สศอ. เปิดผลงานปีงบประมาณ 65 พร้อมดันแผนพัฒนาอุตฯ ปรับโครงสร้างภาคการผลิตสู่การเป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในรอบปีงบประมาณ 2565 ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเด็นที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งแผนและนโยบายการพัฒนาระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรมศักยภาพ และอุตสาหกรรมอนาคต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ที่จะก่อให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม
โฟโต้โพลิเมอร์เรซิ่นยืดได้กว่าเดิม 7 เท่า! [Freefoam โดย Desktop Metal] | FactoryNews ep.20/3
ตลอดจนสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชน อาทิ การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การขับเคลื่อนมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561-2570 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไกคณะกรรมการ BCG ระดับประเทศ การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และการดำเนินการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม
ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สศอ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ได้เสนอประเด็นสำคัญเชิงนโยบายต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570) 2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570) 3. การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
และ 4. กลไกขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรมยั่งยืน และคณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์และการอํานวยความสะดวกภาคอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมตามกรอบแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศในระดับต่าง ๆ รวมถึงกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “Industry 4.0” ที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 ให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริงต่อไป
นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ในส่วนของการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา สศอ. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพและอุตสาหกรรมอนาคต เช่น การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยผลักดันนโยบายทั้งในด้านการส่งเสริมอุปสงค์อุปทานและปัจจัยแวดล้อม (Eco system) สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronic) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570) และเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปีนี้เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติ
ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผ่าน 4 มาตรการหลักตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งการส่งออกอาหารแปรรูปของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มีมูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ส่งผลให้ภาพรวมปี 2565 คาดว่าจะถึงจุดสูงสุดเดิมและมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และพร้อมก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก
สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต (News S-Curve) สศอ. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตาม Roadmap ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นผู้นำในการผลิตและการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภูมิภาคอาเซียนผ่านกลไกขับเคลื่อนสำคัญ คือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หรือ CORE
ส่วนอุตสาหกรรมชีวภาพ ได้ขยายเวลาสำหรับมาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อให้ผู้ซื้อคนแรกนำไปยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่า และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีการดำเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โดยพัฒนาผู้ประกอบการในการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และต้นแบบวัสดุเชิงเทคนิค รวมทั้งยกระดับศักยภาพการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อพร้อมรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
นอกจากนี้ สศอ. ยังมีการขับเคลื่อนการพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคัล โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และอุตสาหกรรมพืชกัญชง ได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570) โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN) ภายใน 5 ปี
- สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS
- สศอ. เผย MPI เดือนพฤษภาคม 65 ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46
- สศอ. เผย ผลประชุมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- สศอ. เผย MPI เดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 2.75
ขณะเดียวกันด้านการให้บริการข้อมูล การชี้นำและเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ. ได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) รายภูมิภาค สำหรับใช้เป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ และติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์อุตสาหกรรมรายภูมิภาคของประเทศในเชิงลึกเป็นประจำทุกเดือน ส่วนการพัฒนาและยกระดับการให้บริการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จัดทำระบบการปรับปรุงแบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงานให้เป็นแบบฟอร์มเดียว หรือ Single Form โดยปัจจุบันได้ให้บริการแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงานรายเดือนและรายปี (ร.ง.8 และ ร.ง.9) ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยระบบ iSingleForm เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
สำหรับภารกิจในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สศอ. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมจัดกิจกรรมและการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ปี 2565 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2565 โดยได้นำเสนอประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมตาม BCG Economy Model และนำไปสู่ความร่วมมือด้านการแบ่งปันข้อมูลเศรษฐกิจผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ความร่วมมือด้านการยกระดับทักษะภาคอุตสาหกรรม
รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญระหว่างประเทศสมาชิคเอเปค ได้แก่ ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านระบบนิเวศน์ (Eco System) ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไปสู่ความยั่งยืน อีกทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีที่ได้แลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านนโยบายและกฎระเบียบ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบจำแนกและการติดฉลากสาเคมีเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกเอเปค
นอกจากนี้ สศอ. ยังมีการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) และเป็นหน่วยประสานงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับต่างประเทศของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย