Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

หนึ่ง ‘โรงงานควบคุม’… หนึ่ง ‘ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน’ควบคุมการประหยัด พลังงานตามกฎกระทรวง

ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานในอัตราที่สูงตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานในประเทศสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด

หนึ่ง ‘โรงงานควบคุม’… หนึ่ง ‘ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน’ควบคุมการประหยัด พลังงานตามกฎกระทรวง

ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ซึ่งได้มีการใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นมา แต่การกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าเป็นโรงงานควบคุมกำหนดตามพระราชกฤษฎีกาจะต้องมี ‘ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน’ เพิ่มอีก 1 คน ตามคุณสมบัติที่กำหนดในกฎกระทรวง การเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเพื่อจัดทำเป็นรายงานส่งปีละครั้ง โดยต้องได้รับการตรวจสอบรับรองจากผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับอนุญาตจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการสอบตามเกณฑ์หลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยมีหน่วยงานภายใต้สังกัดเป็นผู้ดูแลหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งหมด นั่นคือ สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน

ลักษณะของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

ผู้ที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) นั้นจะถูกเรียกว่า ‘โรงงานควบคุม’ หรือ ‘อาคารควบคุม’ แล้วแต่กรณีโดยจะเน้นไปที่โรงงานและอาคารที่มีการใช้พลังงานในปริมาณมากและมีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้ทันทีทั้งนี้ ลักษณะของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมย่อมเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538 ได้กำหนดไว้ ดังนี้

  1. เป็นโรงงานหรืออาคารที่ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายพลังงานให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือให้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าชุดเดียวหรือ
    หลายชุดรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือ
  2. เป็นโรงงานหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบของผู้จำหน่ายพลังงาน ความร้อนจากไอน้ำจากผู้จำหน่ายพลังงาน หรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นจากผู้จำหน่ายพลังงานหรือของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ผ่านมา มีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่20 ล้านเมกะจูลขึ้นไป

โรงงานควบคุมต้องมีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่าง 1 คน

โรงงานควบคุมต้องมีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่าง 1 คน

หน้าที่ตามมาตรา 9 และ 21 แล้วตามมาตรา 11 และมาตรา22 ยังได้กำหนดให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่างน้อย 1 คน ประจำที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละแห่ง
  2. ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
    ตามแบบและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
  3. จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและ
    การอนุรักษ์พลังงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
  4. กำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมและส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงาน
    ทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
  5. ตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา
    ที่กำหนดในกฎกระทรวง

คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและมีประสบการณ์การทำงานในโรงงานหรืออาคารอย่างน้อย 3 ปี โดยมีผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุม
  2. เป็นผู้ได้รับปริญญาทางวิศวกรรมศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามการรับรอง
    ของเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุม
  3. เป็นผู้สาเร็จการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับที่อธิบดี (พพ.) ให้ความ
    เห็นชอบ
  4. เป็นผู้ที่สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโสหรือการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับที่
    อธิบดี (พพ.) ให้ความเห็นชอบ
  5. เป็นผู้ที่ผ่านการสอบตามเกณฑ์หลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์
    พลังงาน (พพ.)


ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานคุณพงค์พัฒน์ มั่งคั่ง ผู้อำนวยกำรสำนักพัฒนำทรัพยำกรบุคคลด้ำนพลังงำน
กล่าวว่า “สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ปัจจุบันโรงงานและอาคารขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ต้องมีการควบคุมการประหยัดพลังงานตามที่กฎหมายกำหนด ต้องมี ‘ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน’ ซึ่งทางโรงงานเป็นผู้แต่งตั้งไม่ว่าจะเป็นวิศวกร หรือช่างเทคนิคแต่บุคคลที่ได้รับมอบหมายไม่มีความรู้เรื่องของข้อกฎหมาย กฎระเบียบ หรือแม้แต่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ”

“ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคลด้านพลังงานในการทำหลักสูตร เพื่ออบรมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายให้กับบุคลากรของโรงงานให้มีคุณสมบัติ มีความรู้ตามกฎหมาย เพื่อนำไปปฏิบัติให้ประหยัดพลังงานในโรงงานและอาคารขนาดใหญ่ที่ถูกบังคับตามกฎหมายเรียกว่าโรงงานและอาคารควบคุม ซึ่งมีจำนวนกว่า 8,500 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งใช้พลังงานไปกว่า 70% ของกลุ่มอุตสาหกรรมและอาคารทั้งหมด”

