Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

10 กิจกรรมยอดฮิตในการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นมีการลงทุนและการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ความท้าทายยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงาน การขาดแคลนทักษะ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของตลาด หรือความไม่แน่นอนของซัพพลายเชนก็ตาม และนี่คือ 10 กิจกรรมยอดฮิตในการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจาก Analyticsinsight.net

1. การประกอบและแยกชิ้นส่วน

การประกอบชิ้นส่วนจากเล็กไปใหญ่นั้นเป็นกิจกรรมที่เห็นได้ทั่วไปในการผลิต การประกอบดั้งเดิมที่ใช้มนุษย์นั้นต้องผสมผสานทั้งความแม่นยำ ความคล่องตัว การมองเห็นที่รวดเร็วและละเอียด ไปจนถึงความฉลาดในการดำเนินการ ซึ่งหุ่นยนต์จะมาช่วยทุ่นแรงได้ทั้งการประกอบหรือยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เช่น การติดกาวหรือการขันสกรูต่าง ๆ

2. การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์

ในกระบวนการหล่อโลหะอย่าง Casting ที่ใช้แม่พิมพ์หรือร่องที่ขุดเป็นรูปทรงซึ่งหุ่นยนต์เองก็สามารถทำหน้าที่ฉีดโลหะเหลว Deburring, Grinding ไปจนถึงงานขัดผิวได้ด้วยเช่นกัน

3. หุ่นยนต์ทำความสะอาด

แน่นอนว่าพื้นที่การผลิตต้องมีความสะอาดอยู่เสมอเพื่อให้ชิ้นงานที่ผลิตเสร็จแล้วคงไว้ซึ่งคณภาพในระดับสูงสุด เช่นเดียวกับสุขอนามัยของผู้คนที่ทำงานในพื้นที่ หุ่นยนต์ทำความสะอาดสามารถฆ่าเชื้อ หรือดูดฝุ่น หรือทำความสะอาดเก็บเศษโลหะเล็ก ๆ ที่กระจายได้อัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดเวลาในการทำความสะอาดซึ่งปรกติใช้เวลาไม่น้อยในขั้นตอนเหล่านี้

4. หุ่นยนต์สำหรับหยิบสิ่งของ

การหยิบจับสิ่งของโดยหุ่นยนต์นั้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในงานคลังสินค้าหรืองานโลจิสติกส์เท่านั้น แต่การใช้งานในสายการผลิตเพื่อทำการหยิบจับชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วก็ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นอีกด้วย และการใช้งาน AMR หรือ Autonomous Mobile Robot เองก็สามารถใช้งานได้ทั้งการเคลื่อนย้ายและการบูรณาการเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้นอีกด้วย

5. โลจิสติกส์และคลังสินค้า

ในงานคลังสินค้าหรือโลจิสติกส์เองนอกจากการหยิบจับแล้ว ยังมีการจัดหมวดหมู่ การจัดเรียง การติดลาเบล ไปจนถึงการขนย้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อนำส่งสินค้าสำหรับพื้นที่เมืองเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ

6. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพบางประการนั้นหมายถึงความเป็นความตายที่เกิดขึ้น หากมีชิ้นส่วนที่ผิดพลาดหรือติดตั้งผิืดตำแหน่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้โดยตรง ซึ่งมนุษย์นั้นมีความแม่นยำในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ในขณะที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถทำได้ 99% เช่น การใช้หุ่นยนต์ติดกล้องช่วยตรวจสอบคุณภาพได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรอยแยก มิติขนาดของชิ้นงาน และคุณภาพการเคลือบ

7. การกัดขึ้นรูป

กิจกรรมการผลิตที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรือจดจ่อสูงนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Machine Tools ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Milling หรือ Laser Cutting ซึ่งนอกจากจะมีความแม่นยำสูงแล้ว สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทำงานได้เป็นระยะเวลายาวนานโดยมีความคาดเคลื่อนเกิดขึ้นต่ำหากเปรียบเทียบกับความล้าซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับแรงงาน

8. การพ่นสีและการเคลือบ

การพ่นสีและการเคลือบเป็นกระบวนการในการตกแต่งและปกป้องชิ้นงานซึ่งเกิดขึ้นทั่วไปในการผลิต การเคลือบหรือพ่นสีที่ดีจะต้องมีความหนาที่เหมาะสมกับชิ้นงานและการใช้งาน ทั้งยังต้องมีความสม่ำเสมอทั่วกันตลอดชิ้นงาน โดยทั่วไปแล้วในการเคลือบจะมีทั้งการจุ่มชิ้นงานและการพ่นเคลือบบาง ๆ ซ้ำไปซ้ำมา การใช้หุ่นยนต์ในงานเหล่านี้ทำให้แรงงานเกิดความปลอดภัยในการอยู่ใกล้กับสารเคมีและทำให้ชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพสูงกว่าอีกด้วย

9. บรรจุภัณฑ์และงานพาเลท

งานบรรจุภัณฑ์และการจัดวางพาเลทเป็นงานที่พบได้ทั่วไปในภาคอุตสาหกรรมไม่ว่าจะการผลิต คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า เมื่อเทรนด์มุ่งหน้าไปสู่การทำงานที่ใช้พื้นที่น้อยลงเล็กลงการขยับทำงานซ้ำ ๆ ยิ่งมากขึ้นและว่องไวขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ผลิตกล่องจะต้องทำกล่องได้หลายขนาดตามความต้องการและจัดเรียงอยู่บนพาเลทได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นต้น

10. งานเชื่อมวัสดุ

หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมวัสดุนั้นมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภคและภาคอิเล็กทรอนิกส์พาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน ไปจนถึงการผลิตเครื่องมือแพทย์ เพราะหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและลดการใช้ทรัพยากรให้เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ที่มา:
analyticsinsight.net

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924