Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ถอดความสำเร็จโรงงานดิจิทัลยุค 5G ผ่านประสบการณ์ของตัวจริงด้านระบบเครือข่าย AIS Business 5G และพันธมิตร

การแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้น ‘ข้อมูล’ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและหมดจด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตที่มีกิจกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการยกระดับการผลิตเพื่อก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้น ซึ่ง AIS Business 5G ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อยกระดับภาคการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศไทยให้กลายเป็นการผลิตอัจฉริยะเต็มรูปแบบ พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาด้าน 5G และการบูรณาการเข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรม

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในการผลิตนั้น เรียกได้ว่า 1 วินาทีก็มีข้อมูลเกิดขึ้นจำนวนมหาศาลหลัก Gigabyte ไปจนถึง Petabyte เอาง่าย ๆ และข้อมูลส่วนใหญ่กลายเป็นข้อมูลที่ไม่อาจถูกบันทึกไว้ได้ทันท่วงที หรือในหลายกรณีก็ไม่อาจสังเกตเห็นได้โดยง่าย ในกรณีทั่วไปการได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนทำให้เกิดการตัดสินใจหรือคาดการณ์ที่อาจเกิดความเบี่ยงเบนได้ แต่ในกรณีที่มีความร้ายแรงอาจนำมาซึ่งความเสียหายทางชีวิต ทรัพย์สิน และตัวของธุรกิจได้โดยง่าย เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ จึงต้องมาพร้อมกับการบริหารจัดการข้อมูลที่โปร่งใส ฉับไว และรวดเร็วในฐานะหัวใจสำคัญของการแข่งขันยุคใหม่

เพื่อให้เทคโนโลยี เครื่องมือ แรงงาน และทรัพยากรทุกอย่างสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นเป็นหนึ่งเดียวกัน ระบบเครือข่ายจึงเป็นเหมือนระบบประสาทที่คอยส่งคำสั่ง การตอบสนอง และข้อมูลต่าง ๆ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนในแต่ละภาคส่วน ตั้งแต่ระดับบริหารที่ใช้งาน ERP ระดับผู้จัดการที่ใช้งาน MES/SCADA ไปจนถึงการทำงานกับเครื่องจักรหน้างานของวิศวกรและแรงงาน ความสำเร็จของการแข่งขันยุคใหม่จึงต้องมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายข้อมูลที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสม แน่นอนว่าโปรโตคอลการเชื่อมต่อหรือเทคโนโลยีระบบเครือข่ายนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย แล้วจะเลือกการเชื่อมต่อแบบไหนให้เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมดี?

5G โซลูชันการเชื่อมต่อความยืดหยุ่นสูง พร้อมสู้ทุกความท้าทายในอุตสาหกรรมการผลิต

การเชื่อมต่อสำหรับข้อมูลในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ดั้งเดิมจะเป็นการเดินสายข้อมูลและต้องมีการจัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้ต้นทุนจำนวนไม่น้อยในการติดตั้งไปจนถึงการดูแลรักษา หากต้องการจัดเปลี่ยนเลย์เอาต์หรือจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ใหม่ก็จะต้องมีต้นทุนในการเดินสายที่ต้องปรับตามตำแหน่งการเคลื่อนย้าย สร้างความยากลำบากในการปรับเปลี่ยน ซึ่งการเดินสายแบบนี้อาจเหมาะกับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นหรืออยากลองทำ Transformation เบื้องต้นมากกว่าธุรกิจที่เติบโตและมีความซับซ้อนในระดับหนึ่งแล้ว

ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบไร้สายอย่าง WiFi ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมใช้ เนื่องจากมีความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายทุกตำแหน่งที่ใช้งานแต่ต้องมีจุดกระจายสัญญาณกระจายตัวให้ครอบคลุมแทน แม้ว่าการเชื่อมต่อของ WiFi จะมีความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการบริหารจัดการช่องสัญญาณการเชื่อมต่อยังต้องการการปรับแต่งจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน IT และในกรณีที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IIoT จำนวนมากในพื้นที่พร้อมกันก็อาจทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงได้เช่นกัน หากพิจารณาถึงการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Bluetooth หรือ NFC ก็จะพบว่ามีระยะในการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด รวมถึงขนาดข้อมูลที่ส่งได้อีกด้วย

