Dow – วว. ลงนาม แก้ปัญหาขยะพลาสติกด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยี หนุนชุมชนต้นแบบ มุ่งขยายผลลดขยะอย่างยั่งยืน
เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในโครงการ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นำสู่การพัฒนาคุณภาพขยะพลาสติกในชุมชนอย่างยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมการนำผลงานการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาแก้ปัญหาขยะชุมชนและพลาสติกที่ใช้แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะรีไซเคิล รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแก้ปัญหา Downtime ถึง 20% สำเร็จได้อย่างไร? | Schneider
จากสถานการณปัจจุบันพบว่าปริมาณขยะในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นถึง 15% โดยปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ยจากวันละ 5,500 ตัน เพิ่มเป็น 6,300 ตันต่อวัน แต่สามารถนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้เพียง 23% เท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันขยะพลาสติกหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม และลดปัญหาการสะสมขยะในชุมชน รัฐบาลจึงได้มีเป้าหมายในการนำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล 100% ภายในปี 2570 เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระบบรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืน Dow และ วว. จึงได้นำความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กรมาบูรณาการร่วมกัน โดยจะนำความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และประสบการณ์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนของ Dow มาผสานกับองค์ความรู้ด้านทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของ วว. โดยเริ่มจากการต่อยอดในชุมชนต้นแบบที่ทั้งสององค์กรได้เคยดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ก่อนจะขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ในอนาคต
นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “ในสถานการณ์ที่โลกมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่มีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจะต้องนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ รวมทั้งต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เราสามารถใช้ทรัพยากรที่มีค่าได้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้ซ้ำได้เป็นวงจรไม่รู้จบ โดยเฉพาะพลาสติกใช้แล้ว โครงการนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ Dow ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้วคือ “การหยุดขยะพลาสติก” โดยเราตั้งเป้าจะผลักดันให้พลาสติกที่ใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิล ทั้งผ่านกิจกรรมที่ Dow ดำเนินการเอง และโครงการความร่วมมือ”
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “วว. และ Dow ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่ง วว. ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนให้เกิดเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy เพราะปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ไข หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการจัดการขยะชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบรอบสองที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้แก่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้ต่อไป”
- BLCP จับมือ วว.พัฒนาชีวมวลถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า
- DOW พัฒนานวัตกรรมดักจับก๊าซเรือนกระจกต้านโลกร้อน
- Dow เปิดตัวนวัตกรรมยืดอายุแบตเตอรี่รถ EV
- DOW เปิดศูนย์การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิตยุค 4.0
โครงการ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นำสู่การพัฒนาคุณภาพขยะพลาสติกในชุมชนอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างหลักในระยะ 3 ปีได้แก่
1. ยกระดับศูนย์คัดแยกพลาสติกใช้แล้วเพื่อพัฒนาร้านรับซื้อของเก่าและชุมชน โดยเน้นการจัดการพลาสติกใช้แล้ว รวมถึง เทคโนโลยีการแปรรูปขยะเศษอาหารและของเหลือทิ้งภาคการเกษตร โดยจะนำร่องที่ ชุมชนวังหว้า อ.แกลง จังหวัดระยอง
2. สร้างมาตรฐานพลาสติกรีไซเคิลโดยคิดวิธีการและเครื่องมือ เพื่อตรวจสอบและตรวจวัดคุณภาพพลาสติก เช่น การตรวจสอบความหนาแน่น / วิธีตรวจวัดโดยชุมชน
3. พัฒนาหลักสูตรด้าน “การจัดการขยะให้เป็นศูนย์” เน้นการจัดการองค์ความรู้ ด้านการจัดการขยะด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
4. พัฒนาการใช้เครื่องมือ online เน้นการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะ ที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการที่มีความพร้อมอย่างเป็นรูปธรรม และ
5. ถอดบทเรียนความสำเร็จการจัดการขยะชุมชนที่สำเร็จ เพื่อทำเป็นคู่มือสำหรับนำไปขยายผลในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
ความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะชุมชนและพลาสติกใช้แล้วอย่างมีส่วนร่วมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และจะนำไปสู่การขยายผลในชุมชนอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป