Friday, November 22Modern Manufacturing
×

จับตา 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมหน้าใหม่ 2018

การเติบโตของตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 ทำให้การแข่งขันในตลาดของหุ่นยนต์มีความเข้มข้นอย่างมาก และในปี 2018 นี้ กับครึ่งปีที่ผ่านมาจะมีหุ่นยนต์หน้าใหม่รุ่นใดบ้างที่น่าสนใจ?

การแข่งขันที่ผ่านมาของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีทั้งการประหยัดพลังงาน ความเร็วในการผลิต แกนในการทำงาน ระบบควบคุม น้ำหนักที่รองรับ หรือความแม่นยำเป็นต้น ทำให้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีขนาดและรูปร่างแตกต่างตามจุดประสงค์การใช้งาน โดยหนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2018 หนีไม่พ้นหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือผู้ผลิตบางเจ้าจัดอยู่ในกลุ่ม Cobot ที่มีความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับมนุษย์ ซึ่งหุ่นยนต์บางรุ่นนั้นถูกนำเข้ามาโชว์ตัวในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมบ้านเราในช่วงที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วเช่นกัน ขอเชิญพบกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมหน้าใหม่ที่น่าจับตามองครึ่งปีแรกของปี 2018!

1. KUKA: LBR iisy

LBR iisy หุ่น Cobot 6 แกน ที่สามารถใช้ฟังก์ชันการทำงานในอุตสาหกรรมหลักได้อย่างครบถ้วน อาทิ OPC UA, Field Bus Protocols, Digital และ Analog I/O พร้อมสำหรับการใช้งานด้วยความง่ายดายในการสร้างคำสั่ง รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กิโลกรัม มีระยะทำการ 600 มม. ด้วยซอฟท์แวร์สนับสนุนอย่าง KUKA Simulation Suite และ KUKA Connect ทำให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนไม่ว่างานจะซับซ้อนหรือเรียบง่ายทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีโหมดออกคำสั่งผ่านระบบการสอนและการเรียนรู้ได้อีกด้วย

2. EPSON: VT6

หุ่นยนต์ 6 แกนที่สามารถใช้งานได้หลากหลายและสามารถเป็นเจ้าของได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ สะดวกต่อการใช้งานและติดตั้ง รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 6 กิโลกรัม มาพร้อมตัวคววบคุมที่ถูกติดตั้งไว้ภายในหุ่นยนต์

3. ABB: IRB 14050 Single-arm YuMi

จากหุ่นยนต์ 2 แขนเลื่องชื่อ YuMi ต่อยอดความสำเร็จสู่ Cobot แขนเดียว Singlw-arm YuMi ซึ่งมีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบาเพียง 9.5 กิโลกรัม รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 500 กรัม สามารถติดตั้งได้บนพื้นที่ทำงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เพดาน หรือสายการผลิตที่มีอยู่แล้ว ด้วยแกนการขยับ 7 แกน ทำให้สามารถขยับได้ใกล้เคียงกับร่างกายมนุษย์ ชิ้นส่วนควบคุมอยู่ภายนอกทำให้มีขนาดเล็กและติดตั้งได้ในทุกมุมองศา สามารถใช้งานได้กับโปรแกรมดั้งเดิมของ YuMi รวมถึงมีระบบการเรียนรู้ผ่านการสอน สามารถตั้งค่าการทำงานได้อย่างง่ายดาย

4. MiR: MiR500

หุ่นยนต์เคลื่อนที่สำหรับงานอุตสาหกรรม MiR500 รองรับน้ำหนักสูงสุด 500 กิโลกรัม ติดตั้งด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ล้ำสมัยทำการแสน 360 องศาเพื่อจำลองแผนที่ รวมถึงกล้อง 3 มิติที่มีระยะการจับภาพอยู่ที่ 30 – 2,000 มม. สามารถใช้ในการขนสิ่งสินค้าและพาเลทด้วยระบบอัตโนมัติ ความเร็วสูงสุด 2 เมตรต่อวินาที เมื่อเจอปัญหาหรือสิ่งกีดขวางสามารถแก้ไขออกแบบเส้นทางเอกเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากความล่าช้าได้อีกด้วย สามารถติดตั้งหุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อเพิ่มขอบเขตการทำงานได้อีกด้วย ทำให้ช่วยบริหารจัดการโฟลวและแก้ไขปัญหาคอขวดของการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. MECADEMIC: Meca500

หุ่นยนต์ 6 แกน ขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 4.5 กิโลกรัม รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 500 กรัม รัศมีการทำงาน 260 มม. มาพร้อมกับส่วนควบคุมภายในตัว ติดตั้งได้ง่ายเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัด ข่าวที่เกี่ยวข้อง

6. DENSO: COBOTTA

หุ่นยนต์ 6 แกน Cobot น้ำหนักเบา รองรับชิ้นงานได้สูงสุด 500 กรัม มาพร้อมมือจับและกล้องตรวจจับวัสดุ สามารถสอนการทำงานผ่านการเคลื่อนไหวได้ด้วยระบบเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ สมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ต ซึ่งทำให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วภายใต้สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดร่วมที่โดดเด่นนอกจากขนาดที่เล็กกะทัดรัดแล้ว หุ่นยนต์เหล่านี้มาพร้อมกับระบบการเรียนรู้ Learning System ที่สามารถสอนการทำงานผ่านการเคลื่อนไหวได้ซึ่งผู้ผลิตมักติดตั้งส่วนควบคุมพร้อมใช้ภายในหุ่นยนต์อยู่แล้ว ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ความเสี่ยงที่เกิดต่อมนุษย์นั้นลดลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้หุ่นยนต์หลายตัวอยู่ในกลุ่มของ Cobot ที่สามารถทำงานร่วมกับคนได้ ในขณะที่ความแม่นยำของการทำงานยังคงรักษาไว้ได้อย่างโดดเด่นเช่นเดิม


ที่มา:

  • Mobile-industrial-robots.com
  • Denso-wave.com
  • Mecademic.com
  • Kuka.com
  • hupico .be
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924