หนึ่งในทางเลือกที่ผู้ผลิตระดับสากลให้ความไว้วางใจสำหรับระบบเครือข่ายพื้นฐาน คือ เทคโนโลยี 5G ที่มีความยืดหยุ่นสูง รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 1 ล้านอุปกรณ์ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังสามารถปรับแต่งช่องทางสัญญาณที่ใช้ได้อย่างง่ายดายรวดเร็ว เรียกว่าสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการได้อย่างละเอียดแต่ไม่ต้องยุ่งยากและใช้เวลานาน จุดเด่นของ 5G นั้น เรียกได้ว่าช่วยทั้งลดต้นทุน ลดระยะเวลาที่สินค้าจะออกสู่ตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงการคาดการณ์และการควบคุมระยะไกลต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำแบบ Real-time แต่ในประเทศไทยนั้น 5G อาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าใหม่มาก การใช้งานทั่วไปจึงยังมีข้อจำกัดอยู่ทั้งทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่รองรับและแอปพลิเคชันที่จะนำไปใช้ แต่สำหรับในภาคอุตสาหกรรมเองต้องบอกว่าเริ่มมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และมีผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้แล้ว โดยเฉพาะกรณีศึกษาจากการใช้งานจริงจากผู้ให้บริการระดับแนวหน้าอย่าง AIS Business 5G

6 คุณสมบัติสำคัญของ 5G สำหรับภาคการผลิตจากประสบการณ์ของ AIS Business 5G

การบูรณาการ 5G เข้ากับโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนานใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวางแผนระบบเครือข่ายเดิมไว้อยู่แล้ว การเริ่มต้นใช้งานนั้นหลายครั้งจึงมาจากความต้องการแก้ปัญหาในกรณีเล็ก ๆ หรือประเด็นที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มขยับปรับเปลี่ยนในส่วนอื่นให้กลายเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน

AIS Business 5G ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ซึ่งมีประสบการณ์มายาวนาน เล็งเห็นถึงแนวโน้มของ 5G ที่เข้ามามีบทบาททวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเดินหน้าเต็มกำลังทำให้ในปี 2020 ทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นภาพที่ชัดเจนและจับต้องได้ทั้งยังมีความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายที่มีการทรานส์ฟอร์มกันอย่างแพร่หลายโดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก รายกลาง หรือรายใหญ่ ภายใต้ความท้าทายของยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ AIS Business 5G มองเห็นศักยภาพในการใช้งานเทคโนโลยี 5G กับภาคอุตสาหกรรมที่ชัดเจนและจับต้องได้มากกว่าใคร โดย AIS Business 5G ได้เล็งเห็นถึง 6 คุณสมบัติที่สามารถสร้างความแตกต่างในการแข่งขันยุคใหม่จากการใช้เทคโนโลยี 5G ดังนี้

ความเร็วในการสื่อสารระดับสูง

ความรวดเร็วในการส่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รองรับการทำงานได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน PLC ที่ควบคุมระบบอัตโนมัติ ระบบ SCADA/MES ที่บริหารจัดการข้อมูลทั้ง Shopfloor ไปจนถึงการใช้งานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่อย่าง Machine Vision หรือการเทรน AI ต่าง ๆ เทคโนโลยี 5G ทำให้สามารถรองรับการใช้งานระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานระดับสูงอย่างโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก AIS Business 5G:

AIS Business 5G ได้มีความร่วมมือกับ NTT Docomo จากประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันทำระบบ Remote Supervision โดยอาศัยการส่งข้อมูลปริมาณมากซึ่งเป็นภาพจากหน้างานด้วยความเร็วสูงจาก 5G ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถตรวจสอบ และมอนิเตอร์การทำงานในโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยได้แบบ Real Time ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดที่ผ่านมา

ระดับความหน่วงต่ำกับการตอบสนองอันฉับไวแบบ Real-time

การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้า การควบคุมกลุ่ม Feedback Control และการทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ ไปจนถึงขั้นตอนด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น การทำงานร่วมกันของแขนกลที่ต้อง Synchronize ร่วมกันให้มีความหน่วงน้อยที่สุดไปจนถึงไม่มีเลยเพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานรับส่งกันได้และไม่เกิดการชนกันเอง เป็นต้น หรือในกรณีของ AMR ที่ต้องทำงานร่วมกับสายพานหรือแขนกลอื่น ๆ เป็นต้น

