Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

พลิกโฉมการเก็บข้อมูลในทุกเสี้ยววินาทีของธุรกิจด้วย IIoT และเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุด

ในโลกที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความเข้มข้นในระดับสูง เทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนอย่างมากในการสร้างความต่อเนื่อง ความเป็นปึกแผ่น รวมถึงแสดงให้เห็นแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี เพื่อความโปร่งใสในการทำธุรกิจตลอดทั้งซัพพลายเชน ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต งานคลังสินค้าและโลจิสติกส์ งานขาย ไปจนถึงการบริการหลังการขาย กระบวนการเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำงานร่วมกับเซนเซอร์หรืออุปกรณ์อัจฉริยะคอยสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา และในการเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเทคโนโลยีเครือข่ายรุ่นใหม่อย่าง 5G ถือเป็นอีกส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้

กิจกรรมในการผลิตนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมากเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ ความเร็วการหมุนต่าง ๆ แรงกด อุณหภูมิ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีการใช้ต้นทุนที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเวลา กำลังคน ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษา การที่ไม่อาจสร้างความโปร่งใสเพื่อเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วนอาจทำให้เกิดความสูญเปล่า หรือพลาดข้อมูลสำคัญที่ส่งผลต่อธุรกิจได้ เช่น การใช้พลังงานเกินความจำเป็น การเกิด Downtime นอกแผนบ่อยครั้ง ไปจนถึงการผลิตของที่ไม่ได้คุณภาพและสินค้าอาจโดนปฏิเสธทั้งล็อตการผลิต

เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถเข้าถึงข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านครอบคลุมในทุกมิติ เซนเซอร์จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลหลากหลายรูปแบบ และถูกต่อยอดนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things ที่เป็นการนำอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Cloud หรือเซิร์ฟเวอร์ แต่การมีอุปกรณ์ IoT อย่างเดียวก็ยังไม่อาจสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดได้ ระบบเครือข่ายที่ถือเป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์และระบบทั้งหมดเข้าด้วยกันก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

IoT – IIoT ประตูสู่ความโปร่งใสและยกระดับประสิทธิภาพการผลิต

ประเทศไทยในปัจจุบันที่มีนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ออกมานั้นต้องยอมรับว่าผู้ผลิตส่วนมากอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วง 2.5 – 3 เท่านั้น แต่สภาพแวดล้อมสำหรับการแข่งขันในยุคนี้ทำให้ต้องเกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

จากมุมมองของ Paloalto Networks หนึ่งในพันธมิตรของ AIS 5G ให้ข้อมูลว่าประเทศไทยในปัจจุบันการเชื่อมต่อระหว่าง IT (Information Technology) และ OT (Operational Technology) นั้นเกิดขึ้นอย่างหลวม ๆ เช่น การที่ OT นั้นยืมพลังการประมวลผลของ IT จาก Cloud หรือผู้ให้บริการผ่านเครือข่าย การบูรณาการ IT และ OT นั้นเกิดขึ้นเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดี การเชื่อมต่อแบบหลวม ๆ นี้จึงเป็นก้าวแรกในการเปลี่ยนแปลงสู่การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบในเวลาต่อไป

สำหรับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้น เซนเซอร์ต่าง ๆ และอุปกรณ์ IoT เป็นอุปกรณ์พื้นฐานอันแสนสำคัญที่จะทำให้เกิดการทำงานและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้งาน IoT มากขึ้น TATA Consultancy Services (TCS) ได้ชี้ให้เห็นภาพของประโยชน์จากการใช้งาน IoT ในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

