Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ครบรอบ 100 ปีหุ่นยนต์เปลี่ยนโลก! มองโลกผ่านประวัติศาสตร์ความฝันของมนุษย์

รู้หรือไม่ว่าคำว่า ‘หุ่นยนต์’ นั้นเพิ่งเกิดขึ้นในเพียง 100 ปี เท่านั้น และในช่วงเวลาเพียง 100 ปี นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในวงการหุ่นยนต์ แต่ 100 ปีนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? และตอนนี้หุ่นยนต์อยู่จุดไหนกันแล้ว?

หากมองย้อนไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีค.ศ. 1921 ผลงานการเปิดตัว R.U.R. (Rossum’s Universal Robots) ของ Karel Capek ใน Prague ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เกิดคำว่า ‘หุ่นยนต์’ ขึ้นและถูกแปลไปกว่า 30 ภาษา ซึ่งวิสัยทัศน์ของ Capek ที่ต้องการทาสของมนุษยชาติที่ไม่หือไม่อือ ไม่มีเจตจำนงเสรี ไม่มีการลุกขึ้นมาปฏิวัติหรือทำลายผู้สร้าง วิสัยทัศน์นี้ได้เปลี่ยนแปรและทำให้โลกของเราตกผลึกกลายเป็นมุมมองของระบบอัตโนมัติขึ้นมา

ในปี 1947 General Motors เริ่มใช้มีแผนกระบบอัตโนมัติเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาและยกระดับสายการผลิต ต่อมาในปี 1959 ได้มีการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต้นแบบ Unimate #001 เป็นครั้งแรกในสายการผลิตและเริ่มผลิตแบบจำนวนมากในปี 1961 ซึ่งเป็นฝีมือของ Joseph Engleberger หรือรู้จักในชื่อ ‘บิดาแห่งหุ่นยนต์’

หุ่นยนต์มาจากไหน?

การเข้ามามีบทบาทของชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์กับหุ่นยนต์เริ่มขึ้นในช่วงปี 1960 ที่แผงวงจร หน่วยความจำ และอุปกรณ์ควบคุมเกิดขึ้นกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ต่อมาในปี 1981 ระบบ SCARA (Selective Compliance Assembly Robot Arm) ก็ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นภายใต้ Mitsubishi ในปี 2000 HONDA ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ 2 ขาอย่าง ASIMO และอีก 11 ปีต่อมา APPLE ได้เปิดตัวผู้ช่วยอัจฉริยะอย่าง SIRI

ในเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมา นักคิดทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นนักเขียนนิยายหรือวิศวกรต่างมีส่วนช่วยในการพัฒนาแนวคิดที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ขึ้นมาอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Isaac Asimov กับกฎพื้นฐาน 3 ข้อของหุ่นยนต์

  1. หุ่นยนต์ไม่อาจทำร้ายมนุษย์หรือปล่อยให้มนุษย์เกิดอันตรายได้
  2. หุ่นยนต์ต้องทำตามคำสั่งที่ได้รับจากมนุษย์เว้นแต่ว่าคำสั่งนั้นจะขัดกับกฎข้อแรก
  3. หุ่นยนต์ต้องปกป้องการมีอยู่ของตัวเองตราบเท่าที่ไม่ขัดกันกับกฎข้อแรกและข้อที่ 2

แนวคิดดังกล่าวได้ส่งผลต่อหัวใจในการพัฒนาหุ่นยนต์และยังทำให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นอีกมากมายในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็นแวดวงวิชาการ หรือการส่งต่อแนวคิดผ่านหนังต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดวันล้างโลกและการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกอย่าง Terminator, 2001: A Space Odyssey, Chappy, Ghost in The Shell, Chobits หรือ Her เป็นต้น

100 ปีที่ผ่านมาหุ่นยนต์มาไกลแค่ไหน?