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก AIS Business 5G:

กรณีของโรงงาน Yawata ได้มีการนำหุ่นยนต์มาช่วยในการยกของบนพาเลท (Automatic Packing Machine) และเคลื่อนย้ายพาเลทด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robot – AMR) โดยการทำงานร่วมกันของทั้งสองระบบจะต้องอาศัยความหน่วงต่ำ และการตอบสนองแบบรวดเร็ว ฉับไว เพื่อให้ทั้งสองระบบสามารถเชื่อมผสานการทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ และเพิ่มประสิทธิภาพในการแพ็กสินค้าหรือเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างสูงสุด

ความคล่องตัวในการใช้งานซึ่งครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง

 หนึ่งในความท้าทายของยุคปัจจุบัน คือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หากโรงงานอุตสาหกรรมต้องการบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยีที่ต้องมีการเคลื่อนที่ การเดินสายจะไม่สามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการใช้งานยานยนต์อัตโนมัติที่มีความเร็วในการเคลื่อนที่และมีระยะทำการที่ค่อนข้างไกล 5G นั้นไม่ต้องการจุดกระจายสัญญาณจำนวนมากแต่ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานในแบบที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออื่น ๆ ทำได้

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก AIS Business 5G:

Smart Seaport – ปูพรมเครือข่าย 5G ครอบคลุมเต็มทุกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใน EEC ทั้งภาคพื้นดิน ทะเล และอากาศ โดยการนำ 5G ใช้ในการบริการจัดการด้านโลจิสติกส์และโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมพื้นที่วงกว้างไปใช้ในระบบการควบคุมเครนระยะไกล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในอาคารสำนักงาน สามารถควบคุมเครนในการยกตู้คอนเทนเนอร์ในบริเวณท่าเรือได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงและอันตรายจากการควบคุมเครนในพื้นที่ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

Network Slicing การจัดการช่องทางสัญญาณได้แบบ 100%

รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีหลากหลาย แต่ละกิจกรรมก็มีความต้องการในการใช้งานแตกต่างกัน เช่น เซนเซอร์ IIoT ที่ส่งข้อมูลจำนวนเล็กน้อยแต่มีจำนวนมากและมีการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะมีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรบนระบบการเชื่อมต่อที่แตกต่างจาก Machine Vision ที่มีขนาดใหญ่ Network Slicing ที่รองรับ QoS จะทำให้เกิดการปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น และช่วยให้สามารถใช้งานทรัพยากรในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างความสูญเปล่าจากการใช้งานที่ขาดหรือเกิน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่สามารถใช้ได้บน 3G หรือ 4G ในขณะที่ WiFi ต้องมีการปรับแต่งบน IP Network ซึ่งมีปัญหาด้าน Spectrum หรือต้องดำเนินการบนช่องทางสาธารณะอย่าง Unlicensed Band ที่ความปลอดภัยต่ำ

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก AIS Business 5G:

SNC Industrial Automation – ตัวอย่างการใช้งานการจัดการ network ด้วยเทคนิคการทำ Network Slicing เช่น การใช้งานเครือข่าย 5G ในโรงงานของ SNC ด้วยการทำ FWA (Fixed Wireless Access) เพิ่มความครอบคลุมของเครือข่าย 5G แบบไร้สายภายในโรงงานและกำหนดคุณภาพการใช้งานโครงข่าย 5G เฉพาะสำหรับหุ่นยนต์ และเครื่องจักรกลภายในโรงงานโดยเฉพาะ ทำให้หุ่นยนต์และเครื่องจักรต่างๆ สามารถใช้งานเครือข่ายได้ตามความต้องการของระบบ โดยไม่ถูกรบกวนจากการใช้งาน 5G ด้วยอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นโทรศัพท์มือถือของพนักงานในโรงงาน ช่วยทำให้มั่นใจในศักยภาพของระบบการสื่อสารของเครื่องจักรในโรงงานได้เต็ม 100%

