จากการศึกษาข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ในวารสาร Environmental Science & Technology พบว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติเกรดที่ใช้สำหรับผู้บริโภคนั้นมีการปลดปล่อยอนุภาคที่สร้างผลกระทบด้านลบให้กับอากาศในพื้นที่ปิด
จากการศึกษาของทีมวิจัยจาก Georgia Institute of Technology และ UL Chemical Safety ได้เก็บตัวอย่างอนุภาคที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติและทดสอบผลกระทบกับเซลล์จากระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบในอัตราที่มีความเข้มข้นสูง แสดงให้เห็นว่ามีสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจซึ่งเกิดขึ้นจากอนุภาคของเส้นพลาสติกที่ใช้ป้อนให้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งการศึกาานี้ตั้งใจศึกษาลักษณะเฉพาะของอนุภาคที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องพิมพ์ภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุมและตรวจสอบปริมาณของสารที่ถูกปล่อยออกมาอย่างละเอียดเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
การทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติพลาสติกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการหลอมละลายเส้นใยพลาสติกซึ่งจะถูกปล่อยออกมาจากหัวฉีดเพื่อสร้างชิ้นงาน จากการศึกษาในช่วงต้นพบว่ายิ่งใช้ความร้อนในการหลอมละลายเส้นใยมากเท่าไหร่ สารพิษที่ถูกปล่อยออกมามีมากขึ้นตามความร้อนนั้น ๆ
สำหรับการทดสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางเดินหายใจนั้นได้รับความร่วมมือจาก Weizmann Institute of Science ประเทศอิสราเอล แสดงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และหนูทดลอง โดยอนุภาคจาก PLA นั้นมีความเป็นพิษมากกว่าวัสดุ ABS
เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่นิยมใช้งานกันจำนวนมากหรือเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะนั้นถือเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่ายซึ่งผู้ผลิตขนาดเล็กหรือ SME สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน แต่สำหรับการใช้งานในพื้นที่ปิดหรือในอาคารนั้นทางผู้วิจัยมีคำแนะนำดังนี้
- ใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติในพื้นที่ที่มีอากาศหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตั้งค่าอุณหภูมิหัวฉีด 3 มิติให้ต่ำกว่าคำแนะนำการใช้วัสดุพลาสติกสำหรับพิมพ์
- ยืนให้ห่างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่กำลังทำการผลิต
- ใช้เครื่องพิมพ์และวัสดุที่ได้รับการทดสอบและยืนยันว่ามีการปลดปล่อยสารพิษน้อย
ที่มา:
News.gatech.edu