การระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้การทำงานหลายกิจกรรมต้องเปลี่ยนมาเป็นการทำงานจากภายนอก หรือการทำงานจากบ้าน แต่สำหรับงานในโรงงานแล้วอาจไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น งานคลังสินค้าและโรงงานจะสามารถเดินต่อไปได้จำเป็นต้องมีกิจกรรมเกิดขึ้นนทางกายภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตรงนี้เองที่หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดโอกาสให้ทำงานระยะไกลได้
ในหลายประเทศนั้นได้เกิดการ Lock Down พื้นที่ หรือจำกัดปริมาณผู้คนต่อหนึ่งพื้นที่เพื่อให้เกิด Social Distancing ขึ้นเพื่อความแลิดภัย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นถือไ้ดว่ามีความแออัดและเป็นพื้นที่อันตรายโดยพื้นฐานอยู่แล้ว การยกระดับความปลอดภัยเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสจึงกลายเป็นประเด็นที่พลิกโผนโยบายด้านความปลอดภัย
แนวคิดแบบโรงงานไร้แสงไฟ หรือ Light Out Factory เป็นแนวคิดสำหรับโรงงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มศักยภาพ ไม่ต้องการแสงสว่างหรือบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับแรงงานที่เป็นมนุษย์ในการผลิต โรงงานทั่วไปที่ใช้แรงงานนั้นไม่ใช่โรงงานไร้แสงไฟเนื่องจากมีมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญหลักในการทำงานจำเป็นต้องมีแสงไฟและมาตรการความปลอดภัยอื่น ๆ อีกมากมาย ในขณะที่โรงงานไร้แสงไฟนั้นสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงไม่จำเป็นต้องพัก เว้นแต่ต้องซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วน
ปัจจุบันมีตัวอย่างโรงงานอยู่มากมาย เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยนั้นเป็นโรงงาน ‘ไร้แสงไฟ’ การผลิตเหล่านี้ได้ประโยชน์จากการไม่มีแรงงานในโรงงาน ซึ่งแรงงานมนุษย์นี่เองที่เป็นแหล่งที่มาของการปนเปื้อนและการระบาดซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตโดยเฉพาะพวก Wafer
หนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตา คือ Digital Twins ซึ่งเป็นการใช้ดิจิทัลนำเสนอวัตถุกายภาพหรือระบบที่สามารถจำลองและติดตามระบบกายภาพที่เกิดขึ้นในเวลาที่เสมือน Real-Time สามารถสนับสนุนได้ทั้งการออกแบบ การปฏิบัติการณ์ และการซ่อมบำรุงทำให้สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัยละมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทำงานของ Digital Twins นั้นจะเป็นการรวบรวมข้อมูลจากระบบอัตโนมัติเพื่อจำลองความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเสมือนเป็นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ช่วยคาดการณ์และวางแผนบริหารจัดการต่าง ๆ ก่อนเกิดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้งาน Digital Twins ขยายขอบเขตออกไปในวงกว้างตั้งแต่อาคาร โรงงาน เมือง แม้แต่ผู้คนและกระบวนการก็สามารถใช้งานได้ ความนิยมของเซนเซอร์ IoT นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ Digital Twins เติบโตได้อย่างทุกวันนี้ การเก็บข้อมูลที่หลากหลายและมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันช่วยให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้อย่างหลากหลายมีความแม่นยำ ด้วยซอฟต์แวร์หลายชนิดและความสามารถการวิเคราะห์ทำให้ Digital Twins สามารถทำให้เกิดการใช้งาน IoT ได้อย่างเต็มศักยภาพ เช่นเดียวกับการช่วยฝ่ายออกแบบว่าพวกเขาควรออกแบบอย่างไร หรือจะต้องทำงานอย่างไรก่อนที่จะผลิตชิ้นงานจริงหรือชิ้นงานต้นแบบ
ยิ่ง Digital Twins ลอกเลียนวัตถุกายภาพได้มากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถจับต้องประสิทธิภาพและประสิทธิผลอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ในกรณีของการผลิต เครื่องจักรที่มีความซับซ้อนนั้นสามารถใช้ Digital Twins เพื่อทำความเข้าใจสถานะเครื่องจักรในปัจจุบันและดูข้อมูลต่าง ๆย้อนหลังได้ จึงสามารถคาดการณ์ศักยภาพในการทำงานในอนาคตได้ด้วยอีกเช่นกัน
Digital Twins อาจเปรียบเหมือนวิญญาณภายใน หรือสัญญาณไฟฟ้าที่มีรูปแบบเฉพาะเหมือนในสมองมนุษย์ ในขณะที่หุ่นยนต์และเทคโนโลยีอื่น ๆ เปรียบเสมือนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ การต่อสู้กับสถานการณ์ที่ยากลำบากในยุคปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีนั้นต้องคำนึงถึงความสามารถในการควบคุมโรคไปควบคู่กับประเด็นอื่นด้วย เทคโนโลยีการผลิตอย่าง Digital Twins, IIoT, เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์จึงกลายมาเป็นทางออกที่สามารถสร้างความยั่งยืนและปลอดภัยให้กับธุรกิจได้
อุปกรณ์ IoT หรือ IIoT สามารถช่วยระบุความหนาแน่นของคนในแต่ละพื้นที่ได้ ตลอดจนเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดกลายมาเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจและประเมินความพร้อมต่าง ๆ ผ่าน AI ที่สนับสนุนให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย
ที่มา:
Dqindia.com
บทความที่เกี่ยวข้อง:
6 เทรนด์การผลิต 2021 ที่ต้องจับตาจาก Forbes