ลดระยะเวลาในการประมวลผลผ่านเครือข่ายด้วย Edge Computing

การประมวลผลแบบดั้งเดิมอาจต้องมีคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ตั้งไว้ใกล้ ๆ ในพื้นที่เพื่อควบคุมและตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การดีดของเสียออกจากสายพานอัตโนมัติให้ได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด แต่ในการทำงานยุคใหม่ที่ใช้ Cloud ในการทำงาน หากเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายอยู่ไกลจากสถานที่การทำงานจะเกิดความหน่วงของสัญญาณที่ส่งไปและคำสั่งที่ตีกลับมาทำให้เกิดการคัดสินค้าออกที่ผิดพลาดได้ ในกรณีของ 5G ที่มาพร้อม Edge Computing ที่หน่วยประมวลผลจะอยู่ในเครือข่ายใกล้กับสถานที่ประกอบการจะแก้ปัญหาความหน่วง ทั้งยังสามารถแบ่งปันใช้งานกับธุรกิจอื่น ๆ ในพื้นที่เดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งทุกจุดในการทำงานเหมือนระบบดั้งเดิม ในกรณีที่ต้องการทำงานที่ซับซ้อนขึ้นไปก็สามารถส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ใหญ่ หรือ Cloud ได้อีกด้วยเช่นกัน Edge Computing จึงช่วยลดต้นทุนในการประมวลผลและเพิ่มความรวดเร็วให้กับกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5G Private Network

 Private 5G Network เป็นการออกแบบเครือข่ายเฉพาะความต้องการใช้งานกับโรงงานนั้น ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในระดับสูงสุด แยกออกมาจากโครงข่ายทั่วไป โดยมีโมเดลให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น Virtual Private Network หรือ Dedicated Private Network หนึ่งในกรณีการใช้งานที่น่าสนใจ คือ การใช้งานในพื้นที่ห่างไกลและต้องการใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ การติดตั้งเครือข่ายเฉพาะทำให้ไม่ต้องกังวลด้านข้อจำกัดว่าสัญญาณจะสามารถเข้าถึงได้หรือไม่

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก AIS Business 5G:

ด้วยความร่วมมือของ Siasun, AIS Business และ Huawei ร่วมสนับสนุน Somboon Advance Technology พลิกโฉมสู่การทำ Smart Manufacturing ด้วยการส่งมอบ 5G Solutions ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น 3D Vision-Robot, AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV โดยในแต่ละ solution มีความจำเป็นในการใช้การประมวลผลอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถสร้าง action ให้เกิดได้อย่างเหมาะสม เช่น ระบบ 3D Vision Robot ระบบจำเป็นต้องทำการส่งข้อมูลภาพของชิ้นงานด้วยความเร็วสูงและต้องการการประมวลผลอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อสามารถหยิบจับ และเคลื่อนย้ายชิ้นงานไปในพื้นที่ที่ถูกต้อง ด้วยความต้องการของระบบนี้การ Edge computing จึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลให้ได้ความเร็ว และประสิทธิภาพสูงสุด

อีก 1 คุณสมบัติของ 5G ที่ถูกนำมาใช้ในโรงงานของ Somboon Advance Technology คือ 5G Private Network เพื่อที่จะสามารถรักษาข้อมูลความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวทางด้านธุรกิจของลูกค้าไว้ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องด้วยโรงงาน Somboon Advance Technology นี้เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ข้อมูลการผลิตและข้อมูลต่าง ๆ ภายในโรงงานจึงถือเป็นข้อมูลสำคัญและการทำงานด้วยข้อมูลแต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่คงไว้ซึ่งความมั่นใจ และความเชื่อถือของลูกค้า

5G เทคโนโลยีที่ต้องจับมือพันธมิตรเพื่อเติบโตอย่างมั่นคง

แม้ว่าการให้บริการจาก AIS Business 5G จะเป็นการดูแลแบบ One Stop Service ที่พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ แต่ความเชี่ยวชาญดั้งเดิมนั้นอยู่ในกลุ่มของเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสื่อสาร จึงมีความคุ้นเคยด้าน IoT, Cloud ไปจนถึงพวกระบบเครือข่ายต่าง ๆ ซึ่งเน้นไปในด้าน IT ในขณะที่เทคโนโลยี OT ก็ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือ เพื่อยกระดับการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงและสอดคล้องกับการเติบโตที่ผู้ประกอบการต้องการ

