Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรม

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรม เสนอ รัฐช่วยบรรเทาผลกระทบ ด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 การปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรม

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 ในเดือนตุลาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน?” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า สถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในระดับปานกลางถึงมาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น 

ดังนั้นจึงเสนอขอให้ภาครัฐช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 การปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ดำเนินนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว

KR 4 AGILUS หุ่นยนต์ผู้ช่วยที่ดีในสายการผลิต หยิบวางประกอบอย่างแม่นยำ ติดตั้งได้ 360° | KUKA [SS]

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้

1.ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมระดับใด

อันดับที่ 1 : กระทบปานกลาง  49.3%

อันดับที่ 2 : กระทบมาก  38.0%

อันดับที่ 3 : กระทบน้อย  12.7%

2.ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน 

อันดับที่ 1 : นโยบายการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน  76.7% 

อันดับที่ 2 : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น  68.7%

อันดับที่ 3 : ความผันผวนของค่าเงิน และภาวะเงินบาทอ่อนค่า  53.3%

อันดับที่ 4 : อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาวในกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก  51.3%

3.ปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานของธุรกิจท่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับต้นทุนในการประกอบการ 

อันดับที่ 1 : ต้นทุนด้านพลังงาน 10 – 20% 46.0%

อันดับที่ 2 : ต้นทุนด้านพลังงาน น้อยกว่า 10% 24.0%   

อันดับที่ 3 : ต้นทุนด้านพลังงาน 30 – 50% 20.0%

อันดับที่ 4 : ต้นทุนด้านพลังงาน มากกว่า 50% 10.0%

4.แนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในเรื่องใด 

อันดับที่ 1 : ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น  88.0% 

อันดับที่ 2 : ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น 84.0% 

อันดับที่ 3 : เกิดภาวะเงินเฟ้อ และกระทบต่อกำลังซื้อ/การบริโภคของภาคเอกชน  34.0% 

อันดับที่ 4 : ขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน จากภาวะขาดแคลนพลังงาน  25.3% 

5.ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นอย่างไร

อันดับที่ 1 : ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564    66.0%

อันดับที่ 2 : ปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 56.7%      

อันดับที่ 3 : จัดสรรงบประมาณหรือใช้เงินกองทุน เพื่อชดเชยและตรึงราคาพลังงานทุกประเภท  54.0%      

อันดับที่ 4 : ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมัน LPG และ NGV 53.3%

6.ภาครัฐควรดำเนินนโยบายด้านพลังงานในระยะยาวอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวน 

อันดับที่ 1 : ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล  74.7%  

อันดับที่ 2 : ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 72.7%

อันดับที่ 3 : ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและความร้อน  64.0%

อันดับที่ 4 : ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า     44.0%

7.ภาคอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัวรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร 

อันดับที่ 1 : นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดและประหยัดพลังงาน 77.3%

อันดับที่ 2 : นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ ปรับแผนการผลิตและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน  73.3%      

อันดับที่ 3 : การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน หรือ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง เช่น Solar cell, Biogas, Biomass  71.3%

อันดับที่ 4 : สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและเทคนิคการใช้พลังงานอย่างประหยัด 59.3%

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924