หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในยุคดิจิทัล คือ การที่ให้ผู้ผลิตเครื่องจักรเปิดระบบซอฟต์แวร์ให้ทำงานร่วมกับแบรนด์อื่นๆ หรือ จะต้องมีซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้กับเครื่องจักรไม่ว่าจะเป็นเครื่องจากผู้ผลิตใด อย่างหลังนี้ได้เกิดความพยายามสร้างโดยนักวิจัยจากประเทศเยอรมนี
Internet of Things ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ในด้านคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ด้านเครื่องจักร รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนก็ถูกเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน การเชื่อมเครื่องต่างๆ จากผู้ผลิตคนละบริษัทเข้าไว้ด้วยกันพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องยาก นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kaiserslautern ได้ค้นพบทางออกของปัญหานี้แล้ว โดยการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องใช้ต่างๆ จากต่างผู้ผลิตเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้ง ผู้ใช้ยังสามารถเลือกได้ว่าใครสามารถเข้าถึงได้ ระบบนี้เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมสำหรับบริษัท ที่พักอาศัยส่วนตัว ระบบจราจร และเทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีนี้ถูกจัดแสดงในบูธงานวิจัยของ State of Rhineland-Palatinate ในงาน Hannover Messe ที่จัดในเดือนเมษายน
ผู้ใช้สามารถเปิดเครื่องทำความร้อนหรือไฟฟ้าจากระยะไกลได้อย่างสะดวกสบายผ่านสมาร์ทโฟน ในขณะเดียวกัน เครื่องจักรก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างตัวช่วยต่างๆ ของการผลิตรถยนต์ นี่เป็นแค่ 2 ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องใช้เริ่มเชื่อมโยงถึงกันหลายทางได้อย่างไรบ้าง Internet of Things (IoT) เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว “จำนวนเครื่องใช้ที่เพิ่มขึ้นนั้นมีเครือข่าย และ IP Address ของตนเอง” Christopher Heinz นักศึกษาปริญญาเอกจากภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ Christoph Grimm ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มออกแบบของฝ่ายระบบกายภาพไซเบอร์ของมหาวิทยาลัย Kaiserslautern โดย IP ย่อมาจาก Internet Protocol และใช้แทนที่อยู่ของแต่ละเว็บไซต์
ในอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องใช้หลากหลายชนิดจะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในที่พักอาศัย เช่น เครื่องดูดฝุ่น กับเครื่องทำกาแฟ และตู้เย็น “ในปัจจุบันเครื่องใช้ต่างๆ จะต้องมาจากผู้ผลิตเจ้าเดียวกัน” Johannes Kolsch นักศึกษาปริญญาเอกอีกคนหนึ่งภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์กล่าวเพิ่มเติม “บริษัทต่างๆ เสนอทางออกผ่านเว็บไซต์ของตนเองเพื่อจุดประสงค์นี้”
นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 คนนี้ กำลังทำงานกับระบบซอฟต์แวร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้และเครื่องจักรจากต่างผู้ผลิต “เทคโนโลยีของเราคล้ายกับแนวคิดของปลั๊กพ่วงที่ใช้ในการต่อกับเต้าเสียบรูปร่างแตกต่างกันของแต่ละประเทศ” Kolsch อธิบาย ผู้เชี่ยวชาญเรียกสิ่งนี้ว่าการทำงานร่วมโดยคำศัพท์เฉพาะนี้อธิบายถึงความสามารถของระบบเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่หลากหลายเพื่อให้สามารถสื่อสารกันและสามารถจับสัญญาณที่แตกต่างกันได้ เป็นต้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kaiserslautern ต้องการจะเชื่อมต่อเครื่องใช้ต่างๆ โดยใช้ส่วนต่อประสานที่ควบคุมโดยซอฟต์แวร์ ระบบนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นทางออกที่ง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์พิเศษ หากลองนึกภาพเทคโนโลยีนี้จะถูกใช้กับเครื่องใช้บนเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในที่พักอาศัยส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต “แค่ลงทะเบียนเครื่องใช้ไว้ในระบบ” Heinz กล่าวต่อ ข้อดี คือ ผู้ใช้สามารถควบคุมได้ว่าใครสามารถสั่งการและใช้เครื่องใช้ได้บ้าง “ผู้ใช้สามารถให้สิทธิ์การใช้แก่คนอื่นๆ ได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ก่อนจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยล่าสุด” Kolsch กล่าว
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Vicinity’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปเป็นมูลค่าถึง 7.5 ล้านยูโร ศาสตราจารย์ Grimm ร่วมมือกับโครงการนี้ ใน Kaiserslautern โดยมีหุ้นส่วนจากยุโรปรวมทั้งสิ้น 16 ราย ในงานวิจัยนี้
Source:
- uni-kl.de