โดยพันธมิตรด้านเทคโนโลยี OT ของ AIS Business 5G นั้นมีทั้งภาครัฐ สถาบัน องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานเอกชนที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น อาทิ Automation Park, BOSCH, DEPA, EECi, MITSUBISHI ELECTRIC, NCS, NECTEC, NSTDA, OMRON, SCHNEIDER ELECTRIC, SMC , TARA, TKK และ สถาบัน ICTI – สภาอุตสาหกรรม นอกจากนี้ AIS Business 5G ยังเป็นพันธมิตรกับนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อบูรณาการระบบให้สามารถใช้งานและเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ, WHA, สหพัฒน์, บางกระดี, โรจนะ, บางปูเหนือ, HiTech และ ไทย บอนเนต เทรดดิ้ง โซน

ความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกิดขึ้น ทำให้ AIS Business 5G สามารถสร้าง Ecosystem ที่เหมาะสมกับการแข่งขันในการผลิตยุคใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลผ่าน 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพและวัดผลได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การบูรณาการข้อมูลจาก OT สู่ IT ผ่าน ERP เพื่อติดตามกระบวนการผลิต และออกคำสั่งลงไปยังหน่วยดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและเกิดประสิทธิผล ไม่ว่าจะเป็นการติดตามทรัพยากร การติดตามคุณภาพการผลิต ไปจนถึงความสามารถในการส่งสินค้าได้ตรงตามเวลา

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำงานร่วมกันบนเครือข่าย 5G สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตั้งแต่จุดที่เล็กที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องแบบที่เหมาะสมต่อการทำงานในพื้นที่เฉพาะของโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงความสามารถในการบริหารซัพพลายเชนทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย เพราะการสนับสนุนของ AIS Business 5G ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภาคส่วนอย่างแท้จริง

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 2 ปี นั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสายการผลิตอัจฉริยะ การควบคุมสั่งงานโรงงานจากระยะไกล Smart Workplace และ Smart Workforce ที่สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือในส่วนของโซลูชันสำหรับการบริหารจัดการพลังงานและมลภาวะต่าง ๆ ก็มีการใช้งานจริงที่เห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนแล้วเช่นกัน

แต่อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งในการบูรณาการระบบหรือผู้ที่สนใจเริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ คือ เรื่องของเงินทุน สำหรับธุรกิจขนาดเล็กการลงทุนสำหรับระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีดิจิทัลมูลค่าสูงอาจเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดอย่างหนัก แม้ว่าจะเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่เรื่องความคุ้มค่ากับสภาพคล่องทางการเงินกลายเป็นประเด็นหลักที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ช้าหรือแทบเป็นไปไม่ได้ หากมองในมุมของธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดใหญ่การพิจารณาในเรื่องของศักยภาพการแข่งขันและการลดความสูญเปล่าแล้วความคุ้มค่าจะมีมากกว่าธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดไมโครอย่างแน่นอน แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางแล้วสภาพคล่องทางการเงินก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นกำแพงกั้นขวางการลงทุน ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับมอบหมายคำสั่งจากบริษัทแม่หรือผู้บริหารให้ยกเครื่องระบบ เม็ดเงินที่ใช้ก็เรียกได้ว่ามีมูลค่าหลักล้านหรือสิบล้านแตกต่างจากธุรกิจขนาดเล็กและกลางอย่างชัดเจน

เพื่อสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น AIS Business 5G จึงได้จับมือพันธมิตรอย่าง SMC สนับสนุนโอกาสทางด้านการเงินจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ ด้วยการแนะนำข้อมูลด้านการขอสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญที่รับประกันได้ว่าความต้องการที่เกิดขึ้นจะเป็นจริงได้อย่างแน่นอน

AIS 5G x SMC เปิดประตูสู่ Digital Transformation เปลี่ยนภาษีให้กลายเป็นเงินลงทุน 100%

