งานวิจัยจาก North Arizona University และ FEWSION Project แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายที่มีอยู่ในซัพพลายเชนเพื่อลดผลกระทบเมื่อเกิด Disruption ที่ทำให้ซัพพลายเชนเกิดการติดขัดหรือเกิดปัญหาขึ้น
จากเอกสาร Supply Chain Diversity Buffers Cities Against Food Shock ที่ใช้ Data Mapping เพื่อติดตามซัพพลายในประเทศสำหรับอาหาร น้ำ และพลังงานในระดับประเทศทัให้เห็นถึง Ecosystems ที่เกิดขึ้นในระบบโครงสร้าง สะท้อนภาพเช่นเดียวกันกับในธรรมชาตอที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะทำให้การปรับตัวเมื่อเกิด Disruption เกิดขึ้นได้
ความหลากหลายในซัพพลายเชนนั้นสามารถลดผลกระทบจาก Disruption ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ด้วยการกระจายความเสี่ยงและไม่พึ่งพิงยึดติดแหล่งทรัพยากรเพียงแหล่งเดียวหรือปริมาณน้อยอันเป็นการผูกขาดและเพิ่มความเสี่ยง
การศึกษาดังกล่าวได้มองลึกลงไปในประวัติศาสตร์เส้นทางอาหารของเมืองในสหรัฐอเมริกา เพื่อตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับความหลากหลายของซัพพลายเชนอาหารในแต่ละเมืองว่ามีความยืดหยุ่นเช่นไรต่อการขาดแคลนซัพพลายเชน ผลการศึกษาพบว่า 90% นั้นสามารถอธิบายการขาดแคลนอาหารได้โดยดูจากความหนาแน่น ระยะเวลา และความถี่ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น
โซลูชันที่ค้นพบนั้นสามารถนำชุมชนให้พัฒนาความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนรวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องได้ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันเมื่อระยะเวลาปีกว่า ๆ ที่ผ่านมาจากสถานการณ์ขาดแคลนซัพพลายเชนทั่วลกได้เกิดขึ้นรวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้เหตุการณ์ในระดับสากลยังทำให้ซัพพลายเชนอ่อนแอลงเป็นเวลาหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็นโลกาภิวัฒน์ของซัพพลายเชน ทำให้ผู้ผลิตในเอเชียเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการผลิตแบบ JIT และการกระจายสินค้าที่ลดการกักตุนสินค้าลง
ที่มา:
News.nau.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
จับตาภาวะฝืดเคืองซัพพลายเชนวิกฤติ COVID-19 หลังเดือนมีนาคม 2020