“ทั้งนี้ หลักสูตรในการฝึกอบรมใช้กรณีตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยแบ่งแยกประเภทหลักสูตร ได้แก่ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มอาคารโรงแรม และกลุ่มโรงพยาบาล ในการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงมาถ่ายทอดให้กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะไปปฏิบัติงานตามกฎหมาย อบรมเพื่อสนับสนุนให้สามารถคิด ทำ มีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้ง ต้องพัฒนาหลักสูตรด้านพลังงานและปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งจะต้องทำหลักสูตรที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎของการฝึกอบรมมี4 ข้อ คือ 1. ไม่บังคับ 2. สิ่งที่สอนต้องไม่ลดคุณภาพชีวิต ไม่ลดมาตรฐาน เชิงวิชาชีพ 3.การมีส่วนร่วม 4.เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับเป็นผู้ให้”

หลักสูตรการฝึกอบรม

สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน ได้จัดแบ่งหลักสูตร การฝึกอบรมด้านพลังงานออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

  • การฝึกอบรมด้านการจัดการพลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโรงงานและอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การฝึกอบรมเทคโนโลยีพลังงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละประเภท
  • การฝึกอบรมด้านระบบการใช้พลังงานตามประเภทของโรงงานควบคุม
  • การฝึกอบรมด้านระบบการใช้พลังงานตามประเภทของอาคารควบคุมฃ
  • การฝึกอบรมในสถาบันการศึกษา

หน้าที่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

  1. บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
  2. ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
  3. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมในการจัดการพลังงาน
  4. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี (พพ.) ตามมาตรา 10

“ในอนาคตหลักสูตรการฝึกอบรมจะขยายผลไปยังกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเจาะลึกลงไปในรายละเอียดปลีกย่อยของอุปกรณ์หลักที่ใช้พลังงานจำนวนมาก มุ่งพัฒนา 2 ส่วน คือ วิธีการ Operate ลดเวลาการผลิต ลดขั้นตอน ลดการสูญเสียจากการทำซ้ำ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของพนักงาน ส่วนโรงแรมจะมีหลักสูตรเกี่ยวกับอาหารเพราะอาหารคือต้นทุนหลัก ซึ่งโรงแรมมีการใช้พลังงานครึ่งหนึ่งมาจากลูกค้า กลยุทธ์ของเรา คือต้องให้ความรู้กับลูกค้าในแบบที่ลูกค้าทำด้วยความสมัครใจ ภายใต้วิธีการคิด ได้แก่ ประหยัดพลังงาน ลดขั้นตอน ลดของเสียจากการทำซ้ำ และเพิ่มคุณภาพชีวิต นี่คือกฎ 4:4 ของทุกหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักในการคิดของที่นี่เรานำมาเพื่อใช้เป็นรูปแบบ”

อย่างไรก็ตาม โรงงานควบคุมทุกแห่งในประเทศจะต้องมีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่างน้อย 1 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของโรงงาน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมได้รับการรับรองตามเกณฑ์หลักสูตรที่หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้ดูแล เพื่อให้สามารถนำไปคิด มีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ท้ายที่สุดหากเจ้าของโรงงานควบคุม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน รวมถึงบุคลากรของโรงงานร่วมด้วยช่วยกันควบคุมพลังงานให้ได้ตามที่กฎหมาย เชื่อว่า ในอนาคตแนวโน้มปริมาณการใช้พลังงานภายในประเทศจะลดต่ำลงอย่างเป็นรูปธรรม

EXECUTIVE SUMMARY

The Royal Decree indicates that the controlled factory requires to have at least one ‘Energy Responsible Officer’ appointed by the owner of factory following designated qualification in ministerial regulation which is in charge of periodically maintenance and checking the performance of machineries and devices that consume energy, improve energy consuming method following energy conservative principle to help the owner of factory controlling energy management and observing the order of director general of the Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation following section 10. Besides, this person needs to collect energy consuming data for making the annual report and must be approved by energy inspector who is granted the permission by the Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation. In addition, energy responsible officer must pass the exam following the criterion of energy responsible officer course arranged by the Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation.


Source:

  • http://www2.dede.go.th/bhrd/old/courseappthai.html
  • http://www2.dede.go.th/bhrd/old/Download/file_handbook/Pre_Build/Build_2.pdf
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
  • สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924