Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

รู้จักกับแกนที่ 7 ของหุ่นยนต์ที่ผลิตจากคอมโพสิตคอนกรีตเป็นครั้งแรกของโลก!

เพราะการพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่ง! วันนี้แกนที่ 7 ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยวัสดุคอมโพสิตคอนกรีตและถูกใช้งานในโรงงานผลิตยานยนต์แล้วเป็นครั้งแรกของโลกจากบริษัท IPR – Intelligente Peripherien für Roboter GmBH ซึ่งมีจุดเด่นในด้านการติดตั้ง ต้นทุนที่ต่ำ รวมถึงมีการสั่นสะเทือนที่น้อย ทำให้การใช้งานคอมโพสิตคอนกรีตกลายเป็นตัวเลือกแทนวัสดุโลหะที่น่าสนใจในหลากหลายมิติ

Source: iprworldwide.com
Source: iprworldwide.com

ผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM Eisenmann Alpha-Tec นั้นมีการใช้งานรางเลื่อนอัตโนมัติหรือแกนที่ 7 กับงานที่ซับซ้อนกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในส่วนของการพ่นสีสำหรับยานยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งการใช้งานแกนที่ 7 ที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิตคอนกรีตนั้นมีจุดแข็งหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุโลหะ ด้วยความสามารถในการผลิตให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตามความต้องการ เช่น การผลิตทั้งสายการผลิตนั้นปลอดซิลิคอนและสามารถใช้งานได้ในพื้นที่พิเศษได้โดยไม่ต้องกังวลอย่างพื้นที่การพ่นสี

แกนที่ 7 ซึ่งผลิตจากคอมโพสิตคอนกรีตนั้นถูกทดสอบภายใต้การทำงานมากถึง 2.5 ล้านวงรอบการทำงานซึ่งเทียบเท่ากับการทำงานเป็นเวลา 10 ปี รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 12 ตัน นอกจากนี้ผลการทดสอบจาก IPR ยังพบว่าความทนทานของวัสดุคอมโพสิตคอนกรีตนั้นยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลหะหรืออะลูมินัมที่ใช้ในการสร้างแกนที่ 7 รุ่นอื่น ๆ นอกจากนี้ในการผลิตยังลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 75% และมีการใช้พลังงานน้อยลง 90% ทั้งยังสามารถใช้งานได้กับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกว่า 95% ในตลาดปัจจุบัน

การใช้งานแกนที่ 7 รุ่นใหม่นี้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีโมดูลเสริมแม้เป็นการใช้งานในโหมดอัตโนมัติ สาารถขยายความยาวของรางได้ตามต้องการ โดยแต่เดิมนั้นเจ้าแกนที่ 7 นี้มักใช้ในงานติดตั้งเพดาน กำแพง หรือพื้นต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมทำให้มีความทนทานและคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับงานประกอบ หรือเทคโนโลยีกลุ่ม Handling มากขึ้น

การพัฒนาแกนที่ 7 ขึ้นมาอาจไม่ใช่สิ่งใหม่ในวงการหุ่นยนต์อุตฯ แต่การพัฒนาแกนที่ 7 จากวัสดุอย่างคอมโพสิตคอนกรีตนั้นสามารถสร้างความแตกต่างในด้านต้นทุนและความเหมาะสมได้เป็นอย่างมาก ด้วยราคาที่ต่ำกว่าและการขยายขนาดได้ตามความต้องการในการใช้งาน ทั้งยังมีคุณสมับติความทนทานที่เทียบเท่ากับวัสดุรูปแบบเดิม ทำให้แกนที่ 7 วัสดุใหม่นี้มีความโดดเด่นเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาด้านทรัพยากรในปัจจุบัน

ที่มา:
iprworldwide.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924