  • ประสบการณ์ของลูกค้า – IoT สามารถยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการเก็บข้อมูลการใช้งานหรือเสียงตอบรับเพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้ เช่น แอปพลิเคชันต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อัจฉริยะ
  • กระบวนการปฏิบัติงาน – IoT สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการได้อย่างชัดเจน ทำให้เข้าใจที่มาและที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทั้งยังสะดวกต่อการติดต่อย้อนกลับอีกด้วย
  • ซัพพลายเชน – สามารถมองเห็นเส้นทางของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่วัตถุดิบจนกระทั่งขึ้นชั้นวางสินค้า สามารถตรวจสอบทรัพยากรต่าง ๆ ล่วงหน้าเพื่อวางแผนจัดการได้อย่างแม่นยำ
  • แรงงาน – สนับสนุนองค์ความรู้ในการดำเนินงานเพื่อเติมเต็มทักษะที่ต้องการ เช่น การซ่อมบำรุงระยะไกล หรือใช้ในการฝึกฝนผ่านเทคโนโลยีจำลอง
  • สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี – ติดตามข้อมูลการทำงานของร่างกายเพื่อเฝ้าระวังสัญญาณบ่งชี้ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
  • ความยั่งยืน – การเข้าถึงข้อมูลได้ครบทุกมิติและการบริหารจัดการได้อย่างแม่นยำ ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้โดยปราศจากความสูญเปล่า นำไปสู่การเติบโตที่มีความยั่งยืน ทั้งธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
  • ความปลอดภัย – IoT สามารถใช้เป็นอุปกรณ์แจ้งเตือนที่มีความรวดเร็ว สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อนเกิดขึ้นได้ ทำให้ควบคุมความเสียหายโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

การใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุปกรณ์ระยะไกล การบริหารจัดการข้อมูลที่แม่นยำ หรือการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก ซึ่งในกรณีของ Thailand A.I. University Consortium ได้มีโครงการทดลองที่หลากหลายโดยเป็นการใช้งาน IoT บนพื้นฐานของโครงข่าย 5G อาทิ การควบคุมรถฟอร์คลิฟท์ระยะไกลข้ามจังหวัด การใช้หุ่นยนต์ในพื้นที่ติดเชื้อของโรงพยาบาล ใช้ AR ในการช่วยวางแนวทางการสอดท่อให้ผู้ป่วย เป็นต้น

สำหรับภาคการผลิต การใช้งานแพลตฟอร์ม IoT นั้นจะช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น 20% ลดความสูญเปล่าได้ไม่น้อยกว่า 3% และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานได้ถึง 10% ศักยภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะการเชื่อมต่อของ IIoT หรือ Industrial Internet of Things ซึ่งเป็น IoT สำหรับภาคการผลิตจะใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายไร้สายอย่าง WiFi หรือ 5G ที่มีความสะดวกในการปรับเปลี่ยนและใช้งานสูง หลายครั้งอาจพบว่าการเปลี่ยนการเชื่อมต่อระหว่างโหมด WiFi ด้วยกัน หรือ 5G กับ WiFi อาจไม่ลื่นไหลนัก ปัญหาการส่งข้อมูลที่ขาดตอนหรือการทำงานที่ผิดเพี้ยนจึงเกิดขึ้น ซึ่ง CISCO หนึ่งในพันธมิตรของ AIS 5G ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน OpenRoaming ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความลื่นไหลและต่อเนื่องในการเชื่อมต่อเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน

เมื่อมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเข้ากับระบบหรือแพลตฟอร์ม และเปิดทางเชื่อมต่อไปยัง Cloud หรือเซิร์ฟเวอร์ภายนอก เช่น การควบคุมการทำงานระยะไกล หรือการติดตามข้อมูลต่าง ๆ นอกจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสแล้วยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระบบอีกด้วย

5G + IIoT เทคโนโลยีที่คำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์

หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าอุปกรณ์ IoT หรือ IIoT ทั้งหลายนั้นไม่ได้มาพร้อมกับพื้นฐานของระบบความปลอดภัยทั้งหมด โดยเฉพาะพวกเซนเซอร์ OT ที่ไม่แสดงทราฟฟิกการใช้งานที่ละเอียดพอ จึงไม่อาจมองเห็นพฤติกรรมที่แปลกไป เช่น การฝังตัวของไวรัสต่าง ๆ ได้ และนำมาซึ่งปัญหาความเสียหายที่อาจลุกลามเป็นวงกว้างได้

