HUMAN POSITIONING IN 4.0 ECOLOGY–เมื่ออะไร ๆ ก็อัจฉริยะ แล้วมนุษย์ล่ะ?
คุณเบื่อกันบ้างหรือยังกับการที่อะไรรอบ ๆ ตัวในตอนนี้มีแต่ ‘อัจฉริยะ’ อัจฉริยะกันไปหมดไม่ว่าจะยานยนต์ นาฬิกา สมาร์ทโฟน เครื่องจักร ระบบ เคยถามตัวเองไหมว่า เอ๊ะ!? มีเราคนเดียวหรือเปล่าที่ตกยุคไม่เห็นจะอัจฉริยะไปกับเขาบ้างสักที?
สมัยเด็ก ๆ เรามองว่าคนอย่าง Albert Einstein, Henry Ford หรือStephen Hawking คือนิยามคำว่า ‘อัจฉริยะ’
แต่ในยุคปัจจุบัน ‘อัจฉริยะ’ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่ทำงานตรวจจับค่าและแสดงผลอะไรบางอย่าง เช่น นาฬิกาอัจฉริยะที่จับชีพจร นับก้าว วัดการนอน หรือแพลตฟอร์มอะไรก็ตามที่สั่งให้อุปกรณ์ทำตามเป้าหมายภายใต้เงื่อนไข เช่น แพลตฟอร์มแสงสว่างอัจฉริยะ เซนเซอร์อัจฉริยะ
อันที่จริงสิ่งที่เหมาะสมและควรคู่กับคำว่าอัจฉริยะมากที่สุดคือ‘มนุษย์’เรานี่ล่ะครับ สำหรับผมความสามารถในการคิด สร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาที่สามารถเริ่มจาก 0 แล้วพัฒนาเองได้ถือเป็นความอัจฉริยะอย่างแท้จริง เพราะแม้แต่ AI อย่าง Deepmind ที่ฉลาดล้ำคว่ำมนุษย์ในการแข่งขันประลองทางสมองมานักต่อนักยังพัฒนามาจากความสามารถของมนุษย์เลย
แล้วทำไมเราถึงคลั่งไคล้Smart Devices? ทั้งที่พวกอุปกรณ์เหล่านี้อาจไม่ได้เก่งกาจไปว่ามนุษย์สักเท่าไหร่ แต่จุดเด่นของมัน คือ Ecosystem ที่ผสานรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน แลกเปลี่ยนกัน และทำงานร่วมกัน ถ้าเอาที่ใกล้ตัวก็ต้องยกตัวอย่าง Ecosystem ของ Google ที่ครอบคลุมตั้งแต่ Serach Engine รวมถึง Google Apps for Work เพื่อการทำงานในสำนักงาน ไปจนถึงAndroid OS ที่ทำให้ Ecosystem นี้ไร้รอยต่อ ผลลัพธ์ของทั้งหมดนี้ คือ ความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว เพราะลดขั้นตอนต่าง ๆ ลงไปเหลือไว้เพียงแต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการป้อนเข้าไปในระบบ แล้วก็ Boom! ออกมาเป็นสิ่งที่เราต้องการในความเป็นจริงระบบไม่ได้เก่งไปกว่ามนุษย์ สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราจะเป็นผู้ใช้งานระบบอย่างชาญฉลาดได้อย่างไร
“เทคโนโลยีนั้นไร้ค่า สิ่งสำคัญ คือ คุณต้องมีศรัทธาในผู้คน ว่าพวกเขามีพื้นฐานที่เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเมื่อคุณมอบเครื่องมือให้ พวกเขาจะรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมา”
Technology is nothing. What’s important is that you have a faith in people, that they’re basically good and smart, and if you give them tools, they’ll do wonderful things with them.
Steve Jobs
อ่านฟรี ในรูปแบบ E-Book