การใช้สารหล่อลื่นที่ผิดประเภท ไม่เหมาะสมกับเครื่องจักร รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสารหล่อลื่นต่าง ๆ สามารถสร้าง Downtime และนำมาซึ่งความสูญเสียจำนวนมากได้ แล้วข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเพราะเลือกใช้สารหล่อลื่นนั้นมีอะไรบ้าง?
การใช้งานการเครื่องมือที่มีการเคลื่อนที่แนวตรง (Linear Motion) อุปกรณ์นำ รวมถึงลูกปืนต้องการสารหล่อลื่นที่เหมาะสมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในกรณีที่มีความผิดพลาดเกี่ยวกับสารหล่อลื่นที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นอะไรได้บ้าง?
การใช้สารหล่อลื่นผิดประเภท
การระบุชนิดสารหล่อลื่นที่เหมาะสมกับหน้าที่ที่ใช้งานอาจเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เนื่องจากต้องเข้าใจถึงรูปแบบการใช้งานและคุณสมบัติเชิงกล ซึ่งสารหล่อลื่นที่สามารถเลือกใช้ได้มีหลากหลายอย่างมาก
ในกรณีของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่แนวตรง การเลือกใช้สารหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสมทำให้วงจรอายุการใช้งานนั้นสั้นลง (ในกรณีที่ดีที่สุด) หรือเกิดความล้มเหลวทั้งระบบในกรณีร้ายแรงที่สุด การเลือกใช้สารหล่อลื่นควรเป็นไปตามคู่มือแนนะนำ การเลือกใช้ชนิดที่นอกเหนือจากการแนะนำอาจทำให้คุณภาพลดลงได้ อย่าใช้สารหล่อลื่นประเภทแห้ง (PTFW หรือผงกราไฟต์) กับลูกปืนที่เป็นลูกปืนหมุนเวียน (Recirculating Ball) หรือลูกกลิ้ง แต่สารหล่อลื่นประเภทนี้เหมาะสำหรับการเคลื่อนที่แบบสไลด์จะช่วยลดการสึกหรอลงได้
โดยทั่วไปแล้วสารหล่อลื่นยิ่งมีความหนักมากยิ่งสามารถป้องกันการปนเปื้อนได้ หมายความว่าจาระบีมีความสามารถในการปกป้องมากกว่าน้ำมัน อย่างไรก็ตามความสมดุลในการใช้งานถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากต้องใช้ในงานที่ต้องสัมผัสกับฝุ่น ผง หรือการปนเปื้อนอื่น ๆ การใช้จาระบีควรเป็นตัวเลือกแรกในการใช้งาน เนื่องจากจาระบีมีอายุยืนยาวทำให้เหมาะสมกับการทำงานที่ต้องการการซ่อมบำรุงที่ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตามจาระบีนั้นไม่อาจทำงานที่ต้องการความเร็วและมีอุณหภูมิสูงได้ดีเท่ากับน้ำมัน ความหนืดของน้ำมันจะลดลงอยากรวดเร็วเมื่อใช้งานในขณะที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น เมื่อเลือกใช้น้ำมันควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างใช้งานจริง ความหนืดจะต้องพอเพียงที่จะสร้างแผ่นฟิล์มบาง ๆ เพื่อป้องกันอัตราการเฉือนที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้งานแต่จะต้องไม่จากจนเกิดแรงเสียดทานที่มากเกินไป
การละเลยการซ่อมบำรุง
การปล่อยให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เสียหายแล้วค่อยมาซ่อมนั้นไม่ใช่การทำงานที่ดี สิ่งที่เกิดขึ้น คือ Downtime นอกแผนการที่ทำให้เกิดความสูญเสียกับ Productivity ตารางการเปลี่ยนถ่ายสารหล่อลื่นสามารถป้องกันเหตุเหล่านี้ได้ด้วยการยืดอายุลูกปืน รวมถึงมีโอกาสได้ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนเคลื่อนที่ตามระยะอีกด้วย การวางแผนสำหรับงานหล่อลื่นนั้นเป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานตามคู่มือ การตรวจสอบด้วยสายตา การติดตามสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ และสถานะของอุปกรณ์