Paloalto Networks ได้แบ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบเจอได้บ่อยออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ Malware, Ransomware, DDoS และ IoT Not-Net และสุดท้าย Spear Phishing ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้เครื่องจะไม่ได้รับการเชื่อมต่อกับระบบภายนอกหรือเครือข่ายใด ๆ ก็ตาม นโยบายทางการป้องกัน Perdue Model Security Recommendation (IEC 62443) จึงถูกนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยมีความท้าทายที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนี้

  • แนวทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับอุปกรณ์ OT รุ่นเก่า
  • ปัญหาการมองเห็นในเครือข่ายที่ไม่โปร่งใสชัดเจนพอ
  • พื้นที่สำหรับการถูกโจมตีที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนอุปกรณ์ในเครือข่าย
  • การหยุดยั้งภัยอันตรายรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย
  • การวางข้อกำหนดข้อบังคับที่รัดกุม
  • ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อทำการขยายระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการในการตอบโต้ภัยทางไซเบอร์จาก Purdue Model หรือ NIST Guidance เป็นแนวทางด้วยหลัก IPDRR ได้แก่ ยืนยัน (Identify), ปกป้อง (Protect), ตรวจจับ (Detect), ตอบสนอง (Respond) และการกู้คืน (Recover) และเพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวคิดเหล่านี้ได้ ระบบที่เกี่ยวข้องหรืออุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ จำเป็นจะต้องเข้าถึงและมองเห็นข้อมูลได้อย่างครบมิติ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์เชิงลึกและวางนโยบายตอบโต้ในระบบอัตโนมัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์และจำกัดวงความเสียหาย

การออกแบบระบบเหล่านี้เป็นการควบคุมและวางมาตรการของอุปกรณ์การใช้งานซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายที่ใช้งานอีกด้วย ในกรณีของเครือข่าย 5G ที่มาพร้อมกับ Edge Computing และ Private Network ทำให้รับประกันความปลอดภัยของเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีความปลอดภัยในการใช้งานระดับสูง ทั้งยังมีการสนับสนุนระบบประมวลผลอันทรงพลังที่จะช่วยเร่งความเร็วในการแก้ไขสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากความปลอดภัยทางไซเบอร์แล้ว ศักยภาพของ 5G ยังเอื้อให้เกิดความปลอดภัยในกระบวนการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย จากการรองรับการใช้งาน Massive IoT และ Mission Critical IoT ทำให้ 5G นั้นสามารถใช้งานกับอุปกรณ์จำนวนมหาศาลที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนานได้ เช่น เซนเซอร์เตือนภัยต่าง ๆ และสามารถใช้ในงานที่มีความแม่นยำหรือความเสี่ยงสูงได้ เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด หรือหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 ในกรณีของการสนับสนุนการทำงานระยะไกล NTT Docomo ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 5GEC หรือ 5G Global Enterprise Solution Consortium ได้แสดงตัวอย่างให้เห็นการใช้งานแว่นอัจฉริยะเพื่อระบุปัญหาแก้ไขการซ่อมแซมยานยนต์แบบ Real-time ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย โดยผู้สนับสนุนจะมองเห็นภาพความละเอียดสูงจากแว่นและสามารถระบุตำแหน่งภาพพร้อมสื่อสารการทำงานกับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการส่งต่อทักษะในการทำงานที่เกื้อหนุนให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัยภายใต้คำแนะนำของมือโปรอีกด้วย

 สำหรับผู้ที่สนใจการใช้งาน IoT/IIoT หรือเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติผ่านเครือข่ายไร้สาย 5G ที่มีความปลอดภัยสูง สามารถติดต่อ AIS 5G ผู้ให้บริการเครือข่ายเคลื่อนที่มือโปรที่มีความพร้อมในการให้บริการสำหรับภาคธุรกิจและการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคุณภาพสูง หรือพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมความต้องการ

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924