Thyssenkrupp ได้เปิดเผยข้อมูลจาก White Paper ฉบับใหม่ซึ่งเจาะลึกลงไปในการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุของ ASEAN ‘Additive Manufacturing: Adding Up Growth Opportunities for ASEAN’ ซึ่งเผยให้เห็นการเติบโตและมูลค่าเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2025
จากการศึกษาข้อมูลของ Thyssenkrupp พบว่าการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing หรือ AM) นั้นจะสร้างงานได้ 3 – 4 ล้านตำแหน่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายในปี 2030 รวมถึงศักยภาพในการลดภาพรวมของการนำเข้าของภูมิภาคประมาณ 3 – 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาเซียนนั้นมีเสถียรภาพท่ามกลางยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อีกด้วย
นอกจากนี้รายงานยังได้นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ AM ในอาเซียน ณ ปัจจุบัน โดยแสดงให้เห็น 7 ข้อสังเกตสำคัญ ได้แก่
- การใช้งาน AM ในอาเซียนนั้นยังมีอยู่น้อย 5 – 7% ของ AM ในเอเชียมีการใช้จ่ายอยู่ที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีการติดตั้งเครื่องจักรอยู่ที่ 220 – 270 เครื่อง
- สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทยนั้นถือสัดส่วนการใช้งาน AM อยู่ที่ 80% โดยมีสิงคโปร์ถือครองสัดส่วนเยอะที่สุด
- ด้วยความสามารถที่หลากหลายในพื้นที่ทำให้สามารถผลักดันการใช้งานนวัตกรรม AM ได้อย่างน่าสนใจ
- โอกาสในอุตสาหกรรมอาเซียนยังมีอีกมาก 20% ของ GDP อาเซียนมาจากอุตสาหกรรมการผลิต มีแรงงานมากถึง 50 ล้านคน และหากเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกแล้ว AM ในอาเซียนนั้นมีอัตราการเติบโตสูงถึง 3 เท่า
- โอกาสในการเติบโตของ AM มีถึง 5 ประการด้วยกัน ซึ่งเป็นที่มาของมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังเพิ่มตำแหน่งงานอีก 3 – 4 ล้านตำแหน่งสำหรับ AM ในตลาดอาเซียน โอกาสที่สามารถเกิดขึ้นเหล่านั้น ได้แก่
- ลดการนำเข้า
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขันสำหรับภาคส่วนหลัก
- เพิ่มความสามารถนักลงทุนท้องถิ่น
- การมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาทักษะ
- เพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
- ยังคงมีกำแพงขวางกั้นบางประการ ได้แก่ Know-How ที่ไม่เพียงพอและด้านเทคโนโลยีที่ยังไม่สามารถลงทุนได้อย่างเต็มที่ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย
- ภาคธุรกิจและรัฐบาลต้องร่วมมือกันเพื่อปลดล็อคศักยภาพที่มี
ที่มา:
Thyssenkrupp