Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

เทรนด์สำคัญสำหรับความั่นคงของธุรกิจอุตสาหกรรม 2020 จากมุมมองของ Deloitte

Deloitte บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังเปิดเผยเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการคาดคะเนภาพรวมอุตสาหกรรมปี 2020 ในชื่อ ‘2020 Manufacturing Industry Outlook’ ชี้ให้เห็น 4 เทรนด์สำคัญสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

หนึ่ง ‘โรงงานควบคุม’… หนึ่ง ‘ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน’ควบคุมการประหยัด พลังงานตามกฎกระทรวง

ในปี 2019 นั้นเริ่มต้นปีมาด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมแต่กลับพบว่าในเวลาต่อมาภาวะการชะลอตัวกลับขยายตัวโดยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาดัชนีซื้อ-ขายทั่วโลก นั้นตกลงมาต่ำกว่า 50.0 ส่อให้เห็นภาวะหดตัวในส่วนของวการจ้างงานเฉลี่ยนอยู่ที่ 6,000 ตำแหน่งต่อเดือนในขณะที่ปี 2018 นั้นมีการจ้างงานเฉลี่ย 22,000 ตำแหน่งต่อเดือนแต่ในภาพรวมจากการสำรวจข้อมูลพบว่า 67.9% ยังคงมีความหวังและ 32.1% เท่านั้นที่คิดว่าในปี 2020 ที่กำลังจะมาถึงนั้นภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ในสภาวะย่ำแย่

สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทด้านอุตสาหกรรมการผลิตมีความมั่นคงในปี 2020 นั้นมี 4 ปัจจัย ได้แก่

1. ยกระดับ Portfolio 

เมื่อองค์กรมีหน่วยงานหลากหลายและมีความแตกต่างสูงจงทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นระบบระเบียบเสียสำหรับบริษัทีท่มีประวัติมาอย่างยาวนานและมีโมเดลธุรกิจมากมายหลายหลากต้องมาโฟกัสกับหัวใจหลักของธุรกิจของบริษัทและจัดเรียงลำดับความสำคัญของกุญแจสู่ความสำเร็จของตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์และกลั่นจุดแข็งที่สำคัญออกมาบางบริษัทอาจควบรวมกิจการแยกหน่วยเขาครอบครองกิจการอื่นๆเพื่อทำให้บริษัทมีโครงสร้าง Portfolio ที่ชัดเจนและแน่นแฟ้นขึ้น

ในช่วงปลายปี 2019 นั้นพบว่ากิจกรรม M&A นั้นคลายตัวลงโดยครึ่งปีแรกพบว่ามีปริมาณกิจกรรมลดลงกว่า 30% เทียบกับปีก่อนหน้าถ้ามองในด้านดีจะพบว่ามูลค่าดีลที่เกิดขึ้นนั้นเพิ่มขึ้นสูงถึง 35% สะท้อนให้เห็นว่าดีลที่เกิดในกิจการอุตสาหกรรมนั้นถูกขับเคลื่อนด้วย Scale Transaction หรือธุรกรรมที่เพิ่มมูลค่าได้อย่างมากโดยให้ความสำคัญหลักๆกับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคและการขยายตัวทางภูมิศาสตร์

2. ให้ความสำคัญกับดิจิทัล

ธุรกิจในปัจจุบันกำลังผลักดันบริษัทอุตสาหกรรมให้สร้างกล้ามเนื้อดิจิทัล (Digital Muscle) การมาถึงของอุตสาหกรรม 4.0 กลายเป็นความท้าทายที่จะต้องก้าวให้ทันแรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นจากเส้นทางดิจิทัลบริษัทที่ได้รับความสำเร็จไปก่อนหน้านี้ล่วนกระหายในการค้นหาและลงทุนกับโลกดิจิทัลทั้งสิ้นอย่างไรก็ตามสถานะของแรงงานและการค้าในปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนในระดับการผลิตโลกซึ่งบริษัทีท่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่การใช้งานดิจิทัลได้สามารถสร้างความคล่องตัวและขยายตัวเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

การสร้างกล้ามเนื้อดิจิทัลเป็นหนึ่งในการยกระดับที่สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในซัพพลายเชนของโลกได้ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Cloud Computing, Advance Analytics, หุ่นยนต์และการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (AM) สามารถเพิ่มความสามารถในการจับต้องและความโปร่งใสของการทำงานทำให้การผลิตปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามตลาดหรือโอกาสที่เกิดขึ้น

ในส่วนของการจัดซื้อการนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาจากจีนลดลง 12.7% ใน 8 เดือนแรกของปีเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2018 การนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาจากเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 5.9%  และการนำเข้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้น 37.4% ในปีที่กำลังจะมาถึงขอให้ผู้ผลิตระวังเรื่องการบริหารจัดการซัพพลายเชนให้ดีไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัตถุดิบ เครื่องมือ หรือการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ยังคงคุกรุ่นอยู่อยู่ตลอดเวลาด้วยความไม่แน่นอน

3. จัดการกับระบบนิเวศน์ของซัพพลายเชน

ผู้ผลิตหันมาให้ความสำคัญกับการหาพันธมิตรสือบเนื่องจากแรงเหวี่ยงของดิจิทัลการสร้างความคล่องตัวในซัพพลายเชนนั้นจะต้องตระหนักเสียก่อนว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้เดี่ยวๆโดยหน่วยใดหน่อวยหนึ่งเท่านั้นมันจำเป็นต้องมีระบบนิเวศน์ที่แข็งแรงซึ่งจะเป็นกระดูกสันหลังที่สำคัญในการฝ่าสภาวะความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในปี 2020

