ด้วยความต้องการของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก หลายประเทศต่างก็ต้องแย่งชิงการลงทุนสร้างฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสร้างความได้เปรียบให้แก่ภาคเศรษฐกิจภายในประเทศของตนเอง
ทำให้ล่าสุดประเทศชิลีที่มีปริมาณสำรองของแร่ลิเทียมอยู่มากที่สุดและยังมีกำลังการผลิตลิเทียมต่อปีเป็นอันดับ 2 ของโลกเองก็ได้ออกมาตรการใหม่เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการผลิต ‘ลิเทียม’ ธาตุสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นอุตสาหกรรมของรัฐโดยตรง
- นักวิจัยพัฒนาวิธีใหม่ ช่วยรีไซเคิลแบตเตอรี่ Li-ion
- ราคาลิเทียมพุ่งสูงต่อเนื่อง กระทบผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก
- นักวิจัย MIT พบวิธียืดอายุแบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้งให้ใช้งานได้นานขึ้น
การผลิตลิเทียมในอนาคตของชิลีต้องถูกควบคุมโดยรัฐ
โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ Reuters ได้ระบุว่าประธานาธิบดี Gabriel Boric แห่งชิลีได้เล็งเห็นถึงโอกาสสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตลิเทียมของชิลี และได้มีการประกาศว่าในอนาคตนั้นการควบคุมและดำเนินการผลิตลิเทียมภายในประเทศจะถูกควบคุมโดยรัฐเองเท่านั้น
จุดประสงค์ของแผนการนี้ก็มีขึ้นเพื่อสร้างการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างการปกป้องสิ่งแวดล้อมภายในประเทศให้มากขึ้น และจะมีการสร้างบริษัทใหม่ของรัฐบาลแยกเพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิตโลหะสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
สิ่งนี้จะทำให้การออกสัญญาลิเทียมในอนาคตจะออกเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนร่วมกันโดยมีรัฐเป็นผู้เป็นผู้ควบคุมเท่านั้น สำหรับสัญญาลิเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นนาย Gabriel ก็ระบุว่ารัฐบาลจะไม่ยุติสัญญาลง แต่หวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะเปิดให้รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมก่อนสัญญาจะหมดลง
แผนการดังกล่าวนี้จะถูกนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 นี้ ซึ่งผลลัพธ์ของแผนการนี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกอย่างไรในการเข้ามาลงทุนกับประเทศชิลีก็คงจะต้องรอติดตามกันต่อครับ