ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 อีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญก็คือ ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องปรับตัวในการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ทางสถาบันไทย-เยอรมัน ได้จัดงานครบรอบ 20 ปี สถาบันไทย-เยอรมันขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Evolving to the Industry 4.0’ วิวัฒนาการสู่อนาคต ซึ่งถือเป็นอีกงานที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ยุค 4.0 พร้อมทั้งมีกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ระบบตรวจสอบเครื่องจักรออนไลน์ และระบบโรงงานผลิต 4.0 (Smart Factory) และการสัมนาให้ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรม
คุณสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า จากนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้าด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยกับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็น ไทยแลนด์ 4.0 ในโอกาสที่สถาบันไทย-เยอรมัน ครบรอบการดำเนินงาน 20 ปี จึงได้จัดงานเปิดแผนยุทธศาสตร์ถึงแผนงานที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต หรือ New S-Curve เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยสถาบันฯ จะเพิ่มภารกิจบทบาทจากเดิมที่มุ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรให้แก่ผู้ประกอบการ ไปสู่การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอนาคตผ่านรูปแบบการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center) โดยจะสนับสนุนข้อมูลเพื่อการวางนโยบายและแผนสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robot and Automation Intelligence Unit) เพื่อไปช่วยผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น
ทางด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาฯ ก็ได้มาปาฐกถาในหัวข้อ ‘การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สู่ยุค 4.0’ ซึ่งแสดงวิสัยทัศน์ว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมียุทธศาสตร์และนโยบายขับเคลื่อนดังต่อไปนี้
การยกระดับสู่ประเทศไทย 4.0
ปี ค.ศ. | นโยบาย | เป้าหมาย |
2015 | Industry 2.0 | อุตสาหกรรมไทยที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน |
2020 | Industry 3.0 | ระบบการผลิตอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) |
2025 | Industry 4.0 | Thai Industries 2025 |
2030 | Thai Farming 4.0 |
1. เพิ่มผลผลิต 2 เท่าต่อพื้นที่เกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตร 2. ลดเกษตรกรภาคการเกษตรหลือ 1/3 ต่อพื้นที่ ซึ่งได้ผลผลิต 6 เท่าเกษตรกร 2/3 เข้าสู่ภาคการผลิตและภาคบริการ 3. ลดพื้นที่เพาะปลูกเดิมเหลือ 70% ของพื้นที่ และน าพื้นที่เพาะปลูกเดิม 30% มาปลูกป่าหมุนเวียนเพื่อเป็นวัสดุอุตสาหกรรม |
2035 | Thailand 4.0 | เป็นประเทศที่มีรายได้ประชากรในระดับสูง มีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจอย่างมั่งคง มั่งคั่ง ยังยืน |
นอกจากนโยบายการขับเคลื่อนจากภาคต่างๆ แล้ว ยังมีการสัมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ 4.0 ในหัวข้อ ‘Smart Factor for Industry 4.0’ โดย คุณสิทธิภรณ์ เมืองกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโรงงาน Smart Factory ซึ่งมีไฮไลท์น่าสนใจดังนี้
การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ INDUSTRY 4.0
- การเข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 เป็นวิสัยทัศน์ธุรกิจระยะยาว ต้องประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันและวางแผนคนให้สอดคล้องกับธุรกิจ
- การปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยนโครงสราง องค์กรทั้งเสริมจุดแข็งและแก้ปัญหาจุดด้อย เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันระยะยาว
- เทคโนโลยีใหม่ และนวัตกรรมไม่ มีสูตรสําเร็จ ต้องรู้จักเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ ลักษณะของอุตสาหกรรม ตลาด และ วัฒนธรรมขององค์กร
- เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม จะต้องเตรียมพร้อมด้วยการจัดทําแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและลักษณะการผลิตเพราะการนําเข้าเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งมีตนทุนตองพิจารณาอย่างรอบคอบ
- การพัฒนาคนคือหัวใจของการสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคตจึงตองการพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ ผูบริหาร รวมทั้งแรงงานใหมีทักษะและเป็นอัจฉริยะ (SMART EMPLOYEE)
ทักษะที่จําเป็นในอีก 5-10 ปี สาหรับ INDUSTRY 4.0
ทักษะที่จำเป็นในปี 2015 | ทักษะที่จำเป็นในปี 2020 |
1. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 2. การประสานงานกับผู้อื่น 3. การบริหารคน 4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5. การเจรจาต่อรอง 6. การควบคุมคุณภาพ 7. การให้บริการ 8. การตัดสินใจ 9. การฟังอย่างตั้งใจ 10. ความคิดสร้างสรรค์ |
1. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3. ความคิดสร้างสรรค์ 4. การบริหารคน 5. การประสานงานกับผู้อื่น 6. ความฉลาดทางอารมณ์ 7. การตัดสินใจ 8. การให้บริการ 9. การเจรจาต่อรอง 10. ความยืดหยุ่นด้านองค์ความรู้ |
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีแนวคิดแบบ Smart Think ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Smart factory ที่ช่วยบริหารการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสถาบันไทย-เยอรมัน และหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุน พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือ อบรม วางแผน และเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดพัฒนา รวมถึงมีแนวคิดจะสร้างเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต (Industry Development Network) ที่จะเกิดเป็นความร่วมมือในการบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะทำให้ผู้ประกอบการก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้