Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

พาหนะน้ำมันเชื้อเพลิงสู่ EV ตลาดแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle หรือ EV ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่รัฐบาลกำหนดและยังเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ต้องเตรียมตัวรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ประเทศฝรั่งเศสที่มีนโยบายยกเลิกการขายยานพาหนะเชื้อเพลิงเบนซิน-ดีเซลภายในปี 2040

พาหนะน้ำมันเชื้อเพลิงสู่ EV ตลาดแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

สำหรับ EV ในประเทศไทย ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ เช่น Toyota, BMW, Mercedes และรายอื่นๆ อีกมากมายได้เริ่มจัดจำหน่ายยานยนต์ PHEV หรือยานยนต์ Hybrid โดยได้มีการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญจากต่างประเทศเพื่อนำมาประกอบยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้นสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทิศทางของเทรนด์ได้

สำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบในประเทศไทยนั้นผู้ผลิตอาจยังขาดประสบการณ์และเทคโนโลยี แต่ในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนเพื่อตอบสนองการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นจุดที่น่าสนใจ ซึ่งนอกเหนือจากชิ้นส่วนสำหรับซ่อมบำรุงยานยนต์แล้ว การผลิตชิ้นส่วนเพื่อรองรับการปรับแต่งยานยนต์จากยานพาหนะเชื้อเพลิงเบนซิน-ดีเซลสู่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อให้ร้องรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ในวันนี้ MM Thailand ขอพาทุกท่านรับชมตัวอย่างยานพาหนะที่ปรับเปลี่ยนการขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงสู่เทคโนโลยี EV ครับ

การดัดแปลงรถคลาสสิคอย่างรถเต่า (Volkswagen Beetle) ให้กลายมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถทำได้ไม่ยากเย็นอย่างที่หลายคนอาจจะกำลังกังวล ด้วยเสียงรบกวนที่น้อยกว่าและการประหยัดพลังงานที่ใช้ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบดีไซน์โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์รวมถึงการตอบรับกับทิศทางในโลกนับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่นิยมรถเก่า

ซึ่งในต่างประเทศนั้นได้ัมีกลุ่มที่ให้ความสนใจในการเปลี่ยนยานพาหนะคลาสสิคสู่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าอยู่มากมาย เช่น EV WEST ซึ่งวางจำหน่ายชุดแปลงรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ รวมถึงรถเต่า ที่มีราคาสูงถึง 7,299 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 250,000 บาท โดยในชุดประกอบด้วย มอเตอร์ ตัวควบคุม หน้าจอแสดงผลการทำงาน Shunt ตัวแปลงชุดเกียร์ ชาร์จเจอร์ ระบบระบายความร้อน ตัวควบคุมความเร็ว ตัวแปลงไฟกระแสตรง ตัวติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม

ซึ่งการใช้มอเตอร์ไฟฟ้านั้นไม่จำเป็นจะต้องมีแรงขับที่น้อยหรืออัตราการเร่งที่ช้าดังเช่นที่เชื่อกันมา ดังตัวอย่างคลิปวิดีโอด้านบนที่นำ BMW E36 มาปรับแต่งเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ปัจจัยเหล่านี้ขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนที่เลือกใช้ หากผู้ผลิตชิ้นส่วนมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองต่อการใช้งานได้จริงตอบโจทย์การใช้งานตามกลุ่มผู้ใช้ เช่น กลุ่มที่ใช้เพื่อการเดินทางในเมือง กลุ่มผู้ใช้สำหรับการแข่งขัน กลุ่มผู้ใช้สำหรับการเดินทางระยะไกล จะสามารถเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคแห่งยานยนต์ไฟฟ้าได้ในฐานะผู้นำตลาด

*สำหรับผู้ที่สนใจปเรียบเทียบความแตกต่างของชิ้นส่วนระหว่างยานพาหนะใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ไฟฟ้าสามารถอ่านเอกสาร(ภาษาอังกฤษ) ได้ที่นี่: https://goo.gl/rDSJrp

 

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924