Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

เตรียมความพร้อมรับ…ISO 9001:2015 พร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อขอการรับรอง (ตอนที่ 1)

จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ในด้านการเป็นวิทยากรที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งแต่เดิมสังกัดสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ด้านการเพิ่มผลิตภาพและได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพในบริษัททำการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิคแห่งหนึ่ง ด้วยตำแหน่งหน้าที่นี้ ได้ดูแลในระบบการบริหารงานคุณภาพตามแนวทาง ISO 9001: 2015 การบริหารงานคุณภาพโดยเริ่มจากวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน กิจกรรมคุณภาพในระหว่างกระบวนการผลิต และการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงกิจกรรมในการเพิ่มผลิตภาพ เช่น กรรมการ 5ส การปรับปรุงแบบไคเซ็น และการนำระบบการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น การลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร การนำระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบทวิผลโดยที่ทุกคนมีส่วนร่วมมาเริ่มใช้ในสายการผลิต เพื่อให้พนักงานในสายการผลิตมีจิตสำนึกในการดูแลเครื่องจักรด้วยตนเอง

เตรียมความพร้อมรับ...ISO 9001:2015 พร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อขอการรับรอง (ตอนที่ 1)

ในบทความนี้จะกล่าวถึงกระบวนการขอการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001 แนวทางการบริหารงานคุณภาพนี้ ได้ออก Version ใหม่เมื่อปี 2015 เพื่อทดแทน Version 2008 และจะสามารถใช้ Version 2008 ได้ถึง ปี 2017 นี้เท่านั้น และสามารถขอการรับรองใน Version 2008 ได้ภายในปี 2016

ผู้เขียนและทีมงาน เริ่มจากการพิจารณาข้อกำหนดใหม่ที่ต่างจากเดิม พยายามตีความและนำข้อกำหนดไปปฎิบัติตาม โดยมีโอกาสได้พบและให้คำปรึกษาผู้ประกอบการหลายรายในกลุ่มของ SMEs และประสบการในการบริหารงานระบบคุณภาพนี้ด้วยตนเอง พบว่าการที่เราพยายามตีความในข้อกำหนด เชื่อมโยงกับการหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และการเข้าฝึกอบรมในสถาบันและองค์กรต่างๆ ในบางครั้ง เรามีตัวอย่างซึ่งเชื่อว่าถูกต้องและพยายามนำมาจัดประชุม ปฎิบัติ และดำเนินการการตรวจสอบภายในอย่างรีบเร่ง และจัดประชุมผู้บริหารเพื่อทำการจัดการกับดัชนีชี้วัดในแต่ละหน่วยงานเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ว่า ได้เป้าหมายหรือไม่

เราพยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าใจ ออกแบบกิจกรรมและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งความพร้อมรับการเข้าตรวจประเมินองค์กร ตามที่ทางบริษัทที่ให้การรับรองระบบการบริหารคุณภาพต่างๆ กำหนด เราเรียกหน่วยงานรับรองนี้ว่า Certification Body หรือ CB ซึ่งในประเทศไทยก็มีอยู่หลายหน่วยงานที่ให้การรับรองได้ เช่น Bureau Veritas, TUVnord, URS, SGS และ MASCI เป็นต้น โดยที่ผู้เขียนร่วมกับผู้บริหารระดับสูงอีกท่านเตรียมการทั้งหมดและมีเวลาในการดำเนินการประมาณ 9 เดือนก่อนที่นัดผู้ตรวจประเมินเข้าทำการตรวจประเมินเพื่อขอการรับรองใน Version ใหม่นี้

ในเดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ขอรับการรับรองและผู้ตรวจได้เข้าตรวจประเมิน เมื่อวันเข้าตรวจประเมินระบบคุณภาพนี้มาถึง และทางผู้ตรวจประเมินเข้าทำการตรวจสอบทุกหน่วยงาน เช่น ฝ่ายบริหารระดับสูง ฝ่ายการผลิตรวมถึงการผลิตในหน่วยย่อยต่างๆ ฝ่ายสนับสนุนต่างๆ เช่น ฝ่ายจัดซึ้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายระบบสารสนเทศ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายออกแบบและวิศวกรรมการผลิตเครื่องจักร ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงฝ่ายบุคคล แต่ภาพที่เราเข้าใจแบบเป็นช่วงๆ ไม่ปะติดปะต่อไม่สามารถเชื่อมข้อกำหนดในแต่ละข้อเข้าหากันได้ ทำให้ในการตอบคำถามจากผู้ตรวจประเมิน เราสามารถตอบคำถามได้ ที่ละข้อ แต่เมื่อถามคำถามซึ่งจะต้องเชื่อมโยงกัน เราไม่สามารถตอบแบบเชื่อมโยงข้อมูลกันได้เลย

ดังนั้น บทความนี้จะอธิบายข้อกำหนดในแบบง่ายๆ การตีความที่ไม่ซับซ้อน และทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและเชื่อมโยงข้อกำหนดในแต่ละข้อได้

