Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Mass Customization จะเปลี่ยนแฟชันและอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น

Mass Customization กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่เพิ่มความสำคัญขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแฟชันหรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งจะช่วยแก้ไขเรื่องการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตในปริมาณที่เกินความจำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับแฟชันนั้นใช้ทรัพยากรของโลกจำนวนมหาศาล และสร้างก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 10% ในขณะที่สินค้าส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาอยู่ในคลังสินค้า และสินค้าส่วนเกินหรือไม่ได้มาตรฐานก็กลายเป็นวัสดุฝังกลบถมที่ส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

Mass Customization สำหรับวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นลูกค้าจะสามารถสั่งทำเสื้อ้าตามรสนิยมของตัวเองและวัดขนาดต่าง ๆ เพื่อก้าวข้ามปัญหาการผลิตเกินเพื่อเผื่อความต้องการของตลาด แต่ความท้าทายจะตกอยู่ที่โลจิสติกส์ในด้านวัสดุที่ลูกค้าแต่ละคนต้องการ ทำให้เกิด Lead Time ในการผลิต ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตยังไม่กล้าเข้ามาทำธุรกิจแบบ Mass Customization

แต่จากการศึกษาใหม่จาก UC Riverside พบว่าภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม Mass Customization สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าและลดความสูญเปล่าที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน ทั้งภาคการผลิต และ Service Operation Management หรือการจัดการด้านการบริการ

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบางส่วนเผยว่าลูกค้านั้นกำลังรอให้ตัวแทนบริษัทหรือผู้ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ขององค์กรไม่ว่าจะกลุ่มที่ผลิตจำนวนมาก Mass Production หรือ Mass Customization ออกมาแสดงถึงความรับผิดชอบด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แต่นั่นอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าการผลิตเกินเพื่อเผื่อสำหรับตลาดเป็นปัญหาจริง ๆ นอกจากนี้นโยบายจากภาครัฐในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการรีไซเคิลหรือการกำจัดทิ้งนั้นมีราคาแพงสำหรับองค์กรที่อยากสร้างความยั่งยืนอีกด้วย

ทีมวิจัยพบว่าหากสามารถโน้มน้าวให้ลูกค้าสามารถรอได้นานขึ้นอีกสักหน่อยสำหรับวัสดุสิ่งทอที่ต้องการปรับแต่ง ผลลัพธ์ของ Mass Customization จะเห็นได้อย่างชัดเจน ผลลัพธ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้วางนโยบายตั้งเป้าค่าใช้จ่ายในการกำจัดหรือการใช้งานโครงการรีไซเคิลไว้ในระดับสูงขณะที่ต้นทุนความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์เสื้อผ้าสองตัวอักษรสีแดงและหนึ่งสัญลักษณ์ที่เล่นกับแฟชันซึ่งมาไวไปไว จะสามารถลดการผลิตเกินความต้องการและลดต้นทุนที่เกิดจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้ เช่นเดียวกับแบรนด์หรูที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งทำให้การรรีไซเคิลกลายเป็นกำไรได้

ในบางกรณี ความต้องการที่ขัดแย้งของ Mass Production และ Mass Customization ทำให้เกิดการผลิตเกินได้เช่นกัน เช่น บริษัทผลิตผ้าเดนิมแบบจำนวนมากเพื่อผลิตกางเกงยีนที่ปกติจะขายหมดทุกฤดูกาล แต่เมื่อมีบางคนเปลี่ยนเป็นแบบ Custom หรือปรับแต่งได้ทำให้การผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้นและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมยิ่งแย่ลง สำหรับการผลิตแบบ Hybrid Mass Customization และ Mass Production ที่จะมีกำไรและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทต้องหาสมดุลระหว่างรูปแบบการผลิตทั้งสองให้ได้เสียก่อน

Mass Customization นั้นเป็นได้ทั้งผู้ช่วยและผู้ทำลาย กระบวนการนี้จะช่วยต่อเมื่อมีการผลิตเกินจำนวนมาก ในทางกลับกันหากการผลิตเกินไม่ใช่ปัญหาจริง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การผลิตที่เกินอยู่แล้วอาจเลวร้ายลงไปอีกจากเดิมก็ได้

ที่มา:
News.ucr.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
อนาคตใหม่ของการจัดเก็บข้อมูลระดับ Petabyte ด้วยการดัดแปลงสารเคมีในสายรหัสพันธุกรรม
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924