ลำดับแรกเลยผู้ผลิตต้องสร้างพันธมิตรให้เกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ของตัวเองเพื่อให้ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายของธุรกิจตั้งแต่เรื่องที่ต้องทำเป็นพื้นฐานเช่นการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าไปจนถึงการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆเช่นสร้างโมเดลธุรกิจใหม่จากข้อมูลของ Deloitte พบว่าผู้ผลิตที่อยู่ในแนวหน้าของการใช้งานดิจิทัลนั้นมีการจัดการในส่วนนี้มากกว่าคู่แข่งเช่นมีการจัดการเกีย่วกับการสร้างพันธมิตรเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจแบบใหม่สูงถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ตามหลังและสร้างมูลค่าใหม่ให้กับลูกค้ามากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับรายอื่นๆนอกจากนี้สำหรับโรงงานอัจฉริยะยังพบว่าการสร้างพันธมิตรระหว่างระบบนิเวศน์ทำให้ก้าวนำคู่แข่งอื่นๆได้อย่างมากซึ่งรวมถึงการสร้างพันธมิตรกับซัพพลายเออร์ช่องทาต่างๆรวมไปถึงลูกค้าเพื่อผลักดันให้เกิด Productivity และผลลัพธ์ที่มากขึ้น

ลำดับที่สองการก้าวไปเป็นผู้ผลิตที่มีความลีนสูงนั้นต้องมองหาการขยายตัวของระบบนิเวศน์ที่มีเพื่อป้อนโอกาสให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทำให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ทางกลยุทธ์โอกาสใหม่ๆเหล่านี้รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ประยุกต์เข้ากับกระบวนการผลิตเดิมที่มีอยู่แล้วหรือสร้างกระบวนการที่ทำให้ลูกค้าเกิดอาการ ‘ติดใจ’ จากข้อมูลของ Deloitte พบว่า 1 ใน 4 ดีลที่เกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมสำหรับช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาจะนำไปสู่จุดยืนสำหรับคุณค่าทางดิจิทัลและความกระหายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเป็นเดือนเลยทีเดียว

4. สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้ผลิตนั้นกำลังเปลี่ยนผ่านสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียนความรับผิดชอบต่อส่วนรวมหรือการแสดงออกถึงหน้าที่ที่มีต่อสังคมนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับโมเดลธุรกิจและเป็นการสร้างเสียงตอบรับที่ดีไปด้วยในตัวจากข้อมูลของ Deloitte พบว่า 1 ใน 4 ของผู้ผลิตนั้นเป็น Social Supers หรือองค์กรที่ใส่ใจกับสังคมองค์กรเหล่านี้พร้อมปรับหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของตัวเองให้มีผลกระทบที่ดีขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและแน่นอนเป็นคนดีได้อะไรมากกว่าที่คิดกว่า 40% ของ Social Supers บอกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังช่วยให้ธุรกิจนั้นสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

Social Supers มักแสดงให้เห็นการดำเนินการตามคำมั่นสัญญาผ่านกระบวนการผลิตเช่นลดคาร์บอนเพื่อเพิ่มความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมจากการทำธุรกิจของตัวเองจากข้อมูลของ Deloitte พบว่า 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในระยะเวลา 5 ปีที่กำลังจะมาถึงนอกจากการลดคาร์บอนและผลกระทบทางสังคมแล้ว 1 ใน 3 ของผู้ผลิตเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีการใช้พลังงานที่หลากหลายไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและสามารถลดต้นทุนได้อีกด้วย

ภาคอุตสาหกรรมจะฝ่าพายุในปี 2020 ได้อย่างไร?

ในขวบปีที่กำลังจะมาถึงนี้มีสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับสภาพแวดล้อมของเหล่าผู้ผลิตครั้งใหญ่เนื่องจากความไม่แน่นอนขึ้นๆลงๆของต้นทุนรวมถึงนโยบายภาครัฐที่ไม่มั่นคงในขณะที่ความไม่แน่นอนนั้นสามารถมองเห็นได้อย่างแจ่มชัดในอนาคตผู้ผลิตชั้นนำควรเพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการดำเนินการและเดิมพันให้หนักกับการปรับ Portfolio ขององค์กรเพื่อสนับสนุนการเหล่านี้ต้องสร้างกล้ามมเนื้อดิจิทัล (Digital Muscle) ให้ครอบคลุมทั้งซัพพลายเชนทำให้เกิดพันธมิตรขึ้นในระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ของการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายของธุรกิจและแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรผู้ผลิตชั้นนำสามารถเริ่มกระบวนการเหล่านี้ได้ด้วยการตรวจสอบเครือข่ายซัพพลายที่มีในปัจจุบันและตัดสินใจว่าจะสร้างความคล่องตัวให้เกิดขึ้นในระบบได้อย่างไรรวมถึงการเพิ่มเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำให้เกิดความโปร่งใสและมองเห็นจับต้องได้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนความสามารถในการผลิตและบริหารทรัพยากรที่ยืดหยุ่นตามความจำเป็น

ที่มา:
2020 Manufacturing Industry Outlook (Deloitte)

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924