Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Industrial Documentary: กระป๋อง กว่าจะเป็นนวัตกรรมแห่งการส่งต่ออาหาร

หนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก คือ กระป๋อง ด้วยความแข็งแรงและความสามารถในการถนอมอาหาร ทำให้เหมาะสมต่อการขนส่งรวมถึงทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ก่อนที่จะเป็นกระป๋องแบบที่เห็นอย่างในทุกวันนี้จะมีที่มาที่ไปอย่างไรติดตามได้ในคลิปสารคดีด้านล่างได้เลย

การเดินทางของขวด

จุดเริ่มต้นของภาชนะที่ใช้ถนอมอาหารยุคปัจจุบันเริ่มตึ้นขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 โดย Nicolas Appert ได้คิดค้นวิธีจัดเก็บและถนอมอาหารต่างๆ เช่น ซุป ผัก น้ำผลไม้ต่างๆ โดยมีสมมติฐานว่าอากาศนั้นเป็นต้นกำเนิดของการเน่าเสีย โดยในระยะแรกของการค้นหานั้นเป็นความพยายามในการกำจัดอากาศออกไปจากอาหาร และแน่นอนมันไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องสักเท่าไหร่นัก

จุดเปลี่ยนหลักอยู่ที่จักรพรรดินโปเลียนและรัฐบาลฝรั่งเศสที่ต้องการค้นหาวิธีดูแลปากท้องของเหล่าทหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ถึง 12,000 ฟรังก์ ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องของ Appert ทำให้พบว่าแท้จริงแล้วตัวปัญหา คือ ความร้อน ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งตรงกับการค้นพบของหลุยส์ ปาสเตอร์ ในอีก 50 ปี ให้หลังเกี่ยวกับจุลชีพที่ส่งผลต่ออาหารนั่นเอง

การคว้าชัยชนะของ Appert เกิดขึ้นจากทดลองนำอาหารใส่โหลและปิดด้วยจุกคอร์ก คล้ายกับการปิดผนึกไวน์จากนั้นจึงใช้ขี้ผึ้งปิดทับและห่อด้วยผ้าใบก่อนนำไปต้มในน้ำเดือด ทำให้พบว่าถ้าอาหารถูกบรรจุอย่างแน่นหนาและนำไปให้ความร้อนจะทำให้ไม่เกิดการเน่าเสีย

จากแก้วสู่โลหะ

Peter Duran ชาวอังกฤษได้ยกระดับของการปิดผนึกด้วยการนำกระป๋องสังกะสีมาใช้บรรจุอาหาร ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่สามารถแตกหักได้ ต่อมา Bryan Dorkin และ John Hall ได้เริ่มเปิดโรงงานกระป๋องขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษเมื่อปี 1813 และถูกแพร่ขยายออกไปด้วยความต้องการทางอาหารที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโครงการถนอมอาหารยุคสมัยใหม่่ยังคงใช้พื้นฐานเดียวกัน


อ้างอิง:

  • http://www.tested.com/food/455003-invention-canned-food-early-1800s/
  • http://www.foodreference.com/html/artcanninghistory.html
  • https://www.thekitchn.com/breakthroughs-in-food-science-canning-218083
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924