Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

5 ความท้าทายในการประยุกต์ใช้ IIoT ในปัจจุบัน

IIoT นั้นกลายเป็นรากฐานสำคัญสำหรับโลกแห่งข้อมูลยุคใหม่ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือภาคธุรกิจ สำหรับภาคการผลิตที่มีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีนี้กลายเป็นเครื่องมือที่สร้างความแตกต่างในการแข่งขันได้อย่างชัดเจน โดยการประยุกต์ใช้งานมักจะเจอความท้าทายที่สำคัญ 5 ประการ

IIoT นั้นเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรในการเข้าถึงข้อมูล เพิ่ม Productivity และยกระดับการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลที่สร้างจากเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วยการประยุกต์เข้ากับ ML และพื้นฐานแนวคิดของ Big Data องค์กรสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการยกระดับประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคงคลัง การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ การเชื่อมต่อของหุ่นยนต์ และการประเมิน-ติดตามสินทรัพย์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณสมบัติเท่านั้น

ท่ามกลางคุณสมบัติเหล่านี้ IIoT เองก็มีความท้าทายในรูปแบบของตัวเอง เป็นสาเหตุให้บางองค์กรยังคงรีรอในการใช้งาน โดยความท้าทายในการใช้งานมีดังนี้

ระบบ Legacy และระบบที่ขาดการอัปเดท

แม้ในบริษัทอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดก็ยังมีการใช้งานเทคโนโลยีและข้อมูล Legacy (ระบบเก่าดั้งเดิม) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ Excel Spreadsheet ไปจนถึง ERP ตัวเก่าซคางไม่อาจทำงานร่วมกับเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อีกต่อไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ องค์กรเกิดความกังวลในการเพิ่มระบบที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอเข้าไปหากจะต้องทำงานร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มี องค์กรเองก็ไม่อยากจะทุ่มทุนด้าน IT และทรัพยากรอีกไม่รู้เท่าไหร่ในการติดตั้งเครื่องมือใหม่ แทนที่ระบบ IT เดิมทั้งหมด หรือปิดช่องว่างด้านข้อมูลระหว่างระบบ

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน IIoT หลายตัวอนุญาตให้เพิ่มระบบอัตโนมัติ องค์ความรู้ทางธุรกิจและเซนเซอร์อัจฉริยะเข้ากับอุปกรณ์ Legacy โดยไม่ต้องเอาของเก่าออกแล้วแทนที่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานรุ่นใหม่ ในแต่ละชั้นของเทคโนโลยีจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อร่วมกับชั้น Legacy ทำให้องค์กรใช้ประโยชน์ของ IIoT ภายใต้ Framework ของ IT ได้

ต้นทุนในการบูรณาการระบบ

ต้นทุนของ IIoT นั้นอาจจะมีมูลค่ามหาศาลหากมองภาพรวมทั้งหมด ซึ่งองค์กรเองก็กังวลเกี่ยวกับ ROI ที่จะเกิดขึ้นในขณะเดียวกันก็เข้าใจว่า IIoT นั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง พวกเขาของมองเห็นเส้นทางการเดินทางทั้งหมดตั้งแต่จุดเริ่มต้นการใช้งาน IIoT ไปจนถึงท้ายที่สุด เพื่อให้เข้าใจได้ว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะใช้งาน IIoT

ในกณีนี้การนำเสนอเพียงตัวเลขเกี่ยวกับต้นทุนสำหรับการดำเนินการ IIoT อาจจะไม่เพียงพอ ต้องเรียนรู้ที่จะแปลงต้นทุนเหล่านั้นเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในแง่ที่องค์กรจับต้องได้ เช่น ประสิทธิภาพและ Productivity ที่เพิ่มขึ้น เปลี่ยนวิธิคิดที่พิสูจน์แนวคิดเป็นการพิสูจน์คุณค่าที่เกิดขึ้น ซึ่งง่ายที่จะเข้าใจได้มากกว่า

