Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

5 เทรนด์อุตสาหกรรมน่าจับตาปี 2024 จาก Deloitte

Deloitte บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาได้เปิดเผยการคาดการณ์เทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับภาคการผลิตปี 2024 โดยแบ่งประเด็นที่น่าสนใจไว้ 5 ประการ ซึ่งผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรพลาด

ในปี 2024 ที่กำลังจะมาถึงนี้เหล่าผู้ผลิตจะต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนจากปัจจัยการขาดแคลนแรงงานทักษะ ปัญหาด้านการก่อกวนของซัพพลายเชน และความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเพื่อความสอดคล้องกับเป้าขององค์กรที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้เป็น 0

จากการวิเคราะห์ PMI ของ Deloitte เปิดเผยว่าภาคการผลิตนั้นอยู่การภาวะการหดตัวเสียเป็นส่วนใหญ่ในปี 2023 การมองหากลยุทธ์ในการเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้น การยกระดับสเกลในการผลิต ยกระดับความสามารถในการท้าทาย และการมองหาเงินทุนที่ไหลเวียนอย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการแข่งขันปี 2024 โดยได้มีการสรุปเทรนด์ที่สามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขเหล่านี้ได้ขึ้นมาดังนี้

1. ต้องเอาชนะปัญหาความท้าทายในการหาแรงงานทักษะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความท้าทายแรงงานในปี 2024 นั้นเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากปี 2023 โดย NAM (National Association of Manufacturers) ได้เผยผลสำรวจว่า 3/4 ของผู้บริหารมองเรื่องการดึงดูดและรักษาแรงงานคุณภาพเป็นความท้าทายหลัก ความยืดหยุ่นหน้างานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารกว่า 46.8% เสนอให้มีตารางการทำงานของแรงงานผลิตที่ยืดหยุ่นขึ้น รวมถึงการทำงานจากภายนอก การบีบอัดสัปดาห์ทำงาน และการแลกหรือแบ่งกะ ในขณะที่ Deloitte วิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระหว่างไตรมาสแรกปี 2022 และ 2023 มีการขึ้นค่าแรงต่อชั่วโมง 4% ซึ่งทำให้ลดค่าเฉลี่ยการตัดสินใจลาออกในช่วงเวลาเดียวกันถึง 19%

นอกเหนือจากการมองหาแรงงานหน้าใหม่แล้ว การวางกลยุทธ์แรงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องมือดิจิทัลในการหาผู้มีความสามารถ นอกจากนี้การพัฒนาโปรแกรมสำหรับแรงงานเก่าที่เกษียณออกไปเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้นั้นล้วนอัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ การสร้างเครือข่ายให้เช่ื่อมต่อกับองค์กรจะช่วยให้เกิดการส่งต่อความรู้ได้อีกด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวางแผนวางแนวทางในการยกระดับทักษะของแรงงานและผู้เชี่ยวชาญให้ชัดเจน ประเมินผลได้

2. โรงงานอัจฉริยะและการเดินทางของธุรกิจต้องมุ่งหน้าเข้าหา Metaverse ของโลกอุตสาหกรรม

ภายใต้ความไม่แน่นที่เกิดขึ้นหลากหลายมิตินั้นทำให้ทิศทางการเปลี่ยนผ่านสู่โรงงานอัจฉริยะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า 83% ของผู้ผลิตเชื่อว่าโรงงานอัจฉริยะจะเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตในอีก 5 ปี ซึ่งคึณสมับติของโรงงานอัจฉริยะจะเพิ่มความคล่องตัว ความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ เพิ่มประสิทธิภาพโดยการดำเนินการทั้งหมดจะเกิดความโปร่งใสและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ชัดเจน

แต่โรงงานอัจฉริยะอาจยังไม่ใช่ปลายทาง ผลการศึกษาของ Deloitte พบว่า 70% ของผู้ผลิตที่ทำแบบสอบถามให้ความสำคัญและใช้งานเทคโนโลยีอย่าง Data Analytics และ Cloud Computing ในกระบวนการ เกินกว่าครึ่งมีการใช้งาน IoT, อุปกรณ์และระบบสมัยใหม่ซึ่งเป็นพื้นฐานของโรงงานอัจฉริยะแล้ว ในขณะที่ผู้เล่นรายหลักเริ่มลงทุนใน Digital Twins, โมเดล 3 มิติ และการสแกน 3 มิติ ซึ่งจะกลายเป็นฐานสำคัญให้เกิดสภาพแวดล้อมแบบ Immersive 3D สำหรับ Industrial Metaverse จากข้อมูลของ Deloitte พบว่า 92% ของนักอุตสาหกรรมที่ร่วมทำแบบสำรวจมำการทดลองหรือบูรณาการกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse อย่างน้อย 1 กรณี โดยเฉลี่ยแล้วมี Use Case เกิดขึุ้นที่ 6 กรณี โดยผู้บริหารให้ความเห็นว่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพสำคัญหลากหลายด้านนั้นมีตัวเลขเพิ่มขึ้น 12% ขึ้นไป

ในขณะเดียวกันปัญหาด้าน Cybersecurity ก็เพิ่มขึ้นมากเป็นเงาตามตัวเช่นกัน โดยในการศึกษาล่าสุดพบว่า มากกว่าครึ่งของบริษัทอุตสาหกรรมตกเป็นเป้าโจมตีของ Ransomware ซึ่ง 7 ใน 10 นั้นเป็นก่อให้เกิดการเข้ารหัสข้อมูลจากผู้ก่อเหตุ ดังนั้นในการทำ Digital Transformation เรื่องของ Cybersecurity จึงเป็นเรื่องที่ต้องเติบโตไปควบคู่กัน

