Tuesday, December 3Modern Manufacturing
×

หุ่นยนต์รุกตลาดแรงงาน! ตำแหน่งว่างหด ค่าจ้างแรงงานลด

เมื่อปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า ดีลต่าง ๆ รวมไปถึงนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ยังไม่ชัดเจน การแก้ปัญหาโดยระบบอัตโนมัติดูจะเป็นพระเอกสำหรับการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่สามารถแทนที่แรงงานซึ่งมีความผันผวนสูง ทำให้เกิดการจ้างงานที่น้อยลงมีอัตราค่าจ้างสำหรับแรงงานที่ต่ำกว่าเดิม ในขณะที่ปัญหาอัตราตำแหน่งว่างในการทำงานลดลงอีกด้วย

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

จากรายงานล่าสุดของตำแหน่งงานในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีลักษณะความซับซ้อนบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างแรงงานชาวอเมริกันและเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ แต่ในขณะเดียวกันอัตราการจ้างงานกลับต่ำลงและอัตรารายได้ก็ชะลอตัว ช่วงเวลาเดียวกันกับที่สงครามการค้าของจีนและสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอ่อนตัวลงถึง 47.8 ซึ่งคลาดกับแบบสำรวจประเมินจาก Bloomberg ในทุกกรณีซึ่งตอนแรกคาดว่าจะดีขึ้นในเดือนสิงหาคมเป็น 49.1

หนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจ คือ การผลิตของแคนาดาและเม็กซิโกที่มีอัตราค่าจ้างในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแคนาดามีอัตราค่าจ้างเฉลี่ย 19.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมงแต่ล่าสุดในเม็กซิโกมีอัตราค่าจ้างอยู่ที่ 2.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง เป็นผลมาจากการซื้อขายหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในประเทศ

ในขณะเดียวกันมีการศึกษาใหม่จาก Federal Reserve Bank of San Francisco พบว่ามีการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดค่าเฉลี่ยของรายได้แรงงานในสหรัฐอเมริกาลดลงและทำให้มีอัตราว่างงานน้อยลง ในเวลาเดียวกัน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมียอดขายของหุ่นยนต์ที่ลดลงแต่ทิศทางการเติบโตของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมก็ยังคงดิ่งลงเหวเช่นเดิม

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดการชะลอตัว อุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค วิทยาศาสตร์ชีวิต กลุ่มเภสัชกรรม และเซนเซอร์ชีวภาพกลับมีภาพรวมของการใช้งานหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นมาในระดับเดียวกับการใช้งานในการผลิตชิ้นส่วน OEM ของกลุ่มยานยนต์ ทำให้การเติบโตของหุ่นยนต์นั้นเรียกได้ว่ามีความคงที่แต่อาจมีการโยกย้ายสัดส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรม

อีกหนึ่งแรงผลักที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ ราคาของหุ่นยนต์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อสองทศวรรษก่อนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีราคาสูงกว่า 8 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยตกอยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือว่าราคาลดลงมากว่า 60% ภายในระยะเวลา 20 ปี นอกจากราคาที่ลดลงแล้วซอฟต์แวร์และเซนเซอร์ยังมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทำให้มีความคุ้มค่าและ ROI ที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากการใช้งานตัวหุ่นยนต์แล้วในปัจจุบันผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีชิปคอมพิวเตอร์และ Machine Learning โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้การลอกเลียนแบบ (Imitation) ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้สามารถสนับสนุนการทำงานของแรงงานได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น แต่ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานเสมอไป ในสายงานโลจิสติกส์มีอัตรา Turnover สูงถึง 30% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวแรงงานเองที่มีความผันผวนสูงทำให้การปรับใช้หุ่นยนต์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

สำหรับฝั่งของทางผู้ผลิตยุโรปได้มีการเพิ่มปริมาณการใช้งานหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องแม้จะไม่ฉูดฉาดโดดเด่นเหมือนภูมิภาคอื่นแต่ก็ต้องถือว่ามีการเติบโตที่มั่นคงด้วยการลงทุนเทคโนโลยีที่มีราคาสูง

สำหรับในภูมิภาคเอเชียซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตของตลาดหุ่นยนต์มากที่สุด เช่น ประเทศจีนที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานราคาถูกที่กำลังมีการใช้งานหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นกว่า 150,000 ตัวในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้นั้นมีการใช้งานหุ่นยนต์เป็นจำนวนมากมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ปัจจุบันผู้ผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจำนวนไม่น้อยที่กำลังเพ่งเล็งตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเป็นทางเลือกสำคัญท่ามกลางปัญหาสงครามการค้า ประกอบกับการมีอัตราเติบโตของเศรษฐกิจที่คลาดสายตาไม่ได้ทำให้สายตาของนักลงทุนทั้งผู้ผลิตเครื่องจักรและผู้ประกอบการจากนานาชาติจับจ้องอยู่ที่ภูมิภาคนี้

ต้องยอมรับว่าหุ่นยนต์ในปัจจุบันมีความสามารถในการทำงานที่ดีขึ้น ทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำลงไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการครอบครองและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ประกอบกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในปัจจุบัน การเลือกใช้หุ่นยนต์ซึ่งมีความแปรผันในการทำงานน้อยกว่าแรงงานจึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับการทำงาน

ที่มา:
Forbes.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924