การตรวจด้วยสายตาถือเป็นปราการด่านแรกในการป้องกัน Downtime เริ่มด้วยการตรวจช่องเดิน (Raceway) และเพลา (Shaft) ว่ามีอะไรติดขัดตรงกันหรือไม่ มีฟิล์มบาง ๆ ที่เกิดจากสารหล่อลื่นเคลือบไปทั่ว หรือมีปริมาณมากเกินกว่าความจำเป็น ประสิทธิผลของการทำตามขั้นตอนซ่อมบำรุงและการตรวจด้วยสายตาขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การฝึกฝน และการตัดสินใจของผู้ซ่อมบำรุง ซึ่งต้องรู้ว่าระดับของสารหล่อลื่นเท่าใดจึงเหมาะสม มีความ้ตองการใดบ้าง น้ำหนักที่ต้องใช้งานจริง รวมถึงปัจจัยแวดล้อม
กำหนดขั้นตอนการใช้งานของสารหล่อลื่น
การเก็บรักษาสารหล่อลื่นและการขนย้ายก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นการกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ จึงเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเวลา ผลลัพธ์ และเงิน การใช้รหัสสีติดบนกล่องเก็บรวมถึงอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายจะช่วยรักษาความสะอาดเรียบร้อยและเป็นระบบระเบียบ จัดเก็บให้สามารถมองเห็นได้ง่าย จะได้สามารถเตือนเกี่ยวกับตารางซ่อมบำรุงได้
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำมันใหม่ว่าจะต้องสะอาดเสมอสามารถนำไปสู่ความผิดพลาดอื่น ๆ ได้ ความจริง คือ น้ำมันใหม่มีความสะอาดอยู่ในระดับพื้นฐานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO ซึ่งควรนำมาเทียบกับความต้องการของลูกปืนตามคู่มือแนะนำ บางครั้งตำพบว่าน้ำมันนั้นไม่สะอาด หรืออย่างน้อยก็สะอาดไม่พอ วิธีที่ดีที่สุด คือ การกรองขณะเปลี่ยนถ่ายจากบรรจุภัณฑ์เดิมสู่ถังเก็บของเหลวหรือสู่อุปกรณ์โดยในการเปลี่ยนถ่ายระหว่างที่บรรจุที่แตะครั้งให้ทำการกรองทุกครั้ง
มีทักษะและความรู้ไม่เพียงพอ
การฝึกอบรมอาจเป็นสิ่งที่ถูกละเลยบ่อยครั้งเมื่อต้องคำนึงถึงการลงทุนและการใช้จ่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับอายุการใช้งาน หน่วยซ่อมบำรุงนั้นอาจไม่คุ้นเคยกับง่านซ่อมลูกปืนแนวตรงและมักต้องการแนวทางแนะนำ การเข้าใจปัญหาพื้นฐานที่ทำให้เครื่องจักรล้มเหลวและเข้าใจถึงวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นถือเป็นมูลค่าสำคัญสำหรับการออกแบบเครื่องจักรซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้วาน นอกจากนี้การเข้าใจว่าสารหล่อลื่นและคุณสมบัติเฉพาะตัวว่าสามารถประยุกต์ใช้งานกับลูกปืนและรางนำร่องได้เป็นสิ่งสำคัญ
แม้ว่าสารหล่อลื่นจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในกระบวนการผลิตและการทำงาน แต่การเข้าใจคุณสมบัติและการใช้งานนั้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิต และ Downtime อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้งานเครื่องจักร ฝ่ายซ่อมบำรุงจำเป็นต้องมีความรู้และมีการวางแผนการตรวจสอบตามข้อกำหนดการใช้งานเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา:
Machinedesign.com