3. ทำซัพพลายเชนให้เป็นดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลกซัพพลายเชนเป็นสิ่งที่ทุกคนหันมาให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของ Deloitte ชี้ว่าในปีที่ผ่านมานั้นมีระยะเวลาการนำส่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ทว่ายังคงมีความท้าทายที่เกิดขึ้นสำหรับ Lead Time สำหรับวัตถุดิบการผลิตซึ่งยังไม่กลับมาเท่ากับก่อนการระบาดครั้งใหญ่ หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดขาดแคลนนั้นอยู่ที่ส่วนประกอบ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีการขาดแคลนติดต่อกันต่อเนื่องมากกว่า 30 เดือนแล้ว สร้างความซับซ้อนให้กับกระบวนการผลิต

จากข้อมูลของ Deloitte พบว่า 76% ของผู้ผลิตกำลังปรับใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับซัพพลายเชน 21% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามปี 2023 อยู่ในระหว่างบูรณาการเทคโนโลยี Metaverse เพื่อยกระดับซัพพลายเชน เพื่อจำลองศักยภาพอันหลากหลายของผลิตภัณฑ์สำคัญภายใต้เงื่อนไขของโลกจริง ส่วนเทคโนโลยีในอนาคต เช่น พวก Blockchain หรือ Smart Contract นั้นได้รับความสนใจจากผู้ผปลิตมากขึ้น

4. บริการหลังการขายเป็นการสร้างความต่างที่มีประสิทธิภาพ

ผู้ผลิตมักเพิ่มความต้องการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตัวเองด้วยการใส่เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไป เช่น IoT หรือ Onboard Computer ไปจนถึง AR หรือนวัตกรรมอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อขยายขีดจำกัดออกไป ในขณะเดียวกันงานบริการหลังการขายก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกันเพราะเป็นตัวสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของการใช้ผลิตภัณฑ์ในระยะยาวแม้ว่าจะมีการแย่งชิงตลาดด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ การมีบริการหลังการข่ายที่แข็งแรงจะทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ เป็นสัญญาณของสัญญาระยะยาวว่าผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งข้อมูลของ Deloitte ชี้ให้เห็นว่า 71% ของคนในอุตสาหกรรมมักพูดถึงบริการหลังการขายที่ดี

การเพิ่มศักยภาพการบริการหลังการขายนำไปสู่ผลประโยชน์หลากหลายประการสำหรับผู้ผลิต ได้แก่ โอกาสในการสร้างรายได้ด้วย Margin ที่ดียิ่งกว่าถึง 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับการขายอุปกรณ์ใหม่ ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องอีกด้วย ในขณะที่การบริการหลังการขายที่ดีจะช่วยยกระดับความจงรักภักดีของแบรนด์จากลูกค้า รวมถึงการ Upselling และ Cross-Selling ได้อีกด้วย

5. การใช้พลังงานไฟฟ้าและการลดคาร์บอนของผลิตภัณฑ์

ด้วยแนวทางการเดินหน้าธุรกิจสู่การปลดปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ส่งผลต่อการลงทุนและการใช้งานพลังงานไฟฟ้าและการลดคาร์บอนของธุรกิจในวงกว้าง การลงทุนใน EV เช่น สถานีชาร์จจะได้รับการสนับสนุนโดย IRA ซึ่งมีนโยบายในการผลักดันด้วยการอุดหนุนผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาสภาพแวดล้อมและพลังงานเป็นมูลค่ากว่า 270,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทิศทางดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและโรงงาน รวมไปถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น แร่กลุ่ม Rare Earth

ในการเอาชนะความท้าทายสำำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องดำเนินการให้เกิดความร่วมมือกันในการลดคาร์บอน, กำหนดแนวทางและมุ่งหน้าสู่นโยบายการลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์, การสร้างความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง และวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อขยายตัวสู่ตลาดที่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น

จากการศึกษาข้อมูลของ Deloitte พบว่า 86% ของแบบสอบถามผู้บริหารภาคการผลิตเชื่อว่าโซลูชันโรงงานอัจฉริยะจะเป็นตัวขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันเป็นหลักตลอดระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตยังคาดการณ์ว่า Industrial Metaverse เป็นตัวนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ Productivity แรงงานสูงถึง 12% ซึ่งอาจแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ ในขณะที่ GenAI นั้นมีความน่าสนใจในงานออกแบบผลิตภัณฑ์, บริการหลังการขาย และการบริหารซัพพลายเชน ซึ่งสอดคล้องกับทั้ง 5 เทรนด์ที่ต้องการขับเคลื่อนภายใต้ความท้าทายของการแข่งขันที่มีแน้วโน้มจะเกิดขึ้นนับจากนี้

ที่มา:
deloitte.com

อัปเดทองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชันด้านอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติแห่งปี 2024 ได้ก่อนใครที่
AUTOMATION EXPO 2024
พบกับหัวข้อสัมมนาสำหรับระบบอัตโนมัติและโซลูชันในภาคการผลิตกว่า 50 หัวข้อ พร้อมสัมผัสเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจ พบกันที่ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) 13 – 15 มีนาคม 2567 นี้ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าฟรี!
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924