Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

จีนอุดรูรั่วแรงงานด้วยหุ่นยนต์ Bloomberg ชี้ในท้ายที่สุด ‘คนที่ใช่’ ก็ยังขาดแคลนอยู่ดี

ภาครัฐและเอกชนของประเทศจีนตั้งเป้าแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการเติมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่ออุดรูรั่วดังกล่าวที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้ระบบอัตโนมัตินั้นยังคงต้องการแรงงานในการดำเนินการอยู่ดี แตกต่างกันตรงที่ว่าแรงงานที่ขาดนั้นอาจเป็นแรงงานระดับปฏิบัติการณ์ในสายการผลิต แต่แรงงานที่ต้องการสำหรับระบบอัตโนมัตินั้นเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง

แม้ว่าการขาดแคลนแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทึกประเทศ แต่ดูเหมือนว่าประเทศจีนที่ได้รับสมญานามว่า ‘โรงงานของโลก’ จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด หนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาจากภาครัฐ คือ การเพิ่มหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน

Anjani Trivedi ผู้เชี่ยวชาญจาก Bloomberg ชี้ให้เห็นความตั้งใจของรัฐบาลกลางของจีนนั้นตั้งใจเพิ่มอัตราส่วนของแรงงานจากหุ่นยนต์ 246 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คนในปี 2025 เป็น 2 เท่าของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2020 คิดเป็นการเติบโตในการใช้หุ่นยนต์ถึง 13% ต่อปี

แม้ว่าผู้ผลิตหุ่นยนต์ในจีนเองสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่ทำงานซับซ้อนได้คล้ายคลึงกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อม ขันสกรู หรือการสลักลายด้วยเลเซอร์ ซึ่งภาพที่ออกมาจึงสร้างความเข้าใจได้ว่าจีนจะเพิ่มศักยภาพในการผลิตและผลิตภาพในงานต่าง ๆ ได้อย่างดี แต่ทว่าผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานนั้นกลับมีผลร้ายต่อระบบอัตโนมัติมากกว่าที่คิด การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเหมาะสมกับระบบอัตโนมัตินั้นที่เดิมทีมีน้อยอยู่แล้วกลับถูกเร่งความต้องการจำนวนมหาศาลด้วยนโยบายจากภาครัฐ ทำให้การขาดแคลนแรงงานในส่วนที่จะขับเคลื่อนเทคโนโ,ยีที่เป็นดังหัวใจของแผนไม่อาจถูกเติมเต็มได้ในเวลาอันสั้นเนื่องจากต้องอาศัยปัจจัยจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ถิ่นที่พำนัก ตลอดจนนโยบายสนับสนุนที่ถูกออกแบบมาเฉพาะแรงงานทักษะสูงของภาครัฐในการจูงใจ

การเติมช่องว่างของแรงงานด้วยระบบอัตโนมัติในจีนจึงอาจไม่ได้สร้างผลลัพธ์ที่ดีดังที่คิดนัก แม้จะมีความคาดหวังว่าจะได้แรงงานหน้าใหม่อายุน้อยเข้ามาบรรเทาสถานการณ์แต่ในความเป็นจริงแล้วแรงงานหน้าใหม่ไม่น้อยที่เลือกหันหน้าไปภาคการบริการเนื่องจากให้ความสำคัญกับการอยู่ใกล้ครอบครัว ทำให้มีแรงงานหน้าใหม่เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ตบเท้าเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม

ผู้เชี่ยวชาญจาก Bloomberg ยังเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่าปัจจุบันมีการประมาณการแรงงานอพยพของประเทศจีนกว่า 300 ล้านคนที่อาจไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับ GDP ได้อย่างที่ควร และมีแรงงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหรือสูงกว่าเพียง 12.6% เท่านั้น กว่า 40% ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นถูกดำเนินการโดยแรงงานอพยพมาหางานในเขตอุตสาหกรรมกำลังจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติในไม่ช้านี้ โดยแรงงานมากกว่าครึ่งมีอายุ 41 ปีและมีอายุที่มากกว่านั้น ทำให้การ Reskill เป็นอะไรที่ยากลำบาก

ที่มา:
washingtonpost.com

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ก้าวข้ามปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะในอุตสาหกรรมทำได้อย่างไร?
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924