การเติบโตของวงการหุ่นยนต์นั้นเกิดขึ้นควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งหลาย มีงานวิจัยมากมายเกิดขึ้นภายใต้ความพยายามที่จะใช้หุ่นยนต์ตามแนวคิด Karel Capek มีการเสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Machine Vision ตลอดจนถึง AI หรือกระทั่งการใช้ Big Data ในการทำงานการผลิต ซึ่งในปัจจุบันก่อให้เกิดหุ่นยนต์แบบใหม่ขึ้นมา อาทิ Cobot ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ช่วยในการลำเลียงสินค้า หรือโดรนที่สามารถใช้ได้ทั้งงานด้านการตรวจสอบซ่อมบำรุง งานด้านการป้องกันและงานด้านการเกษตร

ปัจจุบันในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นบางแง่มุมที่เกิดขึ้นนั้นไปไกลเกินกว่านิยายเสียแล้ว และอาจไปไกลกว่าคนที่ศึกษาหุ่นยนต์จะตระหนักรับรู้ได้ ยกตัวอย่างในกรณี Heather Knight วิศวกร Social Roboticist หลักสูตรด้านหุ่นยนต์ Oregon State University เกิดตกใจที่เจอฝูงยานหาพหนะหกล้ออัตโนมัติคลืบคลานไปมาเต็มพื้นที่ในมหาวิทยาลัยซึ่งสร้างโดย Starship Robotics

“เราอยู่ในจุดที่แม้แต่คนในวงการหุ่นยนต์เองก็ไม่รู้ว่าจะมีหุ่นยนต์อยู่ในมหาวิทยาลัยเช่นกัน” – Heather Knight

หุ่นยนต์สมัยใหม่ถูกใช้ในงานสำรวจพื้นที่ห่างไกล หรือสำรวจหว่างดวงดาว แม้กระทั่งหุ่นยนตที่สามารถจำลองการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์ในการวิ่งหรือเต้น แม้กระทั่งการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสัตว์สี่ขาก็ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน

“ความแตกต่างจริง ๆ ระหว่างระบบอัตโนมัติในปัจจุบันและระบบอัตโนมัติเมื่อสมัย 50 – 60 ปีก่อน คือ การที่เราเพิ่มซอฟต์แวร์ลงไป” Mick Mountz

ปัจจุบันหุ่นยนต์อยู่ในหลากหลายกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริการ งานสำหรับการป้องกันความปลอดภัย งานคลัง หรืองานปลอดเชื้อในโรงพยาบาล เมื่อโลกเดินไปข้างหน้าหุ่นยนต์ก็จำเป็นที่จะต้องมีความฉลาดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ไมว่าจะเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย เซนเซอร์รูปแบบต่าง ๆ และใช้งาน Wi-Fi เพื่อการเชื่อมต่อ ทั้งยังเปลี่ยนจากการต้องทำงานในพื้นที่จำเพาะอย่างโรงงานมาเป็นการทำงานเคียงข้างผู้ค้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่อันตรายที่ห้ามมนุษย์เข้าถึง หากการเติบโตของหุ่นยนต์ทั้งสองกลุ่มในปัจจุบันยังคงอยู่ในทิศทางเช่นนี้ ในเวลาไม่นานหุ่นยนต์สำหรับงานบริการจะมีปริมาณมากกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

การมาถึงของหุ่นยนต์ได้กลายเป็นประโยชน์ทั้งต่อธุรกิจและผู้บริโภค ในขณะเดียวกันกลับกลายเป็นความท้าทายใหม่สำหรับแรงงาน หนึ่งในภาคส่วนที่มีการใช้งานหุ่นยนต์ด้านการบริการสูง คือ ภาคส่วนโลจิสติกส์ มีซอฟต์แวร์ การเชื่อมต่อ และเซนเซอร์ที่ช่วยกันทำงานร่วมกับมอเตอร์ กล่องเกียร์ แบตเตอรี่ และยางเพื่อสร้างความสามารถในการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการประยุกต์ขึ้น

ผลกระทบของหุ่นยนต์กับโลกปัจจุบัน

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เช่น ในกรณีของการรับมือต้านไวรัส COVID-19 จะพบว่าหุ่นยนต์มีบทบาทอย่างมากในการเข้ามาดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าการผลิต งานสนับสนุนในห้องทดลอง หรืองานบริการ

