การที่จะเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นในภาคอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นต้องมีการวิจัยทางการตลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า แน่นอนว่าในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากหากข้อมูลที่ได้มามีความคลาดเคลื่อนก็ย่อมที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการอย่างปฏิเสธไม่ได้
ในบางโครงการนั้น ผู้ดำเนินงานเลือกที่จะใช้แหล่งข้อมูลเดิมจากกลุ่มลูกค้าเก่าในฐานข้อมูลที่มีอยู่ เนื่องจากมีความเที่ยงตรงสูงทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ Research อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ยังคงจำเป็นต้องหาข้อมูลใหม่ๆ จากบุคคลภายนอกเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อความน่าเชื่อถืออยู่ดี ในขณะเดียวกันหลายองค์กรเลือกที่จะรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในสายงานที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง
โดยคาดหวังว่าประสบการณ์ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจผู้ใช้ซึ่งอันที่จริงแล้วการนำข้อมูลจากการ Research รวมทั้งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญมาใช้ประกอบการวิเคราะห์นั้นก็อาจประสบความสำเร็จตามที่ผู้ประกอบการได้คาดหวังไว้ หรือโครงการที่ฟูมฟักกลับไปได้ไม่ถึงฝั่งฝันก็มีให้เห็นอยู่มากมายเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน คือ ‘ต้นทุนค่าใช้จ่าย’ ทั้งที่เป็นเงินและเวลาเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูลจาก 2 ช่องทางนี้ก็ยังคงเป็นต้นทุนที่สูงอยู่เช่นเดิม
|
คำโบราณที่ว่า ‘สองหัวดีกว่าหัวเดียว’ นั้นยังคงใช้ได้ดีอยู่เสมอ ในยามที่องค์กรต้องการคิดแก้ปัญหาหรือคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หากมีผู้ร่วมคิดร่วมลงมือทำความสำเร็จนั้นคงไม่ไกลเกินเอื้อม ยิ่งถ้ามีผู้เข้าร่วมมากขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสของความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น หรืออย่างน้อยที่สุด การที่ได้มาร่วมงานกันเพื่อสร้างสิ่งสำคัญก็มักจะเกิดพันธมิตรที่อาจเกื้อหนุนกันต่อไปในอนาคตได้
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ สำหรับธุรกิจสมัยใหม่ในปัจจุบันนั้น การระดมสรรพกำลังเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์กลับไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มคนในสายธุรกิจอย่างเช่น เครือข่ายภาคี คู่ค้า พนักงาน หรือสมาชิกเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มคนที่รู้จักกันในฐานะ ‘คนนอก’ ก็เป็นอีกแหล่งต้นน้ำใหม่ๆ ที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป กลุ่มคนเหล่านี้ก็คือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเอง และในบางครั้งกลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่รู้จักแบรนด์ของเราเลย
ตลอดหลายปีมานี้มีตัวอย่างของ Crowdsourcing ที่ประสบความสำเร็จมีอยู่มากมายหลายแห่ง เช่น
- Innocentive แหล่งระดมผู้เข้าร่วมกันแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ซึ่งผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมไม่จ�าเป็นต้องเป็นวิศวกรแต่อย่างใด เพราะครั้งหนึ่งที่ทีมงาน Innocentive ได้ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมในการแก้ปัญหางานวิศวกรรมที่ยาก แต่กลายเป็นว่าปัญหานั้นถูกคลี่คลายไปได้โดยครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้น ม.4
- Hackathon เป็นการระดมสุดยอดฝีมือนักเจาะระบบเข้ามาร่วมกันหาช่องโหว่ในซอฟต์แวร์หรือระบบบริการออนไลน์ของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ หากผู้ใดสามารถเจาะเข้ามาได้ก็จะได้รับรางวัลก้อนโต และระบบที่มีช่องโหว่นั้นก็จะได้รับการแก้ไขปัญหาด้วยเช่นเดียวกัน
- Wikipedia แต่เดิมหากเราอยากได้สารานุกรมสักเล่มก็จะต้องเข้าไปซื้อในร้านหนังสือ สำหรับผู้ที่ขาดทุนทรัพย์ก็มักจะขาดโอกาสที่จะได้รับความรู้ที่ดีสารานุกรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Wikipedia.com จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาและเป็นแหล่งระดมสรรพความรู้จากทั่วโลกมาไว้ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาอ่านกันฟรีๆ
- Kickstarter (http://www.kickstarter.com) เป็นเว็บไซต์สื่อกลางให้กับเจ้าของโครงการหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการประกาศหาผู้เข้าร่วมระดมทุน ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกดีมากและก็มีผู้ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ที่โด่งดังอย่างมากก็คือ Pebble Watch สุดยอด SmartWatch สำหรับ Android และ iOS ที่สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายได้อย่างแม่นยำ โครงการนี้สามารถระดมทุนไปมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว
แน่นอนว่าผู้ประกอบการสามารถนำรูปแบบ Crowdsourcing มาประยุกต์ใช้กับโครงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันที่จริงแล้ว Crowdsourcing นั้น อาจยังไม่สมบรูณ์เท่าใดนัก เพราะท่ามกลางกลุ่มคนก็ย่อมที่จะมีคนที่ไม่ดีรวมอยู่ด้วย แม้จะเป็นกลุ่นคนจำนวนน้อยแต่ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่โครงการได้ เป็นต้นว่าบางผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูงต้องพึ่งพาคนใดคนหนึ่งในการขับเคลื่อน หากผู้นั้นเรียกรับผลประโยชน์มากเกินไปหรือหยุดการดำเนินการไปดื้อๆ ก็อาจทำให้โครงการล้มลงไปได้ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาเป็นต้นหนในโครงการจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีข้อมูลเพียงพอที่สามารถตอบรับกลับไปยังผู้เข้าร่วมได้ ซึ่งถ้ามีการตระเตรียมอย่างเป็นระบบก็ไม่แน่ว่าเราจะได้เห็นนวัตกรรมที่ให้ประโยชน์ต่อคนหมู่มากทยอยเปิดตัวกันจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว
EXECUTIVE SUMMARY
For years, there were several successful Crowdsourcing such as Innocentive; the recruiting source for those people who are willing to jointly solve engineering problem, Kickstarter (http://www.kickstarter.com); the medium website for project owner or product owner who wants to seek for joint investors, Hackathon; the recruiting source for those top hackers who are willing to jointly find the breaches in software or online service system of agencies or service providers, and Wikipedia; the online encyclopedia via website.