Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

5 ผลลัพธ์จากการใช้ Industrial Edge ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การแข่งขันในอุตสาหกรรมยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวเร่งนั้นกรรมวิธีและกระบวนการผลิตรูปแบบเดิมไม่อาจแข่งขันในตลาดได้อีกต่อไปโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ในการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารมีข้อมูลเกิดขึ้นมหาศาลและข้อมูลเหล่านั้นสามารถบ่งบอกถึงปัจจัยความเสี่ยง ต้นทุนที่ใช้ ตลอดจนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งการบริหารจัดการแบบเดิม ๆ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ แม้แต่ความถูกต้องเองก็ยังมีแนวโน้มในระดับต่ำกว่า ดังนั้นการตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยิ่งเชื่องช้าและมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้นเช่นกัน เทคโนโลยีกลุ่ม Industrial Edge จึงเข้ามามีส่วนแก้ปัญหาเหล่านี้

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Industrial Edge หรือ Edge Computing แต่ยังไม่มั่นใจนักว่ามีความหมายว่าอย่างไร ในขณะที่หลายคนอาจจะรู้สึกว่าคำนี้เป็นสิ่งที่ห่างไกลจากชีวิตตัวเอง แต่อันที่จริงแล้วชีวิตทั่วไปของเราเข้าใกล้ Edge มากขึ้นกว่ายุคที่ผ่านมาอย่างมากด้วยการเติบโตของดิจิทัล, Cloud, IoT, AI ไปจนถึง Big Data และถ้าใครบอกว่าไม่จริง Facebook หรือ Google ที่คุณใช้กันอยู่ทุกวันนั้นก็เป็นการรวบรวมเทคโนโลยีเหล่านั้นไว้ด้วยกันอย่างชัดเจนบนพื้นฐานของข้อมูล แต่คุณรู้กันหรือไม่ว่า Industrial Edge คืออะไร?

รู้จัก Industrial Edge เบื้องต้น

โดยทั่วไปแล้วคำว่า Edge ที่นิยมใช้กันในเทคโนโลยีปัจจุบันนั้นหมายถึงคำว่า Edge Computing ซึ่งเป็นการประมวลผลที่รวดเร็วอย่างมากแตกต่างจากการประมวลผลทั่วไป โดยเป็นการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมาเพื่อประมวลผลโดยตรงทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วแตกต่างจากขั้นตอนรูปแบบเก่าที่ต้องดำเนินการผ่านตัวกลาง ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงานแต่ละแผนกสมัยก่อนที่ต้องดำเนินการผ่านหัวหน้าเพื่อขอความช่วยเหลือ ปรึกษา หรือใช้ข้อมูลจากแผนกอื่น แต่ Edge Computing นั้นเหมือนกับการที่คนทำงานแต่ละคนยกโน้ตบุคมานั่งข้าง ๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลและดำเนินการด้วยกันทันทีทันใดโดยไม่ต้องผ่านคนกลางอีกต่อไป ลดขั้นตอนการเดินทางของข้อมูลทำให้การเรียกข้อมูลเพิ่มเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีความใกล้เคียงกับการทำงานแบบ Real-time มากที่สุด

ดังนั้น Industrial Edge หรือ Industrial Edge Computing จึงเป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานระบบที่ทำการเชื่อมต่อทุกตำแหน่งที่เกิดข้อมูลขึ้นในระบบจากเซนเซอร์ตัวเล็ก ๆ เช่น เครื่องจักร หุ่นยนต์ พัดลมระบายอากาศ แสงไฟหรืออุปกรณ์ IoT เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีจากแหล่งกำเนิดข้อมูล เป็นกระบวนการทำงานแบบ Real-time ที่ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูลร่วมกับ Cloud ได้โดยเกิดประโยชน์สูงสุด

5 ผลลัพธ์จากการใช้ Industrial Edge ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของสังคมมนุษย์ ความปลอดภัยทางอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และนอกจากนี้รายละเอียดปลีกย่อยในอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้แม้จะมีขนาดเล็กสักเท่าใดก็ตาม การจะรวบรวมข้อมูลและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีนั้น Industrial Edge Computing เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ในการใช้งาน Industrial Edge สำหรับงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นสามารถแบ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้ประโยชน์จาก Internet of Things (IoT), Big Data และการวิเคราะห์ในบริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นสามารถมองเห็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CapEX) ที่แท้จริงได้ ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนลง 30% จากการทำให้สินทรัพย์เดิมที่มีอยู่ทำงานได้ยืนยาวยิ่งขึ้น ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่สามารถสร้างข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของสินทรัพย์นั้น ๆ ทำให้สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์การซ่อมบำรุงได้ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่มีกับค่าพื้นฐานที่กำหนด องค์กรสามารถประเมิณได้ว่าอุปกรณ์ใดไม่สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็นอันนำไปสู่การซ่อมบำรุง การดำเนินการเหล่านี้ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพสูงสุดและยืดอายุของสินทรัพย์ที่มีค่าเหล่านี้ออกไป