หุ่นยนต์นั้นมักถูกคาดหวังให้ลงมือทำเรื่องที่คิดว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ต้องลงมือทำซ้ำ ๆ ซึ่งส่งผลต่อการยศาสตร์ของมนุษย์ การทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต รวมถึงความคาดหวังในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพจากผู้ประกอบการ ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในสายการผลิตดั้งเดิม ตลอดจนเข้าใจถึงความคาดหวังและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานอย่างถ่องแท้เท่านั้น

เทคโนโลยีอัตโนมัติหลายอย่างได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ไม่ว่ายานยนต์อัตโนมัติอย่าง Waymo,Drone หรือ UAV ที่ใช้ในทางการทหาร ไปจนถึงการใช้งานในบ้านอย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่นหรือหุ่นยนต์ดินสอ ทำให้เห็นว่าหุ่นยนต์นั้นเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และแน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์นั้นไม่ได้นำมาซึ่งด้านดีเพียงอย่างเดียว

ในขณะเดียวกันระบบอัตโนมัติกลายเป็นหอกข้างแคร่ในความรู้สึกของผู้ใช้แรงงาน​ (Blue Collar) มาตลอด ตั้งแต่การเข้ามาแทนที่ในโรงงานและปัจจุบันเข้ามามีส่วนในงานบริการ จึงกลายเป็นผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการหดตัวทางเศรษฐกิจทำให้ผลประกอบการตกต่ำเกินกว่าต้นทุน เปลี่ยนบทบาทของระบบอัตโนมัติจาก ‘มีก็ดี’ เป็นความจำเป็นสำหรับบริษัทที่ต้อง ‘รัดเข็มขัด’

ตัวอย่างเช่นในปี 2019 นั้นมีหุ่นยนต์สำหรับโรงแรมถูกกำจัดทิ้งถึง 243 ตัวเนื่องจากทำให้แขกและผู้ร่วมงานนั้นมีความยากลำบากมากขึ้นกว่าเดิม ในปี 2020 Walmart ได้พับแผนที่จะใช้หุ่นยนต์กับการจัดวางสินค้าบนชั้นวางขายหลังพบว่ามนุษย์นั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อันที่จริงแล้วมีงานอีกมากมายที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าอยู่ยอกเหนือข้อจำกัดของหุ่นยนต์ทำให้ต้องจ้างมนุษย์มาเพื่อควบคุมงานจากระยะไกล

แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้แต่ระบบอัตโนมัติยังคงไม่ไปไหน ในระยะยาวนั้นระบอัตโนมัติจะเพิ่มผลิตภาพให้กับเศรษฐกิจและสร้างงานเพิ่มขึ้น ในระยะสั้นอาจหมายถึงการเลิกจ้าง การว่างงาน การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ การที่หุ่นยนต์เริ่มปฏิวัติให้สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะมากขึ้น สามารถพบเจอได้มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน บนท้องถนน บนอากาศ หุ่นยนต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยไม่รู้ตัว

จุดเริ่มต้นของหุ่นยนต์นั้นเริ่มมาจากความฝันของมนุษย์ หรืออาจจะเรียกให้ง่าย คือ ความต้องการสะดวกสบายโดยไม่รู้สึกผิดมนุษยธรรม หรือความต้องการทาสรับใช้ที่ไม่ทำให้รู้สึกผิดนั่นเอง

อ้างอิง:
Webhome.auburn.edu/~vestmon/robotics.html
Wsj.com/articles/on-the-100th-anniversary-of-robot-theyre-finally-taking-over-11611378002
Roboticsbusinessreview.com/news/infographic-the-evolution-of-robotics-and-automation/
Robotics.org/joseph-engelberger/unimate.cfm

บทความที่เกี่ยวข้อง:
บทสรุปหุ่นยนต์อุตฯ ปี 2020 และแนวโน้มหุ่นยนต์ในประเทศไทยปี 2021
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924