Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

จับตา…โมเมนตัมเชิงบวก เศรษฐกิจไทยครี่งหลัง ปี‘60

เศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 มีโมเมนตัมเชิงบวกต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2560 ขยายตัวได้ราว 3.5% สูงสุดในรอบ 5 ปี โดยได้อานิสงส์จากปัจจัยเกื้อหนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าโมเมนตัมที่เกิดขึ้นนั้นยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

จับตา…โมเมนตัมเชิงบวก เศรษฐกิจไทยครี่งหลัง ปี‘60

Mega Projects เริ่มดำเนินการ เม็ดเงินไหลเข้าระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในโครงการ Mega Projects หลายๆ โครงการเริ่มดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้เริ่มมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ประกอบกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้มีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว ในหลายๆ ส่วนเนื่องจากรัฐบาลต้องการผลักดันโครงการดังกล่าวนี้เป็นกลไกกระตุ้นความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติภายใต้นโยบายยุทธศาสตร์ Thailand 4.0

นอกจากนี้ ยังได้อานิสงส์จากกำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานรากที่ผลักดันให้การบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวได้ดีขึ้น โดยนอกจากผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอยู่ในระดับปกติแล้ว กำลังซื้อบางส่วนยังเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากโครงการรถยนต์คันแรกทยอยครบอายุถือครองทำให้ภาระการผ่อนชำระรถยนต์บางส่วนหมดไป ส่งผลให้เกิดอุปสงค์ใหม่ๆ ในการจับจ่ายใช้สอยทั้งสินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ

ภาคการส่งออกยังเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เครื่องยนต์หลักอีกตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างภาคการส่งออกก็ส่งสัญญาณกลับมาเป็นกลไกในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากยอดส่งออกหดตัวติดต่อกันถึง 3 ปี โดยจะเห็นได้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวเริ่มมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2559 และขยายตัวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องคาดการณ์ว่าสถานการณ์การส่งออกทั้งปีนี้มีความเป็นไปได้มากที่จะขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยตัวเลขการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก ที่มีการเติบโตถึง 5.7% สะท้อนถึงความหวังในการกลับมาของภาคการส่งออกที่จะเป็นหัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกก็เป็นแรงส่งสำคัญ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ซึ่งล่าสุด กองทุนกำรเงินระหว่ำงประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ปริมาณการค้าโลกปี 2560 จะขยายตัว 3.8% นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่การค้าโลกกลับมาขยายตัวสูงกว่า GDP โลก ปัจจัยดังกล่าวส่งผลเชิงบวกค่อนข้างมากต่อประเทศไทยที่พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง : ยังอยู่ในโมเมนตัมเชิงบวกต่อเนื่อง

เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 เติบโตต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก และจะมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2560 ขยายตัวราว 3.5% สูงสุดในรอบ 5 ปี

ปัจจัยสนับสนุน

  • เม็ดเงินในโครงการ Mega Projects เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
    รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ Motorway รถไฟทางคู่ และ EEC
  • การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น
    ราคาสินค้าเกษตรฟื้นตัว โดยเฉพาะยางพาราและข้าว
  • การท่องเที่ยวขยายตัวแข็งแกร่ง
    นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจีนและยุโรป
  • การส่งออกกลับมาเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
    หลายฝ่ายคาดว่าการส่งออกปี 2560 จะขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี

แนะ ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ที่ผู้ประกอบการยังต้องคำนึงถึง

ไม่เพียงเท่านี้ โมเมนตัมเชิงบวกส่วนหนึ่งยังได้รับการส่งสัญญาณมาจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออกที่กลับมาขยายตัวสูงขึ้น หลังจากที่อยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่องมา 3 ปีติดต่อกัน ยิ่งตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการส่งออกที่มีแนวโน้มสดใสก็ยังมี ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ที่ผู้อยู่ในแวดวงการค้าระหว่างประเทศต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในระยะถัดไป อาทิ

