Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ยังไงก็ไม่กลับบ้าน! ผู้ผลิตจากสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตจากจีนไปที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่มาตุภูมิ

แม้ว่าสงครามการค้าจะยืดเยื้อและท่าทีของ Donald Trump และ Xi Jinping ดูจะผ่อนคล้ายลงไปบ้างในบ้างแง่ แต่ผู้ผลิตสินค้าจากสหรัฐทั้งหลายที่ลงทุนในประเทศจีนกลับไม่คิดจะย้ายฐานการผลิตกลับแผ่นดินแม่ตามแนวคิด Make America Great Again ของ Trump

ท่ามกลางปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี Donald Trump จึงคิดจะดึงฐานการผลิตนอกประเทศกลับบ้านเพื่อสร้างงานและสร้างเงินให้กับประเทศโดยมีจีนซึ่งเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเป้าหมาย ปัญหาสงครามการค้าจึงเกิดขึ้นมาจากแนวคิดเหล่านี้ซึ่งภาครัฐของทั้งสองประเทศต่างแข่งกันขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากคู่ขัดแย้ง ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็ได้ประกาศนโยบายภาษีนำเข้าที่กระทบต่อประเทศพันธมิตรทางการค้าหลายประเทศด

ในความเป็นจริงแล้วสหรัฐอเมริกากับประเทศจีนนั้นมาสภาพเศรษฐกิจที่เหมือนกับน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่ากัน โดยจีนเป็นผู้ส่งออกและสหรัฐเป็นผู้นำเข้า และในขณะเดียวกันสินค้าบางตัวสหรัฐกลายเป็นผู้ส่งออกและจีนเป็นผู้นำเข้า เช่น ถั่วเหลือง เป็นต้น การจับคู่นี้เป็นการช่วยให้จีนมีบทบาทอย่างมากในการเป็นศูนย์กลางการผลิตในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็ได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกสินค้าจากจีนโดยเงินหมุนเวียนเข้าคลังของประเทศเช่นกัน

จุดเด่นของประเทศจีนนั้นอยู่ที่ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ จำนวนแรงงานที่มีมาก รวมทั้งวัฒนธรรมการทำงานที่ทุ่มเทอย่างมาก (บทความที่เกี่ยวข้อง) รวมถึงภาษีการส่งออกที่สร้างความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การเติบโตของ Globalization ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานรวมไปถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างของแรงงานในพื้นที่ที่สูงกว่าการว่าจ้างแรงงานจากต่างประเทศหรือลงทุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ แทนที่คน ภาคการผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอยู่ในสภาพเงียบเหงาซบเซา

แม้ว่านโยบายการขึ้นภาษีและสงครามการค้าจะทำให้สินค้าที่ต้องนำเข้าจากประเทศจีนมีมูลค่าสูงขึ้นแต่ก็มีผู้ผลิตเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยอมย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เช่น Hasbro, Xentris Wireless และ PacSon แต่ว่าผู้ผลิตเหล่านี้ก็ไม่ได้จะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศอย่างใจที่ท่านผู้นำหวัง แต่กลับเลือกย้ายฐานการผลิตมายังประเทศอื่นแทน เช่น เวียดนาม บังกลาเทศ แม็กซิโก ฟิลิปปินส์หรือไต้หวัน

การมีฐานการผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นถือเป็นการพ่ายแพ้ทั้งราคาในการแข่งขัน คุณภาพและเทคโนโลยี ซึ่งฐานการผลิตหลายภูมิภาคไม่อาจสู้อัตราการแข่งขันเหล่านี้ในเอเชียซึ่งกำลังเติบโตและเป็นที่จับตามองได้เลย อีกทั้งยังเป็นการกระจายความเสี่ยงออกไปได้ในกลุ่มประเทศที่ดูมีอนาคตสำหรับธุรกิจสดใสกว่าโดยหลีกเลี่ยงกรณีพิพาทระหว่างทั้งสองประเทศไปด้วยในตัว

ที่มา:
Asiatimes.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924