การพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในทุกเวลากลับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า นักวิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยี ARROW ที่ช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาจากสายไฟเบอร์ที่อาจเกิดปัญหาเพื่อให้ข้อมูลสามารถส่งได้อย่างต่อเนื่องได้
Wide Area Networks หรือ WAN เป็นกระดูกสันหลังของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในโลกปัจจุบัน ซึ่งเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับพันล้านเครื่องเข้าด้วยกันไม่ว่าจะบนภาคพื้นทวีปหรือใต้มหาสมุทร และในโลกยุค Covid-19 ที่การเชื่อมต่อนั้นกลายเป็นชิ้นส่วนสำคัญของเกือบทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะการเรียน การติดต่อธุรกิจ การซื้อขาย แม้กระทั่งการบำบัดรักษา และเมื่อสายสัญญาณเหล่านี้เกิดัญหาหรือระบบล่มสิ่งที่ตามมาเป็นเหมือนปัญหาที่ล้มครืนเหมือนโดมิโน ส่งผลกระทบเป็นทอด ๆ
นักวิทยาศาสตร์จาก MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) และ Facebook ได้พัฒนาแนวคิดที่จะยังคงรักษาระบบเครือข่ายเอาไว้ได้แม้ว่าไฟเบอร์จะเกิดปัญหาขึ้นทั้งยังลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย ระบบใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า ARROW โดยระบบใหม่นี้สามารถ Reconfigure หรือตั้งค่าใหม่สำหรับ Optical Light ได้จากการใช้งานสายไฟเบอร์ที่มีปัญหาเป็นการใช้งานสายที่อยู่ในสภาพดี การทำงานเหล่านี้ใช้อัลกอริทึ่มออนไลน์เพื่อวางแผนเชิงรุกสำหรับตัดสายที่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาก่อนเวลา โดยมีพื้นฐานมาจากความต้องการทางการจราจรของอินเทอร์เน็ตแบบ Real-time
แนวคิดของ ARROW นั้นเป็นเหมือนกับทางแพร่งที่ตัดกันระหว่างสองแนวคิด ได้แก่ ‘Failure-aware Traffic Engineering’ หรือการเฝ้าระวังความล้มเหลวของวิศวกรรมจราจร ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้เปลี่ยนเส้นทางของทรัพยากร Bandwidth ระหว่างที่สายไฟเบอร์ถูกตัด และ ‘Wavelenght Reconfiguration’ หรือการปรับความยาวช่วงคลื่นซึ่งเป็นการกู้คืนทรัพยากรของ Bandwidth ที่ล้มเหลวด้วยการตั้งค่าแสงใหม่
ARROW นั้นสามารถใช้งานเพื่อยกระดับศักยภาพขอการบริการ และเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตต่อปัญหาสายไฟเบอร์ขาด ในการทดสอบ ARROW สามารถองรับการจราจรข้อมูลได้มากกว่าระบบที่ใช้ทั่วไป 2 – 2.4 เท่าโดยไม่ต้องติดตั้งสายไฟเบอร์ใหม่เพิ่มในขณะที่ทำห้การใช้งานมีความเสถียรน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
แม้ว่าการผสมผสานนี้จะทรงพลัง แต่ทว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือ คณิตศาสตร์ที่ยากจะแก้ปัญหาได้ซึ่งเป็นผลจาก NP-hardness ใน Computational Complexity Theory หรือ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ
ที่มา:
News.mit.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
MIT จับมือ Ericsson วิจัยระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเคลื่อนที่ยุคใหม่