ภัยภิบัติและมลภาวะจากมือมนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่จะเร่งวันล่มสลายของโลกและเผ่าพันธ์มนุษย์ให้มาถึงเร็วยิ่งขึ้น และอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างมลพิษที่ร้ายแรงจำนวนมากหากไร้การควบคุมรวมถึงการจัดการที่มีคุณภาพ ซึ่งแนวทางการทำอุตสาหกรรมสีเขียวสามารถแก้ไขและชะลอปัญหาด้านมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
มลภาวะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะสารเคมีหรือฝุ่นควันสามารถส่งผลต่อสุขภาพของผู็ปฏิบัติงานรวมถึงสภาพแวดล้อมในวงกว้างได้หากไม่ระวังให้ดี ตัวอย่างที่สำคัญและใกล้ตัวหลายคนในเมืองกรุง คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เริ่มทำร้ายชีวิตและอนาคตของเยาวชนในอนาคตแล้วในปัจจุบัน ซึ่งการแก้ปัญหาที่มีศักยภาพเชิงนโยบายจากภาครัฐอาจต้องรอเป็นเวลานานหรืออาจเป็นภาพฝันที่ตื่นมาอาจเจอแต่ซากฝุ่นควันของคนที่รัก ดังนั้นภาคเอกชน ผู้ประกอบการและทุกคนต้องร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจและอนาคตอันยั่งยืนในระยะยาว
อุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร?
อุตสาหกรรมสีเขียวภายใต้แนวคิดของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้นใน 3 ประเด็น ได้แก่
- การพัฒนาและปรับปรุงประสิทิภาพของกระบวนการผลิต
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
องค์การสหประชาชาติในส่วนของการพัฒนาองค์กรอุตสาหกรรมได้ให้นิยามอุตสาหกรรมสีเขียว ดังนี้
“อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง เศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตภายใต้เส้นทางแห่งความยั่งยืนด้วยการลงทุนสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการลงทุนภาคเอกชน”
สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการอุตสาหกรรมสีเขียวนั้นเป็นการเปลี่ยนรายละเอียดของการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ไปจนถึงพื้นฐานบางประการของการทำอุตสาหกรรม และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนชุดความคิด เพื่อปรับปรุงผลกระทบของอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
การมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และ Industrial Internet of Things (IIoT) เปิดโอกาสสำหรับนวัตกรรมในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลังงานไร้คาร์บอน การทำน้อยแต่ได้มากจากอิทธิพลของดิจิทัล รวมถึงการยืดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด Zero Waste Landfill หรือปราศจากขยะ การดำเนินการตามแนวคิดเหล่านี้สามารถลดการมใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานได้ รวมถึงลด Carbon Footprint ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นทั่วโลก สามารถผลักดันแนวคิดของอุตสาหกรรมสีเขียวผ่านแนวคิดเหล่านี้
1. พัฒนาวัสดุใหม่ ๆ
การมีวัสดุใหม่ที่ส่งผลต่อคาร์บอนน้อยหรือไม่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ภายใต้แนวคิดนี้สามารถคำนึงถึงกระบวนการแปรรูปที่ต้องใช้กับวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้วัตถุดิบสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติอนุรักษ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมวัสดุชีวภาพ ซึ่งบริษัทอิเล็กทรอนิกส์สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านี้ดว้ยบรรุจภัณฑ์ที่เข้ากับนโยบายรักษ์โลกได้ ในกรณีของบรรจุภัณฑ์จากฟางสามารถประหยัดพลังงานได้ 40% และลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตได้ 90%
2. พลังงานปราศจากคาร์บอน
