แม้เทคโนโลยีแบตเตอรี่อย่าง Lithium Ion จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในปัจจุบัน แต่มันก็ได้พิสูจน์ตัวเองผ่านการเวลาแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้เปลี่ยนแปลงโลกในยุคที่ผ่านมาและสร้างคลื่นลูกใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงอีกไม่น้อย ทำให้รางวัล Nobel สาขาเคมีอันทรงเกียรติในปี 2019 นี้เป็นของ Lithium Ion และผู้พัฒนามันขึ้นมา
The Royal Swedish Academy of Sciences มอบรางวัล Nobel ในสาขาเคมีปี 2019 ให้แก่ John B. Goodenough จากมหาวิทยาลัย Texas, M. Stanley Whittingham แห่งมหาวิทยาลัย Binghamton และ Akira Yoshino แห่งบริษัท Asahi Kasei และมหาวิทยาลัย Meijo จากความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่ Lithium Ion ซึ่งยังได้เงินรางวัลกว่า 9 ล้าน Swedish Krona ไปเฉลี่ยเท่า ๆ กันอีกด้วย
โลกที่สามารถเติมพลังงานได้
คุณสมบัติสำคัญของ Lithium Ion นั้น คือ ความสามารถใจการนำกลับมาชาร์จพลังงานได้ซ้ำ มีน้ำหนักเบา และยังสามารถให้กำลังได้มาก ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่นี้เราจะพบได้ในอุปกรณ์แทบทุกชนิดในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กันเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เองเจ้าแบตเตอรี่ Li-on นี้จึงสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ พลังงานลมหรืออื่นใดได้ ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลไปในตัว
การพัฒนาแบตเตอรี่ Li-on นั้นเริ่มขึ้นในช่วงปี 70 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาด้านทรัพยากรน้ำมัน โดย Stanley พัฒนาวิธีการที่จะนำไปสู่พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิลขึ้นมาด้วยการค้นคว้าเกี่ยวกับ Superconductor และวัสดุที่มีพลังงานสูงทำให้เกิดนวัตกรรม Cathode ในแบตเตอรี่ Li-on ซึ่ง John ได้คาดการณ์ว่า Cathode นั้นหากใช้โลหะ Oxide แทนที่โลหะ Sulfide จะมีศักยภาพที่ดีกว่าซึ่งเมื่อนำมาทดลองพัฒนาพบว่าสามารถสร้างไฟฟ้าได้ถึง 4 Volt จากนั้น Akira จึงได้นำความสำเร็จมาต่อยอดให้สามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์โดยมีการปรับเปลี่ยนให้ใช้ Petroleum Coke ที่ทำหน้าที่แทน Cobalt Oxide ที่ใช้ในต้นแบบ ทำให้มีน้ำหนักเบาและทนทาน สามารถชาร์จซ้ำได้กว่าร้อยครั้งก่อนที่การเสื่อมสภาพจะเริ่มขึ้น
ที่มา:
Sciencedaily.com