เชื่อหรือไม่ว่าผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเสียโอกาสที่สามารถรับการสนับสนุนจากภาครัฐได้เป็นจำนวนไม่น้อย โอกาสที่เสียไปเหล่านี้ย่อมหมายถึงโอกาสในการแข่งขันของธุรกิจและโอกาสในการปรับปรุงความสามารถในการทำงานด้วยเช่นกัน AIS Business 5G มองเห็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจึงได้จับมือกับพันธมิตรอย่าง SMC หรือ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center) ซึ่งอยู่ภายใต้ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ในการดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงโอกาสที่มีให้เกิดความสำเร็จ

โดยความร่วมมือระหว่าง AIS Business 5G และ SMC จะมีการให้บริการหลัก 2 บริการ ได้แก่

1. ตรวจสอบสถานะปัจจุบันของโรงงานอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และผลักดันให้เกิดการดำเนินธุรกิจให้ผ่านรับรอง การตรวจสอบ และการประเมิน Thailand i4.0 Index ซึ่งจะเป็นหลักประกันให้กับความพร้อมและศักยภาพของตัวธุรกิจเอง

2.  ให้คำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยได้รวบรวมสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องจาก BOI หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีบริการตั้งแต่การตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่เป็นไปได้ ไปจนถึงการเขียนโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ

หนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจและมีมูลค่าสูง คือ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเน้นที่มาตรการ 6 ด้านที่ใช้ในการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมาตรการทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรตามเกณฑ์ที่กำหนด
  3. ด้านการวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรม
  4. ด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล
  5. ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
  6. ด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0

สิทธิประโยชน์ที่จะตกแก่ผู้ประกอบการ คือ การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน โดยระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ฯ ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับการส่งเสริม หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่านำภาษีที่ต้องจ่ายภาครัฐตลอด 3 ปีมาเป็นเงินลงทุนให้กับธุรกิจก็ไม่ผิดจากเป้าประสงค์นัก

ความท้าทายของการขอการสนับสนุนจากภาครัฐมักจะเกิดขึ้นกับเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย เกณฑ์ต่าง ๆ ไปจนถึงรูปแบบการเขียนโครงการเพื่อขอการสนับสนุน ซึ่งพันธมิตรของ AIS ฺBusiness 5G อย่าง SMC นั้นเรียกได้ว่ามีความเชี่ยวชาญและมีความคุ้นเคยอย่างมากกับหลักดำเนินการที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อ BOI ได้รับคำร้องขอการสนับสนุนแล้ว ก็จะมอบหมายหน้าที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบและประเมิน ซึ่งหน่วยงานที่รับหน้าที่ดังกล่าวก็คือ NSTDA ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานเงื่อนไขการอนุมัติร่วมกับ BOI

AIS Business 5G เข้าใจดีว่าผู้ประกอบการอาจจะไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์ หรืออาจจะคาดไม่ถึงในขั้นตอนรายละเอียดต่าง ๆ จึงได้เกิดเป็นความร่วมมือกับ SMC เพื่อทำให้ผู้ประกอบการสามารถเกิด Transformation ในการผลิตขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนที่สอดคล้องกับนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาเรื่องการลงทุนซึ่งเป็นกำแพงหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต้องหยุดชะงักและพับแผนการพัฒนาต่าง ๆ ลง

หากนักอุตสาหกรรมหรือธุรกิจภาคการผลิตรายใดที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ จากการยกระดับการผลิต การเปลี่ยนแปลงสายการผลิตเดิม หรือการขยายโรงงานด้วยเทคโนโลยีการผลิตยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ AIS Business 5G สามารถสนับสนุนความต้องการที่เกิดขึ้นด้วยการวางรากฐานด้านระบบโครงข่ายข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน พร้อมด้วยการสนับสนุนจากพันธมิตรที่ครบมิติใน Ecosystem ตั้งแต่การสนับสนุนการลงทุน การบูรณาการ IT และ OT เข้าด้วยกัน ไปจนถึงโซลูชันเงื่อนไขจำเพาะต่าง ๆ ที่ธุรกิจต้องการ เรียกได้ว่าธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ก็เปลี่ยนไปสู่การผลิตยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขของตัวเองด้วยโซลูชันและบริการแบบ One Stop Service จาก AIS Business 5G

AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email: [email protected]
Website: https://business.ais.co.th

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924