หัวข้อที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเพิ่ม
จาก Version 2008 มาเป็น Version 2015 มีดังต่อไปนี้

ข้อกำหนดที่ 4 บริบท องค์กร
ความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร

องค์กรควรพิจารณากําหนดประเด็นทั้งภายในและภายนอก ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ และการส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบรรลุผล ตามเจตนาของระบบบริหารคุณภาพ องค์กรจะต้องติดตามและทบทวนข้อมูลจากประเด็นภายในและภายนอก

*หมายเหตุ

  1. ประเด็นรวมถึงปัจจัยด้านบวกและด้านลบ หรือเงื่อนไขสําหรับพิจารณา
  2. บริบทของประเด็นภายนอกอาจรวมถึง ประเด็นที่มาจากกฎหมาย เทคโนโลยีแข่งขัน การตลาด วัฒนธรรม สังคม และสภาพเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น
  3. บริบทประเด็นภายในอาจรวมถึง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม วัฒนธรรม ความรู้ และสมรรถนะ ขององค์กร

ก่อนการตีความ ผู้อ่านต้องเข้าใจคำว่า บริบทองค์กร หมายถึง ข้อมูลทั่วไปในระดับองค์กรเช่น ประวัติหรือความเป็นมาขององค์กร ข้อมูลองค์กร/หน่วยงานต่างๆ ที่มีปณิธานขององค์กร ซึ่งได้แก่ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ขององค์กรหรือหน่วยงาน นโยบาย/ยุทธศาสตร์การบริหารงาน เพื่อเป็นกลยุทธ์ในดำเนินงานตามปณิธานขององค์กรหรือ หน่วยงาน โครงสร้างการบริหารงาน ผู้บริหาร/บุคลากร อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรหรือหน่วยงานรวมถึง สถิติการดำเนินงานที่ผ่านมาการตีความหมายเพื่อการปฏิบัติ

เตรียมความพร้อมรับ...ISO 9001:2015 พร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อขอการรับรอง

ความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เนื่องด้วยผลกระทบหรือแนวโน้มผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการที่จะรักษาความสามารถในการทําให้ ผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นไปตามข้อกําหนดลูกค้าและข้อกําหนดทางกฎหมาย องค์กรจะต้องพิจารณา a) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารคุณภาพ b) ข้อกําหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารคุณภาพ องค์กรจะต์องติดตามและทบทวนข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น

การพิจารณาขอบเขตของระบบบริหารคุณภาพ

องค์กรต้องกําหนดขอบเขตและการประยุกต์ใช้ของระบบการบริหารคุณภาพเพื่อระบุขอบเขตของการใช้งาน เมื่อพิจารณาขอบเขตการประยุกต์ใช้ฃองค์กรต้องพิจารณาถึง

  • ประเด็นภายในและภายนอก
  • ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • สินค้าและบริการขององค์กร

กรณีที่ขอบเขตการดําเนินการครอบคลุมตามข้อกําหนดสากลฉบับนี้องค์กรจะต้องนํามาเป็นส่วนหนึ่งในการประยุกต์ใช้

ระบบบริหารคุณภาพขององค์กร

องค์กรต้องจัดทํา นําไปปฏิบัติ คงรักษา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระบบบริหารคุณภาพ รวมถึงกระบวนการที่จําเป็น โดยมีจุดเพิ่มเติมในเรื่องสินค้าและบริการขององค์กร พิจารณาและประยุกต์ใช้เกณฑ์วิธีการ (รวมทั้งการตรวจติดตาม ตรวจวัด และตัวชี้วัดสมรรถนะของกระบวนการ) ที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าการควบคุมกระบวนการเกิดประสิทธิผล

ข้อกำหนดที่ 5 การเป็นผู้นํา

การเป็นผู้นําและความมุ่งมั่น ในด้าน

  • รับผิดชอบในประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ
  • มั่นใจว่ามีการจัดทํานโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพ สําหรับระบบบริหารคุณภาพ และสอดคล้องกับบริบท และทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร
  • มั่นใจว่าได้มีการนําข้อกําหนดระบบบริหารคุณภาพประยุกต์ ใช้ในกระบวนการขององค์กร
  • ส่งเสริมการมุ่งเน้นกระบวนการและการคิดบนพื้นฐานความเสี่ยง
  • จัดให้มีทรัพยากรที่จําเป็นสําหรับระบบการจัดการคุณภาพเพียงพอ
  • สื่อสารความสําคัญของการบริหารคุณภาพที่มีประสิทธิผล และความสอดคล้องกับข้อกําหนดของระบบบริหารคุณภาพ
  • มั่นใจว่า ระบบการจัดการคุณภาพบรรลุได้ตามความตั้งใจ
  • สร้างการมีส่วนร่วม, กําหนดแนวทาง และสนับสนุนพนักงานดําเนินกิจกรรมในระบบบริหารคุณภาพอย่างมี
    ประสิทธิผล
  • ส่งเสริมการปรับปรุง
  • สนับสนุนบทบาทอื่น ๆ ในการบริหาร เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นําในส่วนงานที่รับผิดชอบ

