นักวิจัยค้นพบการผลิตวัตถุอัจฉริยะ (Smart Object) ด้วยกระบวนการเติมเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing) หรือที่เราคุ้นชินกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งวัตถุรุ่นใหม่นี้สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ได้ด้วยตัวเอง
ความสำเร็จดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวารสาร The Penn Engineers แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ที่ระบุถึงวัตถุอัจฉริยะที่สามารถถูกกระตุ้นได้รวมถึงการมีรูปร่างพื้นฐานในรูปแบบของเรขาคณิต ซึ่งกลายมาเป็นโครงสร้างการออกแบบของ Embodied Logic กล่าวคือมีเงื่อนไขสำหรับการทำงานด้วยตัวเองผ่านการออกแบบโครงสร้างและสารเคมี ทำให้สามารถตอบสนองต่อรูปแบบที่ต้องการได้อย่างหลากหลาย
วัตถุอัจฉริยะรูปแบบใหม่นี้สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่จำเป็นต้องมีมอเตอร์ แบตเตอรี่ แผงวงจร หรือหน่วยประทวลผลใด ๆ ในขณะที่สามารถปรับเปลีย่นการตั้งค่าได้อย่างหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ถูกออกแบบให้รองรับ เช่น ความชื้นหรือสารเคมีที่มีน้ำมันเป็นพื้นฐาน
นักวิจัยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างวัตถุอัจฉริยะซึ่งมีตาข่ายเป็นโครงสร้างแบบแอคทีฟที่ใช้เงื่อนไข iF/Then เป็น Logic Gates และสามารถควบคุมเวลาของแต่ละ Gate ทำให้สามารถเคลื่อนไหวเชิงกลในรูปแบบที่ซับซ้อนได้ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เรียบง่ายตามสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น สนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับมลพิษในน้ำที่สามารถออกแบบให้เปิดและเก็บตัวอย่างเฉพาะสารเคมีที่มีน้ำมันเป็นพื้นฐานและในเวลาที่อุณหภูมิถึงจุดที่กำหนดไว้
ที่มา:
Sciencedaily.com