดินหน้า
โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่

ล่าสุด ที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ 800 เมกะวัตต์โดยพิจารณาแล้วว่าชุมชนให้การยอมรับ และปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นอันตรายต่อชุมชนแล้ว เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ใช้ระบบ Ultra Super Critical (USC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรฐานระดับโลก ทั้งนี้ จะต้องมีการทำรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้เสร็จก่อน และคาดว่าจะเริ่มต่อสร้างได้ประมาณปี 2561 และผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างช้าสุดประมาณปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 ทั้งนี้ จะต้องมีการทำรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้เสร็จก่อน และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปี 2561 และผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างช้าสุดประมาณปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ใช้ระบบ Ultra Super Critical (USC)

รู้ทัน USC เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
ประสิทธิภาพสูง

ปัจจุบันเทคโนโลยี Ultra Super Critical (USC) ถือเป็นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) รวมทั้งยังมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐานระดับสากล ไม่เกิดผลกระทบต่อภาพรวมการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน คือ การใช้หม้อกำเนิดไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน

ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะช่วยสร้างสมดุลของการกระจายเชื้อเพลิงเพื่อสร้างความมั่นคงพลังงานในระยะยาว ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2015) ที่ต้องเพิ่มทางเลือกเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติที่มีการพึ่งพาสูงถึง 70% และลดความเสี่ยงจากการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติอีกทั้ง ปัจจุบันจำเป็นต้องส่งไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปเพิ่ม ซึ่งมีระยะทางไกลและอาจเกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน

 ประเภทของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
ก่อนการเผาไหม้
(Pre-Combustion Technology)
กำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากถ่านหิน เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และสารประกอบอนินทรีย์ เช่น Pyritic Sulfur เพื่อลดปริมาณเถ้าและกำมะถัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่าความร้อนของถ่านหินก่อนนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
ขณะการเผาไหม้
(Combustion Technology)
ปรับปรุงเตาเผาและหม้อไอน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินและลดมลพิษที่เกิดระหว่างการเผาไหม้ ซึ่งจะควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซมลพิษ (Zero Emission)
Pulverized Fuel Combustion (PFC) Fluidized Bed Combustion (FBC)
Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) Ultra Super Critical (USC)
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
หลังการเผาไหม้
(Post-Combustion Technology)
กำจัดมลพิษจากการเผาไหม้และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากถ่านหินเผาไหม้แล้ว Electrostatic Precipitator
Flue Gas Desulfurization (FGD)
Flue Gas Denitrifurizer
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
โดยการแปรสภาพถ่านหิน
(Coal Conversion)
Coal Gasification Technology
Coal Liquefaction Technology
Dimethyl Ether (Dme)

การพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
ในประเทศไทย

โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมากำจัดมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่สร้างใหม่ นอกจากมีการกำจัดมลภาวะแล้ว ยังมีการนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้มาใช้ รวมถึงการเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดีที่มีค่าความร้อนสูงประมาณ6,000 แคลอรี/กรัม ปริมาณเถ้าน้อยกว่าร้อยละ 10 และปริมาณกำมะถันน้อยกว่าร้อยละ 1 ทำให้สามารถควบคุมมลภาวะที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศให้อยู่ในเกณฑ์หรือต่ำกว่าที่มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยกำหนดโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่จังหวัดลำปางโรงไฟฟ้าโกลว์ เอสพีที 3 และโรงไฟฟ้า BLCP ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

โรงไฟฟ้าถ่านหินถ่านหิน:
ความท้าทายของพลังงานทางเลือก

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการใช้พลังงานหลักของประเทศไทย จะเห็นว่ามีการใช้ถ่านหินเพียงร้อยละ 15 และใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 37 ในขณะที่การใช้พลังงานหลักของโลกมีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ใกล้เคียงกันร้อยละ 23 และ 28 ตามลำดับมีการกระจายการใช้เชื้อเพลิง เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากถ่านหินมีปริมาณสำรองมากที่สุด ควบคู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เกิดความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถ่านหินจึงเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถรองรับอุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเสี่ยงต่อระบบไฟฟ้าในประเทศมากถ้าเกิดปัญหากับท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคตเพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน มีต้นทุนพลังงานต่ำ สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ในขณะเดียวกันสามารถรักษาสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน เนื่องจากถ่านหินมีคุณสมบัติที่เด่นมากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ในด้านปริมาณและความเสถียรภาพในการจัดหาพลังงานความปลอดภัยในการขนส่ง มีการแข่งขันด้านราคาและการกระจายตัวของแหล่งพลังงาน นอกจากนี้ในทวีปเอเชียแปซิฟิก มีปริมาณสำรองถ่านหินประมาณ 1 ใน 3 ของโลก และผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ในเอเชีย คือ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบในการจัดหาถ่านหินจากประเทศเพื่อนบ้าน การเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดีควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ถ่านหินเป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญของประเทศไทย

ประเทศไทยใช้ถ่านหินเพียงร้อยละ 0.7 ของการใช้ถ่านหินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินจึงเป็นทางเลือกที่ท้าทายเพื่อให้การใช้พลังงานของประเทศมีความมั่นคงยั่งยืน สมดุลทั้งด้านอุปสงค์ อุปทาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ สาธารณชนต้องเข้าใจถึงความจำเป็น ในการเลือกใช้ถ่านหินและประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมาใช้ควบคุมมลภาวะ รวมถึงชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจรับรู้ความเป็นจริง และตรวจสอบกำกับการดูแลการดำเนินการแทนการต่อต้านเพียงอย่างเดียว

มาตรฐานควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) และสถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานของประเทศญี่ปุ่น (IEEJ) ทำการศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมาตรฐานการตรวจสอบการปลดปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ศึกษาในประเทศหลัก 8 ประเทศ ประกอบด้วยกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซียเวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย

มาตรฐานดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานการปลดปล่อยไอเสีย และมาตรฐานด้านกระบวนการตรวจสอบและติดตามประเมิน โดยมาตรฐานการปล่อยไอเสียนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง คุณสมบัติของถ่านหินที่ใช้ เทคโนโลยีที่ใช้ของโรงไฟฟ้า เม็ดเงินการลงทุน เมื่อมีการลงทุนสูงก็คาดว่าจะมีการควบคุมมลพิษที่ดีขึ้น และความสามารถในการกำกับให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน

สำหรับมาตรฐานการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย โดยเฉพาะที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และนับว่าดีกว่าทั้งหมด เนื่องจากที่ผ่านมามีการปรับปรุงมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของกระบวนการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องประเทศไทยยังสามารถปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้

EXECUTIVE SUMMARY

The demand for domestic energy consuming tends to continually increase. The energy stability is considered so important for driving the country’s economy and industrial sector to achieve the certain competency in comparable to international countries. Therefore, clean coal technology; the technology development for pollution elimination or reduction in order to use them as the fuel for the most beneficial, while give least impact to environment. The clean coal is brought to use in electricity generating to create fuel dissemination balance and build up energy stability in the long run following by electricity generating capacity development plan (PDP 2015) that requires to add the option for natural gas fuel with high dependency rate up to 70%.


Source:

  • https://goo.gl/GhjPlM
  • https://goo.gl/eWLCZo
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924