สิ่งที่เห็นผลได้ชัดเจนจากอุตสาหกรรมสีเขียว คือ การประหยัดพลังงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน รายงานล่าสุดของ Energy Transition Commission (ETC) รายงานเกี่ยวกับ ‘Mission Possible’ กล่าวถึงการประกาศความเป็ฯไปได้จริงที่จะเกิดขึ้นกับนโยบายลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น 0 ในช่วงกลางศตวรรษนี้ หนึ่งในหนทางที่ดี คือ การลดคาร์บอนในกระบวนการพลังงานหรือกระบวนการแปรรูปไฟฟ้า รวมถึงการจำกัดคาร์บอนในกระบวนการขนส่ง
เมื่อกระบวนการดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนของพลังงานจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการใช้พลังงานรวมถึงการปลดปล่อยของเสียที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง China National Building Materials Group ลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ถึง 10%
3. ดิจิทัล คือ ทางออก
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและ IIoT ที่นำมาซึ่งระบบ Smart ต่าง ๆ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ ทำให้นักอุตสาหกรรมสามารถจัดลำดับความสำคัญและรับรู้ข้อมูลที่เที่ยงตรงโปร่งใสได้แบบ 24/7 ทั้งยังเพิ่ม Productivity ให้กับกระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างกรณีโรงงาน Saint-Gobain ที่ตั้งเป้าควบคุมการใช้พลังงานซึ่งส่งผลกับการลดการปลอดปล่อยคาร์บอนลง 20% ภายในปี 2025 ซึ่งผลลัพธ์ที่ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จริงด้วยความแน่นอนของเทคโนโลยี
4. ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน
แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรงแต่อุตสาหกรรมสีเขียวนั้นเกี่ยวข้องกับการยกระดับกระบวนการด้วยเทคโนโลยีไฮเทคและผลักดันพื้นฐานการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมสีเขียวนั้นก้าวข้ามเศรษฐกิจหมุนเวียนไปจากหลัก 3R ที่ประกอบด้วย Reduce, Reuse และ Recyly ก้าวเข้าสู่หลักการ 5R ได้แก่ Repair, Reuse, Refurbish, Re-Manufacture และ Recycle
ผู้ผลิตหลายรายตั้งเป้าในการทำธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น Schneider ตั้งเป้านำสิ่งหลงเหลือจากการผลิต 100% กลับมาใช้อีกครั้งภายในปี 2030 นอกเหนือจากแง่มุมของสภาพแวดล้อมแล้วจากโมเดลของธุรกิจดังกล่าวยังทำให้เกิดมูลค่าหมุนเวียนกลับมา 12% และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. ร่วมมือกันเพื่อสิ่งที่ดียิ่งกว่า
เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายอย่างมากนั่นย่อมหมายถึงสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้มันเกิดขึ้น การขยายองค์กรเป็นสิ่งที่จำเป็น ยกตัวอย่างโมเดลเซี่ยงไฮ้ นอกเหนือจากภาคธุรกิจแล้วเซี่ยงไฮ้ได้นำภาครัฐและภาคการศึกาามาเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นการผสมผสานกันในเชิงยุทธศาสตร์ของการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา พันธมิตรระหว่างมหาวิทยาลัย คนในพื้นที่ บริษัทหลากสัญชาติและฮับนวัตกรรม
นอกจากนี้เซี่ยงไฮ้ยังคงส่งเสริมในด้านทักษะต่าง ๆ เชิงลึกซึ่งเกี่ยวข้องกันกับการเติบโตของอุตสาหกรรมสีเขียว ไม่ว่าภาคสาธารณะและเอกชนต่างมีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมระบบนิเวศน์ รวมถึงยังมีมูลนิธิที่เข้มแข็งในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยังยืนแห่งยุคต่อไปสิ่งเหล่านี้ต่างเปลีย่นแปลงเมืองอย่างรวดเร็วกลายเป็นฮับแห่งอุตสาหกรรมสีเขียวที่น่าศึกษาแบบอย่าง
6. ปรับเปลี่ยนเพื่ออนาคต
อุตสาหกรรมสีเขียวนั้นดีต่อธุรกิจซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าสำหรับ Productivity และเพิ่มประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดด้านลบชองของเสียหรือมลภาวะ การเติบโตของเศรษฐกิจต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อโทรมของสภาพแวดล้อม พลังที่แท้จริงของอุตสาหกรรมสีเขียวจะแสดงตัวให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่ออุตสาหกรรมทั้งหมดเริ่มแยกออกจากกันและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการลดคาร์บอน
ที่มา:
Weforum.org