Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

TESLA เกือบล้มละลายเพราะผลิตรถไม่ทัน

รู้หรือไม่ครั้งหนึ่ง TESLA เกือบล้มละลายเพราะผลิตรถไม่ทัน ?

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2017 Tesla ได้เปิดตัว EV สำหรับกลุ่ม Mass อย่าง Model 3 ในราคาเริ่มต้นประมาณ 1.5 ล้านบาท เรียกได้ว่าเป็นราคาที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้และด้วยราคาที่เป็นมิตรนี้ทำให้ Tesla Model 3 ทำลายสถิติการซื้อขายรถยนต์เป็นประวัติศาสตร์โลกด้วยยอดจองถึง 325,000 คัน และจากยอดจองที่มากมายมหาศาลนั้น กลับกลายมาเป็นดาบสองคมที่ทิ่มพวกเขาในเวลาต่อมาจนเกือบจะล้มละลาย

Tesla Model 3

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2017 Tesla ได้เปิดตัว EV สำหรับกลุ่ม Mass อย่าง Model 3 ในราคาเริ่มต้นประมาณ 1.5 ล้านบาท เรียกไดว่าเป็นราคาที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้และด้วยราคาที่เป็นมิตรนี้ทำให้ Tesla Model 3 ทำลายสถิติการซื้อขายรถยนต์เป็นประวัติศาสตร์โลกด้วยยอดจองถึง 325,000 คัน และจากยอดจองที่มากมายมหาศาลนั้น กลับกลายมาเป็นดาบสองคมที่ทิ่มพวกเขาในเวลาต่อมาจนเกือบจะล้มละลาย

ฟังดูย้อนแย้งดีไหมครับ ? ทั้ง ๆ ที่มียอดซื้อรถที่มากมายมหาศาลระดับนั้นกลับทำให้แบรนด์รถ EV ระดับโลกอย่าง Teslaเกือบล้มละลาย และสาเหตุที่ทำให้ Tesla เกือบจะต้องล้มละลาย นั่นก็คือ ยอดจองที่บ้าคลั่งของ Model 3 ที่ถล่มทลาย ทำให้พวกเขาไม่สามารถผลิต Model 3 ได้ตามเป้าของยอดส่งมอบรถ

การผลิตที่ไม่ทัน ?

ณ ต้นปี 2018 พวกเขาได้ตั้งเป้าการผลิต Model 3 ให้ได้ประมาณ 5000 คัน/สัปดาห์ แต่เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีจำกัดของ Tesla ที่ ณ ตอนนั้นพวกเขามี Gigafactory อยู่แค่ที่ เนวาดา และ นิวยอร์ก เลยทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2018 พวกเขาสามารถผลิตได้แค่ 9800 คัน ใน 3 เดือนแรก และสามารถส่งมอบรถได้ทั้งหมดแค่ 3000 คัน

พวกเขาจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเป็นอย่างมากโดยพวกเขานำเงินมาลงทุนในการสร้าง Gigafactory เพิ่มอีก 2 ที่ใน เบอร์ลิน และ เซี่ยงไฮ้ สูญเสียเงินจากการลงทุนไปจำนวนมากทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะล้มละลาย ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2019 พวกเขาสูญเสียเงินไปมากกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท Elon เลยหาทางด้วยการระดมทุนจากหลาย ๆ ทางเพื่อนำเงินมาไม่ให้ล้มละลาย อย่างเช่น ขายของเล่นที่เป็นปืนพ่นไฟจาก The Boring Company หรือว่าควักเงินส่วนตัวของเขามาใช้

รอยร้าวของความขัดแย้ง

อีกทั้ง Elon ยังติดต่อไปยัง Tim Cook CEO แห่ง Apple เพื่อที่จะขอให้ Apple เข้าซื้อกิจการของ Tesla เพื่อเป็นการต่อลมหายใจ แต่สิ่งที่ Elon ได้รับกลับมานั้นก็คือความว่างเปล่า โดย Elon เคย ทวีตไว้ในทวิตเตอร์ในเชิงน้อยเนื้อต่ำใจประมาณว่า “ในช่วงที่ลำบากที่สุดในตอนผลิต Model 3 เราเคยติดต่อไปยัง Tim Cook เพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะให้พวกเขาเข้าซื้อกิจการของพวกเรา แต่พวกเขากลับปฎิเสธเราและไม่คิดที่จะคุยกับเราเลย” และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของร้อยร้าวเล็ก ๆ ที่จะกลายมาเป็นความขัดแย้งระหว่าง Elon และ Apple ในภายหลัง

Tim Cook CEO แห่ง Apple

เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่

หลังจากที่พวกเขาลงทุนสำหรับการผลิตก่อนหน้านี้ทำให้ Tesla สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างเต็มที่ด้วยการปรับปรุงระบบและอัปเกรดสิ่งต่าง ๆ ภายใน Gigafactory จน Elon เคยกล่าวแบบติดตลกไว้ว่า “เพื่อผลิต EV ให้ทันต่อเวลาที่จำกัด ณ ตอนนี้เราขอต้อนรับสู่โรงงานนรกของพวกเรา แล้วต่อให้อยู่ในนรกพวกเราก็ต้องเดินหน้าไปต่อ” หลังจากนั้นเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางหลังจากนั้นจนถึงปลายปี 2019 พวกเขาสามารถผลิตรถได้ 6000 คันต่อสัปดาห์ และในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี พวกเขาสามารถส่งมอบ Model 3 ได้มากถึง 92,000 คัน

หลังจากที่พวกเขาสามารถฝ่าวิกฤตครั้งนั้นมาได้ นับตั้งแต่ปี 2020 Tesla เป็นบริษัทที่มียอดมูลค่าการเติบโตสูงที่สุดในโลกมากถึง 271 % และเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์เป็นอันดับ 1 ของโลก เกิน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่า Volkswagen, BMW และ Ford หากคิดมูลค่ารถยนต์ที่ขายไปแล้ว TESLA มีมูลค่ากำไรจากการขายต่อคันสูงถึง 42 ล้านบาท ทิ้งห่างจาก Ford ที่ 1.8 แสนบาท Volkswagen ที่ 3.1 แสนบาท และทิ้ง Toyota ที่ 7 แสนบาทต่อคัน ถึง 70 เท่าเลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่าแทบจะทุกธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมนั้น หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ เรื่องของกำลังการผลิต การผลิตที่ไม่เพียงพออาจทำให้เสียรายได้จากลูกค้าในแต่ละส่วนอีกด้วย แม้กระทั่งผู้จำหน่ายและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลกอย่าง Tesla ยังเกือบที่จะล้มละลายเพราะกำลังการผลิตที่ไม่พอต่อความต้องการของผู้ซื้อ

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924