  • กระแส Protectionism ที่ยังคงคุกรุ่น แม้ว่าท่าทีของสหรัฐฯ ในการปรับขึ้นภาษีกับประเทศคู่ค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าจะผ่อนคลายลง แต่สหรัฐฯ อาจหยิบยกมาตรการที่มิใช่ภาษีมาเป็นเครื่องมือหลักในการลดการขาดดุลการค้าเป็นระยะๆ ได้
  • ภัยก่อการร้ายและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนสัญญาณเชิงบวกของการค้าโลกอยู่เป็นระยะ
  • อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนและยากที่จะคาดการณ์ จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอีกทั้ง เครื่องมือทางการเงินในปัจจุบันที่มีความหลากหลายขึ้น ทำให้เงินทุนระหว่างประเทศเคลื่อนย้ายรวดเร็วมาก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบมาถึงค่าเงินได้ ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

จับตา SMEs กลไกสำคัญสร้างเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง

ทั้งนี้ ท่ามกลางภาวการณ์ส่งออกในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มสดใส แม้จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังดังกล่าว แต่หากพิจารณาในมิติของผู้ประกอบการจะพบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในส่วนของ SMEs ที่เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญ เนื่องจากพบว่า SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดทั้งอาวุธและเกราะกำบังในการรุกตลาดต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ SMEs มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นเป็นลำดับ

จะเห็นได้ว่าสัดส่วน GDP ของ SMEs เติบโตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 38% ต่อ GDP ในปี 2550 มาอยู่ที่ระดับกว่า 41% ในปัจจุบัน อีกทั้ง SMEs ยังถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่จ้างแรงงานมากถึง 80% ของการจ้างงานทั้งประเทศ เท่ากับว่า SMEs เป็นแหล่งที่ช่วยทำให้การกระจายตัวของรายได้ของประเทศดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่า GDP ของ SMEs มีการขยายตัวสูงกว่า GDP รวมของประเทศ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า SMEs มีศักยภาพในการเติบโตค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการทั้งหมด อย่างไรก็ตามมี SMEs เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่กล้าออกไปต่างประเทศ เนื่องจากมูลค่าส่งออกของ SMEs มีเพียง 27% ของมูลค่าส่งออกของประเทศเท่านั้น ขณะเดียวกัน SMEs ยังอ่อนไหวต่อปัจจัยความไม่แน่นอนมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกของ SMEs ไตรมาส 1 ปี 2560 ที่หดตัว 13.5% สวนทางกับการส่งออกรวมของประเทศที่ขยายตัวได้ 3.1%

ทั้งนี้ นัยสำคัญที่ภาครัฐและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงและเร่งดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ก็คือ การปลดล็อกข้อจำกัดที่ผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะปัญหาหลักๆ อย่างปัญหาการขาดสภาพคล่อง การเผชิญกับเงื่อนไขการกู้เงินที่เข้มงวด ตลอดจนความกังวลถึงความเสี่ยงในการส่งออก ซึ่งต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ SMEs เป็นอีกหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคต

การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง :
ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง

การส่งออกทั้งปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวได้กว่า 3% สูงสุดในรอบ 6 ปี

ปัจจัยสนับสนุน

  • เศรษฐกิจโลก
    เพิ่มขึ้นทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่
  • ปริมาณการค้าโลก
    ขยายตัวมากกว่า GDP โลก ครั้งแรกในรอบ 5 ปี
  • ราคาน้ำมัน
    ขยับเพิ่มขึ้นจากอุปทานส่วนเกินที่บรรเทาลง
  • นำเข้า
    การนำเข้าสินค้าทุน/กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ปัจจัยเสี่ยง

  • Protectionism มากขึ้น
  • ความขัดแย้ง/ก่อการร้าย
  • อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

EXECUTIVE SUMMARY

The overall Thai’s economic for the half of 2017 has positive momentum continuously from the first half of 2017. This factor drive Thailand’s 2017 to be expanded by 3.5%, the best expanding in 5 years which is the advantage of private sector and government sector’s aiding, for example, the investment in various Mega Projects could begin in the second half of the year. The capital is increasing within the economic system and the East Economic Corridor (EEC) has been developing rapidly for various sector, including the exporting show a good sign once again after the exporting was shrink continuously for 3 days. The significant of GDP from SMEs has been expanded more than country’s GDP, it’s also represented SMEs potential that government sector should give a support and encouragement for SMEs to be a mechanic to drive Thailand’s economic.


Source:

  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
    https://goo.gl/3vujR5
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924