โลกการผลิตจริงในทางอุตสาหกรรมถูกเชื่อมต่อ Cyber Space ผ่านเครือข่ายออนไลน์และอินเทอร์เน็ตทั้งไร้สายและมีสาย จนได้ชื่อว่าเป็นยุค Internet of Things (IoT) ที่ไม่ใช่เพียงแค่สมองกลฝังตัวที่มีแต่ความสามารถในการคิดคำนวณ ประมวลผล และหาทางออกของปัญหาได้เองเท่านั้น หากแต่ยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อตัวเองเข้ากับโครงข่ายการสื่อสารต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
9 องค์ประกอบ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ก้าวสู่ ‘INDUSTRY 4.0’
- BIG DATA มีระบบ ICT ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน ซึ่งมาจากหลายๆ แหล่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจและลดการผลิตที่ผิดพลาดลงได้
- AUTONOMOUS ROBOTS ระบบอัตโนมัติจะสามารถส่งผ่านข้อมูลกันเสมือนหนึ่งสามารถคุยกันได้ผ่านระบบโครงข่าย (Network) ซึ่งอาจสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนลงช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้
- SIMULATION มีระบบการจำลองกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนเพื่อพยากรณ์การผลิตได้อย่างแม่นยำ เป็นการลดต้นทุน และลดเวลาในการผลิตจริงได้
- SYSTEM INTEGRATION กระบวนการเริ่มผลิตจนกระทั่งสินค้าถึงลูกค้า ทั้งในและนอกองค์กร จะถูก Link ด้วยระบบ IT อย่างเต็มศักยภาพเสมือนหนึ่งรวมทุกๆ ระบบเข้าด้วยกัน
- INTERNET OF THINGS ทุกๆ ระบบภายใต้ระบบ Industry 4.0 จะถูกเชื่อมโยงกันด้วยอินเตอร์เน็ต ที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับการทำงานเฉพาะจุดและการรวมข้อมูลการทำงานเข้าสู่ศูนย์กลาง
- CYBERSECURITY มีการเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและออกสู่ภายนอกองค์กร ดังนั้นความจำเป็นของระบบป้องกันข้อมูลด้านระบบ ICT จึงมีความสำคัญเป็นอย่างสูง
- AUGMENTED REALITY สามารถแสดงข้อมูลได้อย่างหลากหลายผ่านอุปกรณ์แสดงผลแบบพกพา เช่น ข้อมูลเครื่องจักร ข้อมูลคู่มือการทำงาน ข้อมูลขั้นตอนการซ่อมบำรุง ฯลฯ
- ADDITIVE MANUFACTURING เป็นระบบที่ต้องการสร้างผลผลิตตามความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงต้องมีการใช้ออกแบบระบบการผลิตเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
- THE CLOUD มีการใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก ที่ต้องใช้ร่วมกันทั้งในองค์กรเดียวกัน หรือเชื่อมโยงข้อมูลไปยังองค์กรภายนอก จึงมีความจำเป็นต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลด้าน ICT ที่ดี
|
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกวันนี้ เครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเชื่อมต่อและสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ตามมาตรฐานการส่งข้อมูลของประเภทอุปกรณ์นั้นๆ และแน่นอนอนาคตที่ล้ำสมัยของหุ่นยนต์ในแนวทางของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ก็อาจจะเข้ามามีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในไม่ช้า
เมื่อสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป เครื่องจักร ระบบไฟฟ้าและสภาพแวดล้อมต้องมีความพร้อม เพื่อรองรับการเป็นโรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องได้รับการยกระดับให้มีความพร้อม สามารถที่จะรองรับเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการผลิตได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรมยุค Industry 4.0 มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า Smart Device จำนวนมาก อาจส่งผลให้มีปัญหาด้าน Power Quality (Harmonics) เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ในแง่ของผู้ดูแลรับผิดชอบระบบไฟฟ้าควรมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์และแนวทางป้องกันอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อป้องกันปัญหาการเดินสะดุดของระบบไฟฟ้าเมื่อใช้งาน
EXECUTIVE SUMMARY
In present days, the machinery in industrial factory can be linked and transfer the information between the unit according to the transferring standard of that equipment and it’s leading to robot advance in artificial intelligence or so called AI which could take a part in manufacturing sector soon.
Source:
- เอกสารประกอบการบรรยาย โดย รศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์,
D.Eng. in Electrical Engineering, NIT, Japan
ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี