การคัดกรองมะเร็งในปัจจุบันยังถือเป็นเรื่องที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสมัยก่อน และด้วยความสามารถของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุที่มีความละเอียดสูงทำให้สามารถคัดกรองเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดได้แล้ว
การคัดหาเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดนั้นเป็นเรื่องที่ยากเย็นราวกับงมเข็มในมหาสมุทร เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์นั้นมีมากมายหลายล้านเซลล์ และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากการพิมพ์ 3 มิติสามารถดักจับเซลล์ได้แล้ว ซึ่งเหล่านักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology ใช้ความก้าวหน้านี้ในการเปิดเผยเซลล์มะเร็งในร่างกาย
การดักจับเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งจะทำการกรองเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและเหลือไว้แต่เซลล์เนื้อร้าย ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อยอดในการวิเคราะห์โรคร้ายอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ
การคัดแยกเซลล์มะเร็งโดยทั่วไปจะเป็นการสกัดเลือดโดยใช้เทคโนโลยี Microfluidic ที่สามารถจดจำลักษณะเฉพาะของพื้นผิวเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะเฉพาะได้ แต่เซลล์มะเร็งนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลารูปแบบที่เกิดขึ้นจึงอาจมีความคลาดเคลื่อน และต้องนำมาคัดแยกโดยไม่ให้เกิดความเสียหายอีกครั้งหนึ่ง
แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้สร้างแนวดักเซลล์ได้ด้วย Antigen เพื่อจับเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยสามารถเพิ่มพื้นที่ผิวในการดักจับตัวอย่างได้ผ่านการเคลื่อนที่ซิกแซกในช่องถ่ายโอนของเหลว โดยปรกติแล้วอุปกรณ์ Microfluidic มักมีชั้นดักจับเพียงชั้นเดียวและมีความสูงเพียง 50 – 100 ไมครอน ในขณะที่การผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นทำให้ช่องทางไหลผ่านมีความหนาแน่นขึ้นได้เพราะการผลิตรูปแบบนี้เป็นการผลิตแบบ ชั้นต่อชั้น ทำให้สามารถออกแบบพื้นที่ดักจับให้ละเอียดขึ้นได้ แม้ว่าหลังการผลิตจะมีสารเคลือบติดอยู่ตามพื้นผิว แต่สามารถใช้สารละลายเพื่อละลายสารเคลือบนั้นและทำให้ช่องทางเดินเลือดนี้เคลือบด้วย Antigen แทนได้
ที่มา:
Sciencedaily.com