กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน สนับสนุนให้สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนิน ‘โครงการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงานระยะที่ 2 (Enhancement and Encouragement of Logistics and Transport Management Application; LTMA2)’ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยการศึกษาข้อมูลกระบวนการขนส่งของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ และทำการพัฒนาโปรแกรมที่มีส่วนฟังก์ชั่นต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารงาน โดยโปรแกรมจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งเพื่อให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบงานและการใช้พลังงานในการขนส่งของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอกาสนี้ คุณธิบดี หาญประเสริฐ ประธานคณะทำงานโครงการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน ได้เปิดเผยว่า การบริหารจัดการพลังงานของผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยปัจจุบัน ส่วนใหญ่นั้นยังขาดเทคโนโลยีที่ช่วยในการบริหารงานและเก็บข้อมูลต่างๆ ในการขนส่ง ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและลดการใช้พลังงานให้กับผู้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย ประกอบกับสัดส่วนรถบรรทุกวิ่งเที่ยวเปล่าที่มีค่อนข้างสูงในปัจจุบัน และในอนาคตที่จะมีปริมาณการใช้ยานยนต์เพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีจำนวนรถวิ่งเที่ยวเปล่าและการสิ้นเปลืองพลังงานในภาคการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขนส่ง รวมถึงส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรการขนส่ง และหาแนวทางลดการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) เพื่อลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง
“โครงการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน (Enhancement and Encouragement of Logistics and Transport Management Application ;LTMA2) เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขนส่งด้วยระบบสารสนเทศใน ภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรม ได้มีโอกาสใช้โปรแกรมที่มีความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของตน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและลดการใช้พลังงานในการขนส่ง รวมถึงจะมีการจัดทำระบบ Backhaul ในการลดการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) นอกจากนั้น จะมีการจัดทีมที่ปรึกษาเข้าไปยังสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน และแนะนำวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมถึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ เพื่อหามาตรการที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน และแนะนำให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงในมาตรการต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคการขนส่ง”
อย่างไรก็ตาม คุณธิบดีมองเห็นความสิ่งสำคัญและแนวทางของการพัฒนาระบบการขนส่งในประเทศไทยที่จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ นั่นคือ การวิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งเพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยปัจจุบันผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมส่วนมากเป็นผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งยังขาดเทคโนโลยีที่จะช่วยในจัดการระบบงานขนส่งและเก็บข้อมูล ทำให้ไม่สามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาระบบบริหารงานและลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงานในปี 2558 – 2579 ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดการใช้พลังงานของประเทศคิดเป็นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานในปี 2553
“สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงานในประเทศไทยการวางโครงสร้างและเป้าหมายของโครงการฯ ในอนาคตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่งตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ของกระทรวงพลังงาน และแนวคิดในการศึกษาข้อมูลการขนส่งสินค้าในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Hub & Spoke) และระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi Modal Transport) ซึ่งในอนาคตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและลดการใช้พลังงานในสาขาขนส่งได้เป็นอย่างมาก”
นอกจากนี้ คุณธิบดียังได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการฯ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันนั้น ได้มีการศึกษาข้อมูลกระบวนการขนส่งของผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมทั้ง 5 คลัสเตอร์ และได้ขยายผลการใช้งานโปรแกรมไปยังผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม โดยจัดอบรมการใช้งานโปรแกรมให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้ทราบถึงหลักการใช้งานโปรแกรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานขนส่งของบริษัทให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นได้ส่งเสริมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อลดการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) จำนวน 1 กลุ่ม ซึ่งจากการดำเนินงานภายใต้โครงการสามารถประหยัดพลังงานเฉลี่ยรวมกันของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการถึง 6%
“โครงการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน (Enhancement and Encouragement of Logistics and Transport Management Application ;LTMA2) จะมุ่งเน้นในการพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมฯ รวมถึงจัดทำระบบ Backhaul เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารงานขนส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมจำนวน 5 คลัสเตอร์ ดังนี้
- กลุ่มสินค้าทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าบริโภค เป็นต้น
- กลุ่มผลิตผลการเกษตร เช่นข้าว ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ยางพารา เป็นต้น
- กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เป็นต้น
- กลุ่มอาหาร เช่น อาหารสด อาหารแปรรูป และอาหารแช่แข็ง เป็นต้น
- กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย แร่ธาตุ เป็นต้น”
อย่างไรก็ตาม คุณธิบดี กล่าวว่าการพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมฯ ให้ครอบคลุมผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) เพื่อขยายผลการใช้งานโปรแกรมฯ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่จะนำไปสู่การรวมสินค้าเข้าด้วยกัน ในการจัดส่งทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ (Backhaul) อันจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานในการขนส่งได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจากผลการพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมดังกล่าว สถาบันพลังงานฯ จึงจัดให้มีการสัมมนาในวันนี้ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งในประเทศไทย พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานและลดการใช้พลังงานในสาขาขนส่ง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ต่อไป
“เป้าหมายของโครงการฯ คือ จัดทำโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดการใช้พลังงานในการขนส่ง สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขนส่งด้วยระบบสารสนเทศในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์พลังงานในระบบการขนส่ง และจัดทำระบบ Backhaul เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆ ในการลดการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) รวมถึงการเผยแพร่ความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงในมาตรการที่มีความพร้อม และทำให้เกิดการประหยัดพลังงานภายใต้โครงการฯ”
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริษัทขนส่งสินค้า หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ (มีรถขนส่งเป็นของตนเอง หรือมีบริษัท Outsource ที่สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานโปรแกรมได้) สามารถแจ้งความประสงค์และติดต่อเพื่อขอสิทธิในการใช้งานโปรแกรมฯ ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยสมัครใช้งานได้ที่เว็บไซต์ www.thailtma.org และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 02-3451255-56
โครงการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ คือ
- ผู้ประกอบการภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการฯ มีโอกาสใช้งานโปรแกรมที่มีความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของตน สำหรับการบริหารงานขนส่งและเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและลดการใช้พลังงานในการขนส่ง
- ผลการศึกษาจากการสร้างเครือข่ายต้นแบบในการลดการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดส่งสินค้าเที่ยวเปล่า (Backhaul) ที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้และคำแนะนำในมาตรการประหยัดพลังงานต่างๆ และนำไปปรับปรุงเพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่งของตนเองได้
- ผู้ประกอบการสามารถช่วยลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง จากการปรับปรุงในมาตรการต่างๆ รวมถึงสามารถนำแนวทางต่างๆ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งโดยรวมได้ต่อไป
EXECUTIVE SUMMARY
Energy Conservation Fund (ENCON Fund), Ministry of Energy supports The Institute of Industrial Energy, The Federation of Thai Industries to operate the project ‘Enhancement and Encouragement of Logistics and Transport Management Application; LTMA2’. For a moment, it has been developed energy saving for logistics management program which collect the information from participant and develop the function to improve management efficiency. The program collects the logistics information for the entrepreneur to analyze and create a path way to improve working system and efficient energy use.