การบริหารจัดการข้อมูล IIoT

อุปกรณ์ IoT นั้นสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งข้อมูลของ IDC ระบุว่ามากถึง 79.4 Zettabytes ในปี 2025 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจาก IoT และ IIoT ในความเป็นจริงแล้วหลายบริษัทอุตสาหกรรมนั้นอาจยังไม่พร้อมในการรับมือกับเทคโนโลยีเหล่านี้เท่าใดนัก ไม่ว่าจะในรูปแบบของการบริหารจัดการหรือในเรื่องของความปลอดภัย การจัดเก็บข้อมูลนั้นนับเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน องค์กรจะเป็นต้องวางแผนความปลอดภัยที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูละยะสั้น เช่น Edge Computing ถ้าหากว่าโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันของตัวเองยังไม่อาจทำงานได้ดีนัก และหากมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง องค์กรก็ต้องมองหาการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภายในหรือใช้บริการภายนอก

ในทางปฏิบัติแล้ว องค์กรด้านการผลิตมักใช้ฐานข้อมูลและผลิตภัณฑ์การจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน วิธีนี้สามารถทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ IIoT ซึ่งสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ต้องจัดการซึ่งต้องบริหารจัดการในฐานะฐานข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดจาก ERP หรือเครื่องมือบริหารจัดการทรัพยากร บันทึกของลูกค้าหรือข้อมูล IIoT องค์กรต้องบูรณาการข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกันด้วยมุมมองจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว

ระบบ IIoT ส่วนมากนั้นมักทำงานหรือมาพร้อมกับซอฟต์แวร์การจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติที่ดำเนินการตลอดกระบวนการ แพลตฟอร์มจะทำหน้าที่ด้สยกสนเก็บข้อมูลเองทั้งหมด ทำให้องค์กรไม่ต้องกังวลที่จะลงทุนความพยายามและเวลาในการดำเนินการ อุปกรณ์จะสร้างข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปดำเนินการได้ ซึ่งเกิดจากข้อมูลที่รวบรวมมาวิเคราะห์ การคำนวณที่ซับซ้อนจะช่วยคาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้นและจำลองรูปแบบการตัดสินใจที่ต่างกันออกไปตลอดจนผลลัพธ์ที่ตามมา ดังนั้นองค์กรจะมีคำแนะนำที่เรียบง่ายและชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร

การเชื่อมต่อของ IIoT

IIoT นั้นเชื่อมต่อกับเครือข่ายของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อโดตรงหรือผ่านอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเหล่านี้มีความสำคัญทั้งสิ้น เมื่ออุปกรณ์อุตสาหกรรมนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ IIoT ได้ยากการเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ความต้อการ Uptime 100% ในการทำงานคือประเด็นสำคัญ ตารางการซ่อมบำรุงการและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรหรือขาดช่วงทำให้ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้ บริษัทต้องเลือกการเชื่อมต่อ จะเป็นโครงข่าย Cellular เป็น Wi-Fi หรือเป็นเชื่อมต่อโดยตรงขึ้นกับว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Cellular เหมาะกับการติดตั้งที่อุปกรณ์อยู่ไกลแต่ต้องกร Bandwidth ที่ไม่บ่อยนัก ในขณะที่การเชื่อมต่อตรงเหมาะสำหรับการ Monitoring กระบวนการอุตสาหกรรมหรือเครื่องจักรที่มีความสำคัญสูง

IIoT เปลี่ยนความคุ้นชินที่เคยเป็นมา

IIoT นั้นเปลี่ยนรูปร่างของอุตสาหกรรมทั่วโลก ในมุมของระบบอัตโนมัติเองก็เพิ่ม Productivity และยังนำไปสู่การพัฒนาเทคนิคการผลิตที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คุณสมบัติ Real-time ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การวิเคราะห์คาดการณ์ล่วงหน้า การแจ้งเตือน ทำให้ลดต้นทุนการซ่อมบำรุงและการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ที่มา:
techtarget.com


พบกับ สุดยอดองค์ความรู้เพื่อผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
AUTOMATION SUMMIT 2023
12 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-18.00 น.
ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ ชั้น 5 กรุงเทพมหานคร
ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี คลิก!

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924