นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ได้พัฒนากระบวนการสร้างไฮโดรเจนจากน้ำทะเลโดยตรงและไม่จำเป็นต้องดำเนินการ Desalination หรือการกลั่นน้ำทะเลเพื่อกำจัดเกลือก่อน ทำให้เกิดกระบวนการที่มีต้นทุนถูกกว่าและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงสามารถลดคราร์บอนในกระบวนการไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย ถือเป็นก้าวสำคัญในอุตสาหกรรมไฮโดรเจนสีเขียว
ไฮโดรเจนนั้นเป็นหนึ่งในอนาคตของพลังงานสะอาดและเป็นโซลูชันที่มีศักยภาพอย่างมากภายใต้ความท้าทายด้านพลังงานเช่นยุคปัจจับัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่จัดการกับการสร้างคาร์บอนได้ยากอย่างภาคการผลิต การบิน และการขนส่งสินค้า
ปัจจุบันเกือบทั้งหมดของไฮโดรเจนที่ใช้งานนั้นมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และในกระบวนการผลิตนั้นทำให้เกิด CO2 กว่า 830 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว เทียบเท่ากับการปดปล่อยมลภาวะของสหราชอนาณาจักรและอินโดนีเซียรวมกัน
ทว่าไฮโดรเจนสีเขียวนั้นปราศจากการปลดปล่อยมลพิษ เกิดขึ้นจากกระบวนการแยกน้ำ แต่กระบวนการดังกล่าวมีต้นทุนที่สูงทำให้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในเชิงพาณิชย์วงกว้าง และมีสัดส่วนเพียง 1% ของการผลิตไฮโดรเจนทั่วโลกในปัจจุบัน
ในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Electrolyser จะถูกใช้ในการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านน้ำเพื่อแยกองค์ประกอบของไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่ง Electrolyser นั้นใช้ตัวกระตุ้นที่มีราคาแพงและยังใช้พลังงานรวมถึงน้ำจำนวนมาก อาจใช้น้ำมากถึง 9 ลิตรสำหรับการสร้างไฮโดรเจนเพียง 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้ยังมีสารพิษอย่างคลอรีนอีกด้วย ซึ่งการใช้น้ำทะเลมาผลิตไฮโดรเจนนั้นคลอรีนถือเป็นปัญหาใหญ่ หากไม่แก้ปัญหาในประเด็นดังกล่าวอาจมีการผลิตคลอรีนออกมามากถึง 240 ล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าความต้องการคลอรีนของโลกถึง 3-4 เท่า ซึ่งการทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยไฮโดรเจนด้วยผลลัพธ์เช่นนี้จะเป็นการทำร้ายธรรมชาติในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้สร้างความคุ้มค่าใด ๆ
กระบวนการที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่นี้นอกจากปลอด CO2 แล้วยังไม่ก่อให้เกิดคลอรีนอีกด้วย ด้วยการเปลี่ยนเคมีภายในตัวกระตุ้นด้วยกระบวนการอันเรียบง่าย ทำให้สามารถผลิตไฮโดรเจนในสเกลขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรมได้
ที่มา:
rmit.edu.au
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ปตท. ยุติธุรกิจถ่านหิน เดินหน้าสู่พลังงานสะอาด