Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

4 ประเภทอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์

ความนิยมในการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นเทรนด์และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการอุตสาหกรรมทั่วโลก ในขณะที่ความนิยมในการใช้งานเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ความรู้ความเข้าใจสำหรับความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังมีน้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้เช่นกันและอุบัติเหตุเหล่านั้นจะมีลักษณะอย่างไร ติดตามกันได้เลยครับ

4 ประเภทอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์

OSHA (Occupational Safety and Health Administration) หรือคณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความเห็นว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการซ่อมบำรุงและการตั้งค่าหรือการใส่โปรแกรมในขณะที่ทำการเชื่อมต่อโดยมีแรงงานอยู่ในระยะทำการของแขนกล ในขณะที่หุ่นยนต์ซึ่งมีการรับคำสั่งจากโปรแกรมทำงานสองโปรแกรมด้วยค่าที่แตกต่างกันยิ่งทำให้สามารถตรวจสอบปัญหาได้ยากยิ่งขึ้น โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 รูปแบบหลัก คือ

1. การกระแทกหรืออุบัติเหตุจากการปะทะ

การเคลื่อนไหวที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ ความผิดปรกติของการทำงานชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงค่าในโปรแกรมโดยไม่ตั้งใจทำให้การทำงานของแขนกลเกิดความผิดพลาดและส่งผลกระทบกับแรงงานที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขทั่วไปที่กำหนด ซึ่งในกรณีของการทำงานของแขนกลส่วนใหญ่จะมีการทำงานที่รวดเร็วร่วมกับน้ำหนักที่มากทำให้การปะทะกับหุ่นยนต์สามารถเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงได้

2. อวัยวะเกิดการติดค้าง

อวัยวะของผู้ปฏิบัติงานสามารถติดค้างอยู่ระหว่างมือจับของหุ่นยนต์หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากหุ่นยนต์หยุดการทำงานอาจสร้างความวางใจได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากหุ่นยนต์ยังคงทำงานอยู่มีความเสี่ยงทำให้อวัยวะเสียหายเกิดการเสียหายหรือฉีกขาดได้

3. อุบัติเหตุจากชิ้นส่วนที่เสียหาย

หากหุ่นยนต์กำลังทำงานแล้วเกิดมีปัญหาชิ้นส่วนพังหรือหลุดกลางคัน เครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์ถือไว้รวมถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ความอันตรายจะเพิ่มขึ้นหากเครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์หยิบจับนั้นเป็นกลุ่ม Power Tools หรือเครื่องมือที่ต้องใช้พลังงานในการทำงาน เช่น ใบมีดเจียร หัวกำจัดเศษ หัวไขสกรู หรืออุปกรณ์เชื่อม หากลองจินตนาการตอนที่หุ่นยนต์เชื่อมกำลังเหวี่ยงแขนมาแล้วหัวเชื่อมที่ยังมีไฟหลุดลอยไปสักทางคงเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจไปอีกนาน

4. อุบัติเหตุอื่นๆ

อุบัติเหตุอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ให้พลังงานกับหุ่นยนต์หรือแรงดันของเหลวต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดดได้ เช่น สายไฮดรอลิกแรงดันสูงที่ชำรุด หรืออุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงไฟความสว่างสูงจากการเชื่อมอาร์ค เศษโลหะที่กระจาย ฝุ่น หรือการก่อกวนจากสัญญาณวิทยุ

จะเห็นได้ว่าปัญหาหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนมากนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการบำรุงรักษาเชิงคาดาการณ์เพื่อตรวจสอบความพร้อมและซ่อมบำรุงก่อนเกิดเหตุ แต่ในกรณีของปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ที่ต้องการความระมัดระวังและการตรจสอบที่มีความรัดกุมยิ่งขึ้น


ที่มา:

  • Ohsa.gov
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924