2. เพิ่มความสามารถให้ระบบการทำงาน

เทคโนโลยีดิจิทัลนั้นจำเป็นต่อการติดตามปริมาณข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นอย่างมากในซัพพลายเชนทั้งหมดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยจำนวนหน่วยสินค้าในคลัง (SKUs) ของแต่ละบริษัทนั้นมีการเพิ่มขึ้นตามเวลาและในแต่ละ SKU ต่างก็มีชุดข้อมูลมากมายเพื่ออธิบายแต่ละแบทช์, วัตถุดิบ, การทำงานในการผลิตและข้อมูลอื่น ๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่ามีข้อมูลเป็นล้าน ๆ ตำแหน่งที่เกิดขึ้นซึ่งต้องติดตามและใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลในหลาย ๆ ระบบ เช่น สายการบรรจุผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องถูกประมวลผลแบบ Real-time หรือเป็นการทำงานที่มีลักษณะใกล้เคียงอย่างมาก การบูรณาการการประมวลผลในสถานที่ทำงานจริงและโซลูชันจากซอฟต์แวร์สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานได้ด้วยการยกระดับคุณภาพ ผลกำไรและผลผลิตไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อย่างลงตัว

3. บริหารจัดการคุณภาพให้เป็นไปตามต้องการ

ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้นจำเป็นต้องเก็บเอาไว้เพื่อติดตามคุณภาพและเพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎหมายของแต่ละรัฐบาล บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันเพื่อให้เกิดความโปร่งใสจากแหล่งที่มาของอาหาร นำไปสู่ความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลที่เล็กที่สุดในการติดตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งซัพพลายเชน เรียกว่าตั้งแต่ออกจากไร่ไปจนถึงปลายช้อน เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยบริษัทเหล่านี้ให้รับมือกับความท้าทายโดยเพิ่มความแม่นยำของข้อมูลได้มากถึง 17%

4. สู่ฝั่งฝันด้านพลังงานและความยั่งยืน

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในการยกระดับคุณภาพการใช้พลังงานไปจนถึงการดำเนินการด้านความยั่งยืน แน่นอนว่าเครื่องมือที่สามารถเพิ่มศักยภาพอุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและติดตามประสิทธิภาพของกระบวนการต่าง ๆ ในขณะที่ยังทำให้มั่นใจด้วยว่าใช้พลังงานและน้ำไปอย่างคุ้มค่าที่สุดนั้นจะช่วยประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากมีการติดตามข้อมูลที่ครอบคลุมโดย Industrial Edge Computing แล้วพลังงานที่ใช้จะลดลงไปได้ถึง 35%

5. ยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มความสามารถให้กับแรงงาน

ในท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถยกระดับความปลอดภัยของแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งยังเพิ่มความสามารถในการทำงานด้วยข้อมูลต่าง ๆ แบบ Real-time รวมถึงการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้การตัดสินใจในระบบการทำงานให้มีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นรวมถึงงานซ่อมบำรุงที่ง่ายดายกว่าเดิมอีกด้วย เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Augmented Reality (AR)  และ Virtual Reality (VR) เพื่อฝึกฝนการทำงานจะช่วยฝึกฝนแรงงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และมีผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลจาก Capgemini Research Institute ที่สอบถามไปยังบริษัทมากกว่า 600 แห่งพบว่า มากกว่า 75% นั้นมีการใช้งาน AR และ VR ในวงกว้าง โดยรายงานเปิดเผยว่าผลลัพธ์ในการทำงานที่สูงขึ้นมากกว่า 10% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพ ผลิตผล และความปลอดภัย

การเปลี่ยนแปลงสู่โรงงานดิจิทัลจำเป็นต้องมี Industrial Edge Data Centers

เทคโนโลยีแห่งการเปลี่ยนผ่านนั้นได้นำมาซึ่งผลประโยชน์อันมากมายให้กับบริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม แต่ด้วยความสามารถในการทำงานแบบ Real-time ที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นปัจจัยพื้นฐานและกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในโรงงานนั้นจึงทำให้ Industrial Edge Data Centers กลายเป็นฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้ Industrial Edge Data Centers จึงเป็นเหมือนสะพานสำหรับ Digital Transformation เพื่อไปให้ถึงจุดหมายในการทำงานที่ปลอดภัย มีการทำงานที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และในท้ายที่สุดความยั่งยืนต่อภาคธุรกิจ

แล้วโซลูชันแบบไหนจำเป็นสำหรับ Industrial Edge? บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนไปสู่โซลูชันที่สามารถติดตามและควบคุมระบบได้ไม่เฉพาะการทำงานในโรงงานเท่านั้น แต่จำเป็นต้องครอบคลุมให้ทั่วทั้งซัพพลายเชน ตัวอย่างของโซลูชันที่สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่เพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ คือ EcoStruxure สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม และซอฟต์แวร์จาก AVEVA

นอกจากนี้โซลูชัน Micro Data Center ยังช่วยให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ IT ได้อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือแม้ในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมไม่ใช่ IT ก็ตาม  หนึ่งในตัวอย่างการใช้งาน Micro Data Center คือ EcoStruxure Micro Data Center C-Series จาก Schneider Electric ที่มีการบูรณาการ UPS, PDU และงานด้านความปลอดภัยเข้าด้วยกันอย่างลงตัวภายในตู้แบบ All-in-One ซึ่งใช้พื้นที่น้อยลง ถึง 60% แต่ยัง สามารถสนับสนุนการใช้งาน Edge Server ขนาดใหญ่ ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมอีกด้วย

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันอุตสาหกรรมแห่งอนาคต:

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924