การมุ่งเน้นลูกค้า

ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงภาวะผู้นําและความมุ่งมั่นในการมุ่งเน้นลูกค้า โดยทําให้มั่นใจว่า

  • ข้อกําหนดลูกค้า กฎหมายและข้อกําหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพิจารณา ทําความเข้าใจ และมีความครบถ้วน
  • ความเสี่ยงและโอกาสที่ส่งผลต่อความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ และความสามารถที่ทําให้ลูกค้าพึงพอใจ
  • ได้รับการพิจารณาและระบุไว้
  • มุ่งเน้นการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

นโยบาย การจัดทํานโยบายคุณภาพ

  • เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และบริบทขององค์กรและสนับสนุนทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร
  • กรอบในการกําหนดวัตถุประสงค์คุณภาพ
  • แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุตามข้อกําหนดที่องค์กรเกี่ยวข้อง
  • แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบบริหารคุณภาพ

การสื่อสารนโยบายคุณภาพ นโยบายคุณภาพต้อง

  • จัดทําและอยู่ในรูปแบบเอกสารข้อมูล
  • สื่อสารภาย ให้เข้าใจ และนําไปปฏิบัติได้ภายในองค์กร
  • มีความสอดคล้องกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตามความเหมาะสม

บทบาท ความรับผิดชอบ และอํานาจหน้าที่ในองค์กร

ผู้บริหารสูงสุดต้องมั่นใจว่า มีการกําหนด สื่อสารให้เข้าใจถึงความรับผิดชอบและอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กร ผู้บริหารสูงสุดต้องกําหนดความรับผิดชอบและอํานาจเพื่อ

  • มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพสอดคล้งกับข้อกําหนดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้
  • มั่นใจว่ากระบวนการสามารถส่งมอบปัจจัยนําออกได้ตามความคาดหวัง
  • มีการรายงานสมรรถนะ โอกาสในการปรับปรุง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ระบบบริหารคุณภาพให้ผู้บริหารสูงสุด
  • มั่นใจว่ามีการส่งเสริมการมุ่งเน้นลูกค้าทั่วทั้งองค์กร
  • มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพได้รับการคงรักษาไว้ กรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารคุณภาพต้องมีการวางแผนและดําเนินการ

ในหมวด 5 ทั้งหมด การตีความและการนำไปปฎิบัติคือ การเตรียมข้อมูลทั้งหมดที่กำหนดไว้ ให้กับผู้บริหาร ปฎิบัติตามและเตรียมการสัมภาษณ์จากคณะผู้ตรวจประเมิน ส่วนการสื่อสารในด้านนโยบายคุณภาพ จะต้องใช้สื่อการสื่อสารภายในเช่นการขึ้นป้ายบ่งบอก การนำข้อความสื่อสารไปยัง Media ของบริษัท ตามเหมาะสม 

ISO 9001

EXECUTIVE SUMMARY

กระบวนการขอการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001 ได้ออก Version ใหม่เมื่อปี 2015 เพื่อทดแทน Version 2008 ซึ่งจะสามารถใช้ Version 2008 ได้ถึง ปี 2017 นี้เท่านั้น และสามารถขอการรับรองใน Version 2008 ได้ภายในปี 2016 จึงมีการอธิบายหัวข้อที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเพิ่มจาก Version เก่า จากการตีความเพื่อนำไปปฏิบัติจริง คือ

ข้อกำหนดที่ 4 บริบท องค์กร : องค์กรจะต้องทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ภายนอกขององค์กร โดยผ่าน SWOT Analysis

ปัจจัยภายในองค์กร เช่น เทคโนโลยีการผลิตรวมถึง เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ กำลังคน ความรู้ที่มีอยู่ แนวทางการบริหารงาน ลูกค้าและการตลาด การเงิน แหล่งการเข้าถึงการเงิน ผลิตภัณฑ์ในมุมมองลูกค้า

ปัจจัยภายนอกองค์กร เช่น กฎหมาย เทคโนโลยีแข่งขัน การตลาด วัฒนธรรม สังคม และสภาพเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น

ข้อกำหนดที่ 5 ความเป็นผู้นำ : การเตรียมข้อมูลทั้งหมดที่กำหนดไว้ ให้กับผู้บริหาร ปฎิบัติตามและเตรียมการสัมภาษณ์จากคณะผู้ตรวจประเมิน ส่วนการสื่อสารในด้านนโยบายคุณภาพ จะต้องใช้สื่อการสื่อสารภายในเช่นการขึ้นป้ายบ่งบอก การนำข้อความสื่อสารไปยัง media ของบริษัท ตามเหมาะสม


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924