Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ผลการศึกษาชี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้จริง!

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยอันหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ยังเป็นข้อกังขาสำหรับผู้คนในวางกว้าง Yanfang Liu นักวิจัยจากประเทศจีนได้นำเสนองานวิจัย ‘Impact of industrial robots on environmental pollution: evidence from China’ ผ่าน Scientific Report ซึ่งแสดงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมจากกรณีศึกษาของประเทศจีน

ภายหลังการเปิดประเทศของจีนจะเห็นได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของ Global Environmental Performance Index Report โดยมหาวิทยาลัย Yale ปี 2022 ชี้ให้เห็นว่าดัชนีคะแนนด้านสิ่งแวดล้อมของจีนนั้นอยู่ที่ 28.4 คะแนน อยู่ในอันดับ 160 จาก 180 ประเทศ ข้อมูลจาก Chinese Academy of Science แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียประจำปีจากมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมคิดเป็น 10% ของ GDP

การใช้งานหุ่นยนต์นั้นสามารถควบคุมได้โดยอัตโนมัติ ทำงานซ้ำ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองกับภาระงานได้อย่างหลากหลาย สามารถทดแทนแรงงานทักษะต่ำในกระบวนการทำงาน ลดความต้องการใช้วัตถุดิบเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการทำงานแบบแมนนวล ทั้งยังเพิ่มระดับพลังงานสะอาดและประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยมีผลสรุปการศึกษาดังนี้

  1. หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการเพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 1% มลภาวะนั้นลดลงในส่วนของน้ำเสีย -0.242%, SO2 อุตสาหกรรม -0.0875% และฝุ่นควันอุตสาหกรรมลดลง -0.277%
  2. หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการยกระดับของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสีเขียว และ Optimize โครงสร้างของทักษะการจ้างงาน การลดการปล่อยน้ำเสียด้วยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวเป็นสัดส่วน 8.17% ของทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมกับการปลดปล่อย SO2 ของอุตสาหกรรมคิดเป็น 11.8% ของผลลัพธ์รวม และผลกระทบที่เกิดจากนวัตกรรมสีเขียวคิดเป็นสัดส่วน 3.72%
  3. ด้วยการเพิ่มขึ้นของการปลดปล่อยน้ำเสียทางอุตสาหกรรม SO2 ของอุตสาหกรรม และฝุ่นอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแสดงให้เห็นเทรนด์รูป W เมื่อการปลดปล่อย SO2 ของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ผลกระทบของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ช่วยลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
  4. จากความหลากหลายในระดับภูมิภาค หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกนั้นมีผลกรพทบด้านลบสำหรับมลภาวะสิ่งแวดล้อมมากที่สุดตามมาด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออกมีผลกระทบน้อยที่สุด

จากผลสรุปของข้อมูลที่เกิดขึ้นในเอกสารเผู้วิจัยได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าภาครัฐและหน่วยงานเอกชนสามารถสนับสนุนส่งเสริมการลดการปลดปล่อยได้ผ่านการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมภายใต้มุมมองเหล่านี้

  1. เพิ่มและสนับสนุนการลงทุนในการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรม รัฐบาลจีนควรให้ทุนสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และการพัฒนาเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม งานด้านวิจัยและพัฒนาต้องเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีบทบาทได้อย่างเต็มที่ในการลดการใช้วัตถุดิบ ยกระดับการใช้พลังงาน และลดปริมาณการบำบัดน้ำเสีย
  2. ให้กับสนับสนุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเต็มตัวในด้านของการโปรโมทนัวตกรรมเทคโนโลยีสีเขียว เพราะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ข้อได้เปรียบของการบูรณาการองความรู้และการประมวลผลข้อมูลสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมควรนำมาใช้ให้เต็มที่ ภาครัฐเองก็ควรผลักดันองค์กรที่สร้างมลภาวะสูงที่ยังไม่ใช้งานหุ่นยนต์จากเหตุผลด้านเงินทุน การขาดแคลนทักษะและเทคโนโลยี เป็นการเปิดช่องทางสำหรับองค์กรในการพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีสะอาดด้วยการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
  3. ให้ความสำคัญกับบทบาทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการ Optimize โครงสร้างทักษะในการจ้างงาน การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถสร้างงานที่ต้องการทักษะสูงและเพิ่มความต้องการทักษะที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ซึ่งจีนเองขาดแคลนทักษะเหล่านี้ในสาขาของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ภาคการศึกษาต้องสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะสูง ซึ่งองค์การสามารถยกระดับทักษะแรงงานเดิมผ่านการฝึกฝนระหว่างการทำงานและการแข่งขันในการทำงาน

ติดตามผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่:
nature.com

อัปเดทองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชันด้านอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติแห่งปี 2024 ได้ก่อนใครที่
AUTOMATION EXPO 2024
พบกับหัวข้อสัมมนาสำหรับระบบอัตโนมัติและโซลูชันในภาคการผลิตกว่า 50 หัวข้อ พร้อมสัมผัสเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจ พบกันที่ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) 13 – 15 มีนาคม 2567 นี้ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าฟรี!
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924